laziness lie ไม่อยากให้ใครว่าขี้เกียจ เลยต้องโกหกว่ายังไหวอยู่
ไม่ไหวบอกไหว ไม่รู้ว่าทำไมคำนี้นิยมเหลือเกินในสังคมของประเทศไทยเรา ตัวผู้เขียนเองได้ยินคำนี้มาตั้งแต่สมัยเรียน เวลามีงานกิจกรรมหนักๆ เรียนหนักๆ ทุกคนพูดว่า ไม่ไหวบอกไหว แน่นอนว่าบางเวลามันอาจจะต้องทำแบบนั้น แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องดีที่เราต้องโกหกตัวเอง โกหกคนอื่นว่าไหว แม้ภายในจะไม่ไหวแล้วก็ตาม
ในสังคมปัจจุบันเราให้คุณค่ากับคนที่ขยัน ขยันที่ทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย ทำงานตลอดเวลา (แน่นอนว่ามันคงไม่มีผิดถูก 100%) แต่สิ่งที่ทำให้สังคมและคนบางคนต้องโกหก ต้องทำเหมือนยุ่งตลอดเวลาทั้งๆ ที่อาจจะสภาพย่ำแย่แล้วก็ตามคำนี้มีชื่อเรียกว่า laziness lie
laziness lie เป็นคำที่นักจิตวิทยาชื่อ Devon Price อธิบายไว้ว่า มันคือคำที่ใช้เรียกชุดคำ ที่บอกหรือหลอกตัวเองว่าตัวเองต้องขยัน ต้องทำงานหนัก ต้อง Productive เพื่อให้ตัวเองไม่รู้สึกผิด
การที่ทุ่มเทมากเกินกว่ากำลัง เกินกว่าที่ร่างกายรับไหวหลายครั้งก็มีราคาของมันที่ต้องจ่าย หลายคนต้องป่วย มีภาวะร่างกายที่ไม่ปกติหลังจากทุ่มเททำงานอย่างหนัก ทำงานหนักจนป่วยนั้นมีอยู่จริงๆ
ไม่ต้อง Productive ตลอดน่าจะเป็นคำที่เข้าใจง่ายที่สุด หากเหนื่อยก็ให้ตัวเองได้พักบ้าง มีเวลาให้ตัวเองได้ผ่อนคลายจากความเครียดบ้าง จัดตารางให้ตัวเองได้มีเวลาส่วนตัวแล้วไม่กระทบกับงานบ้าง สำคัญที่สุดเมื่อร่างกายส่งสัญญาณเตือนอะไรคุณก็ควรจะฟังก่อนที่จะสายเกินไป
สุดท้ายขี้เกียจบ้างก็ได้ ผลวิจัยหลายชิ้นบอกว่าสมองเราทำงานได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย เช่น การเดินไปเข้าห้องน้ำหรือไปอาบน้ำก็ทำให้เราได้ผ่อนคลาย การได้เจอธรรมชาติบ้างก็จะช่วยได้เยอะ แวะมาเติมกำลังใจดีๆ ได้ที่ iNN Lifestyle