Bandwagon Effect ซื้อตามเพราะกระแส
เวลามีการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ อาหารใหม่ๆ เรามักเห็นคนไปต่อแถวซื้อเป็นจำนวนมากปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Bandwagon effect
Bandwagon effect (แบนด์วิดท์) คือคำที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่คนเราแห่ทำตามกัน ซื้อของตามกันเพื่อให้ตัวเองไม่ตกกระแส ถ้าภาษาไทยบ้านๆ เราอาจจะเรียกว่า เห่อ ก็ได้
ปรากฏการณ์ Bandwagon effect นี้เป็นหนึ่งในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์โดย ฮาร์วีย์ ไลเบนสไตน์ เขาเป็นคนแรกๆ ที่ใช้คำนี้เพื่ออธิบายว่าทำไมคนเราถึงต้องการบริโภคสินค้าเพียงเพราะคนอื่นๆ ใช้สินค้าชิ้นนั้น
การซื้อตามของที่ได้รับความนิยม แม้มันจะไม่ใช่สิ่งที่เราชอบหรือไม่ได้เข้ากับเราเลย คำอธิบายง่ายๆ ที่ทำให้คนเราเป็นเช่นนั้นก็คือ ไม่อยากตกเทรนด์
Bandwagon effect นั้นไม่ได้มีผลต่อสินค้าอย่างเดียว อย่างเทรนด์อาหารสุขภาพที่ช่วงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้คนก็หันมากินอาหารเพื่อสุขภาพนี้ก็เป็นหนึ่งใน Bandwagon effect เช่นกัน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Verywellmind ได้ยกตัวอย่างให้เราเห็นภาพได้กว้างขึ้นดังนี้
- อาหาร กระแสอาหารไหนกำลังได้รับความนิยม อาหารไหนที่มีการพูดถึงกันเยอะๆ ผู้คนก็มักจะตามการกินอาหารนั้นๆ
- การเลือกตั้ง ผู้คนมักลงคะแนนให้กับผู้สมัครที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นผู้ชนะ
- ดนตรี เมื่อมีแนวดนตรีหรือกลุ่มดนตรีใดเป็นกระแส ผู้คนมักที่จะหันไปชอบดนตรีแนวนั้นเช่นกัน
อะไรที่มีผล นอกจากไม่อยากตกเทรนด์
- กลุ่มผู้นำความคิด influencer ต่างๆ
- ความคิดที่อยากจะเป็นที่ยอมรับ
- กลัวถูกกีดกันจากสังคม
Bandwagon effect นั้นสามารถส่งผลกระทบได้ทั้งในแง่ดีและไม่ดี และในแง่ลบเช่น การที่มีคนต่อต้านการฉีดวัคซีนก็ทำให้มีผู้คนจำนวนหนึ่งต่อต้านและไม่รับวัคซีน
แต่อย่างที่บอกผลดีก็มีเช่นกัน เช่น หากสังคมเริ่มรักสุขภาพ ผู้คนก็มีแนวโน้มที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น
Bandwagon effect นั้นมีหลากหลายมุมมอง หลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องและมันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง ทุกคนคิดเห็นว่ายังไงกันบ้างมาพูดคุยกันหน่อย