มาดูกัน ในภาคอีสานแต่ละจังหวัดใช้ ภาษาลาวอีสาน สำเนียงไหนกันบ้าง?

มาดูกัน ในภาคอีสานแต่ละจังหวัดใช้ ภาษาลาวอีสาน สำเนียงไหนกันบ้าง?

มาดูกัน ในภาคอีสานแต่ละจังหวัดใช้ ภาษาลาวอีสาน สำเนียงไหนกันบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกเหนือจากประเทศไทยจะมีภูมิภาคที่มีการใช้ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ในแต่ละภูมิภาคก็เรียกว่ามีความโดดเด่น มีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันในแบบว่าเอกลักษณ์ของตัวเอง อย่างเช่นเรื่องภาษาด้วยนั่นเอง

ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ได้มีการแชร์ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับภาคอีสานเกี่ยวกับภาษาและสำเนียงลาวอีสาน ใน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมประเพณีประวัติศาสตร์ลาว-อีสานเพื่อเผ่าพันธุ์ลาว โดยเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สำเนียงภาษาลาวในภาคอีสาน ที่สามารถแบ่งสำเนียงได้ถึง 6 สำเนียงใหญ่ด้วยกัน

cats_1

ภาษาลาวอีสาน หรือที่นิยมกล่าวถึงในเอกสารราชการไทยว่า ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นการพัฒนาในท้องถิ่นของภาษาลาวในประเทศไทย ผู้พูดในท้องถิ่นยังคงคิดว่าเป็นภาษาลาว รัฐบาลไทยยอมรับภาษานี้เป็นสำเนียงภาษาไทย ทั้งชาวไทยและลาวมีความเข้าใจร่วมกันยาก เพราะแม้ว่าจะมีคำร่วมเชื้อสายในพจนานุกรมกว่าร้อยละ 80 ทั้งลาวและอีสานมีระดับเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันมากและมักใช้คำจากภาษาไทย จึงทำให้เกิดการขัดขวางความเข้าใจระหว่างกันโดยไม่มีการเปิดรับก่อน

506itxkr_4x

ภาษาลาวอีสาน แบ่งออกเป็น 6 สำเนียงใหญ่

  • ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน โคกโพธิ์ไชยบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ) นครราชสีมา (อำเภอสูงเนิน ปักธงชัย)
  • ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไซยะบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
  • ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
  • ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร
  • ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ (อำเภอรัตนบุรี)
  • ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาลาวอีสาน) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย (บางหมู่บ้าน) นครราชสีมา (อำเภอบัวใหญ่ บัวลาย สีดา แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง บ้านเหลื่อม เมืองยาง ลำทะเมนชัย คง ห้วยแถลง ชุมพวง จักราช) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม สำเนียงนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ส่วนมากของภาคอีสานสำเนียงนี้ส่วนมากจะใช้"สระเอียแทนสระเอือ"ในปัจจุบันจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน เทียบเท่ากับ แหลงใต้ อู้คำเมือง พูดไทยกลาง ของแต่ละภาค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook