Languishing ภาวะเนือยๆ ไม่ได้หมดหวัง แต่ก็ไม่ได้มีความสุข

Languishing ภาวะเนือยๆ ไม่ได้หมดหวัง แต่ก็ไม่ได้มีความสุข

Languishing ภาวะเนือยๆ ไม่ได้หมดหวัง แต่ก็ไม่ได้มีความสุข
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงโควิด-19 แบบนี้ทำให้เกิดผลกระทบอะไรหลายอย่างและหนึ่งสิ่งที่คนเป็นมากแต่อาจจะไม่รู้ตัวกันก็คือภาวะ Languishing ภาวะที่รู้สึกเหนื่อยๆ ว่างเปล่า เบื่อ ไร้จุดหมาย ไม่อยากทำอะไร

Languishing คือ การอยู่ในภาวะว่างเปล่า จะเกิดอารมณ์ที่รู้สึกเนือยๆ ไม่อยากทำอะไรเป็นพิเศษ เกิดความรู้สึกขาดแรงจูงใจ ไร้จุดมุ่งหมายในชีวิต เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง รู้สึกสับสนกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก ไม่ได้หมดหวัง แต่ก็ไม่ได้มีความสุขหรือจะมีแรงที่จะทำอะไรใหม่ๆ

คำว่า Languishing นั้นถูกคิดค้นโดยนักสังคมวิทยาชื่อว่า Corey Keyes จาก Emory University ในช่วงราวๆ ปี 2002 เขากล่าวไว้ว่า มนุษย์อาจจะเจอกับภาวะ Languishingมากขึ้นในทศวรรษถัดไป

ภาวะ Languishing นั้นยังไม่นับว่าเป็นอาการหรือปัญหาในทางการแพทย์ แต่ก็ต้องเฝ้าระวังเพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวหรืออาจจะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ในอนาคต

หากให้อธิบายภาพของอาการนี้ให้ชัดขึ้น มีคนกล่าวมันคืออาการกึ่งกลางระหว่าง ภาวะซึมเศร้ากับภาวะที่ความสุขเจริญงอกงาม มันไม่ใช่อาการหมดไฟ เพราะยังสามารถลุยต่อไปแค่รู้สึกไม่สนุกที่จะทำ

หากใครที่กำลังเจออาการนี้ก็แนะนำว่า ลองเปิดใจในการทำกิจกรรมใหม่ๆ แค่ลองเริ่มดู ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในชีวิต อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข สุดท้ายก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน

ติดตามคอนเทนต์ดีๆแบบนี้ต่ออีกได้ที่ iNN Lifestyle

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook