โซจู ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากเกาหลี

โซจู ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากเกาหลี

โซจู ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากเกาหลี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โซจู เครื่องดื่มขวัญใจวัยรุ่น ที่หลายคนน่าจะลองดื่มตามจากซีรีส์เกาหลี และกลายเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในใจใครหลายคนไปแล้ว แต่มีใครรู้ไหมว่าต้นกำเนิดรากเหง้าของโซจูจริงๆ แล้วไม่ได้มาจากเกาหลี

ประวัติฯ ฉบับย่อของเหล้าขวดเขียว

โซจู(Soju) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีลักษณะใส มีรสขมออกหวาน ถูกบรรจุใส่ในขวดสีเขียวใส เมื่อก่อน โซจู นั้นถูกเรียกว่า อารักจู ที่มาจากคำว่า อารัก ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศแถบตะวันออกกลาง

คาดกันว่า อารักหรืออารัค ได้เดินทางเข้ามาสู่คาบสมุทรเกาหลีผ่านทางการรุกรานของชาวมองโกล (โดยชาวมองโกลก็เรียนรู้วิธีกลั่นเหล้าอารักมาจากชาวเปอร์เชียอีกที) ชาวเกาหลีได้เรียนรู้วิธีการกลั่นจากชาวมองโกล ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวเกาหลีได้นำเทคนิคนี้ไปใช้กับ มักกอลลี หรือ เหล้าสีขาวที่คล้ายกับสาโท โซจูเลยได้ถือกำเนิดขึ้น

โซจู ในอดีตนั้นมักจากข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ มันฝรั่ง เมื่อก่อนนั้นมีดีกรีที่สูงมากๆ ราว 25-45% เลยทีเดียว แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายเก็บภาษีสุราทำให้สูตรการหมักแต่ละบ้านค่อยๆ หายไป พอเวลาผ่านไปแม้ได้รับเอกราชแล้ว แต่ก็ยังมีการใช้ภาษีสุราต่อ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงข้าวยากหมากแพง ทำให้มาใช้กากน้ำตาลผลิตโซจูแทนข้าว ร่วมถึงการใช้ แอลกอฮอล์สังเคราะห์ มันเทศ มันฝรั่ง แทน

จนในปี ค.ศ. 1965 – 1991 โดยประมาณ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ รัฐบาลเกาหลีได้อนุญาตให้ผลิตโชจูอย่างเป็นทางการขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมอีกครั้งและก็มีการปรับสูตร ปรับส่วนผสมจนโซจูกลายเป็นเครื่องที่ดื่มยอดนิยมของชาวเกาหลีโดยไม่รู้ตัว

ด้วยราคาที่ไม่แพง รสชาติอร่อย ดื่มง่าย หาดื่มง่าย ก็เลยกลายเป็นภาพที่เราสามารถเห็นโชจูได้ทั่วเกาหลีและซีรีส์ต่างๆ ก็มักจะมีฉากดื่มโชจู จนทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้ลองเจ้าโชจู จนฮิตติดลม บางคนก็นำไปผสมการดื่มแบบอื่นเช่น โซแมกที่ผสมระหว่างโซจูกับแมกจู(เบียร์) จากกระแสก็กลายมาเป็นเครื่องดื่มหลักในใจใครหลายคน

แม้โชจู รากเหง้าจะไม่ได้มีต้นกำเนิดจากเกาหลีจริงๆ แต่ด้วยการผ่านอะไรมาบวกกับพลังซอฟต์พาวเวอร์ จึงไม่แปลกใจที่ โชจู จะเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมไปทั่วโลก ก่อนจากกันไปรู้หรือเปล่าว่า ราเมนก็ไม่ได้มาจากญี่ปุ่นเหมือนกันนะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook