คนเจนฯ ไหนที่ “ลาออก-เปลี่ยนงาน” บ่อยที่สุด

คนเจนฯ ไหนที่ “ลาออก-เปลี่ยนงาน” บ่อยที่สุด

คนเจนฯ ไหนที่ “ลาออก-เปลี่ยนงาน” บ่อยที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเพิ่มจำนวนของการทำงานแบบที่ Hybrid หรือการทำงานแบบผสมผสานระหว่างเข้าออฟฟิศ และทำงานจากบ้านกำลังจะกลายเป็นโลกที่คนทำงานคุ้นเคยในอนาคตอันไม่ไกลต่อจากนี้ และไม่ได้หมายถึงการทำงานจากทั้งสองที่แต่หมายถึงการทำงานได้จากทุกที่ สามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีข้อจำกัด

ยุคสมัยต่อจากนี้จะเป็นการทำงานผสมกันจากหลากหลายเจเนอเรชัน อันเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดการลาออกมากเป็นประวัติการณ์ ของคนที่อยู่ในเจเนอเรชันมิลเลนเนียลและเจเนอเรชัน ซี (Z) สาเหตุที่จะทำให้เกิดการลาออกครั้งใหญ่ของทั้งสองเจเนอเรชันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความแตกต่างไปจากเจเนอเรชันอื่นที่ทำงานมาก่อน ส่วนแต่ละเจนฯ จะมีมุมมองแบบไหนนั้นมาติดตามกัน

Baby Boomers

เจเนอเรชันนี้เกิดในช่วงระหว่างปี 1946-1964 อายุในปัจจุบันจะอยู่ประมาณ 57-65 ปีที่ยังคงอยู่ในการทำงาน จากผลสำรวจนั้นพบกว่าคนในเจเนอเรชัน Baby Boomers นั้นมักทำงานอยู่ที่เดียวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ปี 3 เดือน คนในวัยนี้เติบโตในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปิดฉากลงไปแล้ว พวกเขามองโลกในแง่ดี ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติในยุคแรกที่ส่งคนไปยังดวงจันทร์ เห็นการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมและแนวคิดแบบเสรีชนที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

ด้วยวัฒนธรรมและการเติบโตมาในลักษณะนี้ทำให้ ชาว Baby Boomers ที่อยู่ในช่วงวัยดังกล่าวเมื่อได้ลงหลักปักฐานทำงานกับบริษัทที่มั่นคง สามารถจ่ายค่าตอบแทนให้กับพวกเขาได้อย่างน่าพอใจ และมีวันหยุดพักผ่อนตามความเหมาะสม ชาว Baby Boomers มักจะทำงานอยู่ด้วยยาว ๆ ไม่คิดที่จะลาออกไปอยู่ที่อื่น

Gen-X

เกิดในระหว่างปี 1965-1980 ณ ปัจจุบันคนที่อยู่ในยุคแรกของ Gen-X ยังคงทำงานกันอยู่ และพวกเขาทำงานแต่ละที่เฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 ปี

วิถีของคน เจเนอเรชัน X แตกต่างไปจากยุคเบบี้บูมเมอร์ พวกเขาถูกเลี้ยงดูมาอย่างดีและได้รับการศึกษาที่ดีกว่าในรุ่นพ่อแม่ ขณะเดียวกันคนในเจเนอเรชันนี้เติบโตมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งสงครามเวียดนาม การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน วิกฤติพลังงาน ขณะเดียวกันการทำงานในครอบครัวไม่ใช่หน้าที่ของผู้ชายอีกต่อไปแต่ผู้หญิงก็สามารถทำงานเพื่อดูแลครอบครัวได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้ทำให้คนเจเนอเรชันเอ็กซ์ เป็นรุ่นที่สามารถยืนหยัดด้วยตัวเองได้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ให้คุณค่ากับเสรีภาพของชีวิต แต่พวกเขาเป็นรุ่นที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมสูงด้วยเช่นกัน นั่นทำให้คนเจเนอเรชัน เอ็กซ์ เป็นกลุ่มคนทำงานด้วยความตั้งใจเคารพกติกา และยินดีที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่ด้วยความที่คนในรุ่นนี้ต้องผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมาหลายครั้งทำให้ ความภักดีต่อองค์กรไม่น่าจะเท่ากับสมัยพ่อแม่ แต่คนเจนฯ เอ็กซ์ก็ยังมีความอดทนในการทำงานมากกว่าในคนรุ่นหลัง

Gen-Millennials

ชาวมิลเลนเนียล เกิดในช่วงระหว่างปี 1981-1995 และมีค่าเฉลี่ยในการทำงานอยู่ที่ 2 ปี 9 เดือน และจนถึงเวลานี้ เจเนอเรชัน Millennials นับเป็น เจนฯ ที่อยู่ในวัยทำงานมากที่สุดในโลก หากมองย้อนกลับไป เจนฯ มิลเลนเนียล นั้นเติบโตมาพร้อมกับช่วงเวลาที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลต่อมุมมองและแนวคิดของคนในเจเนอเรชันนี้ต่อการทำงาน ขณะเดียวกันในแง่ของสังคมและนวัตกรรม ยุคสมัยของพวกเขาคือการเปลี่ยนผ่านจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล ขณะที่สังคมเต็มไปด้วยข่าวก่อการร้าย และเปอร์เซ็นต์การหย่าร้างที่เพิ่มมากขึ้น

ด้วยสภาพแวดล้อมดังกล่าว ชาวมิลเลนเนียลคือเจเนอเรชันที่คิดถึงความสมดุลในชีวิต ให้ความสำคัญกับ Work-Life balance และทำให้พวกเขาไม่ค่อยคิดที่จะทำงานที่ไหนนาน แต่ถ้าองค์กรหรือบริษัทไหนให้อิสระในการทำงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ พวกเขาดูจะมีความสบายใจที่ได้ร่วมงานมากกว่า

Gen Z

เจเนอเรชัน Z เกิดระหว่างปี 1996-2012 แนวโน้มในการทำงานของคนเจเนอเรชันนี้อยู่ที่ประมาณ 2 ปี 3 เดือนน้อยกว่าชาวมิลเลนเนียล อยู่ประมาณ 6 เดือน แต่ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วยว่าเจเนอร์เรชันนี้เพิ่งเข้าสู่การทำงาน และต้องมาดูแนวโน้มกันต่อในอนาคต

คนที่อยู่ในเจเนอเรชันนี้ส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากเกิดเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐอเมริกา และเติบโตมาโดยที่สมาร์ตโฟนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมากกว่าคอมพิวเตอร์ นั่นอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ เจนฯ ซี นั้นไม่ทำงานที่ไหนนาน เพราะพวกเขาอยู่กับเทคโนโลยี และต้องการความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว ไม่สามารถรอได้

คนในวัยนี้ส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคม ต้องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเดิม ๆ ที่พวกเขาเห็นว่าล้าสมัย เมื่อไม่ถูกใจก็จะพยายามมองหางานที่สนองความต้องการของพวกเขา มากกว่าจะอดทนทำต่อไปเพื่อรักษาประวัติของตนเอง และคนในเจเนอเรชันนี้กล้าที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดเดิม ๆ ที่จบมาแบบไหนต้องทำงานในสายนั้น ด้วยการก้าวข้ามสายงาน หากงานดังกล่าวตอบสนองสิ่งที่พวกเขาต้องการได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook