ไขข้อสงสัย กฎหมาย PDPA ถ่ายรูป-คลิป ติดคนอื่น เรียกว่าผิดกฎหมายหรือไม่

ไขข้อสงสัย กฎหมาย PDPA ถ่ายรูป-คลิป ติดคนอื่น เรียกว่าผิดกฎหมายหรือไม่

ไขข้อสงสัย กฎหมาย PDPA ถ่ายรูป-คลิป ติดคนอื่น เรียกว่าผิดกฎหมายหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

โดยกฎหมาย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และปัจจุบันถูกเลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าเป็นที่สนใจของหลายๆ คนนั่นก็คือกฎหมายนี้มีการครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูปภาพ และถ่ายคลิปวิดีโอที่หลายๆ คนเป็นกังวลว่าการถ่ายรูปและคลิปของตัวเองลงโซเชียล แล้วติดผู้อื่นนั้นจะเรียกว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่

ไขข้อสงสัย กฎหมาย PDPA ถ่ายรูป-คลิป ติดคนอื่น เรียกว่าผิดกฎหมายหรือไม่

การถ่ายเซลฟี่

ในกรณีที่มีการถ่ายเซลฟี่แล้วไปติดใบหน้าของผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ สามารถทำได้ และสามารถที่จะโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้ เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นการถ่ายเพื่อเน้นตัวเองและเพื่อนเป็นหลัก เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผู้ที่ถูกถ่ายติดเข้ามาในรูปนั้นก็มีสิทธิที่จะขอให้เจ้าของรูปลบรูปออกจากโซเชียลมีเดียได้เช่นกัน

ข้อแนะนำคือ ก่อนที่เราจะทำการลงรูปบนโซเชียลมีเดียทุกครั้ง ควรที่จะทำการเบลอบุคคลอื่นๆ หรือ ทำการหาสติกเกอร์มาปิดบังใบหน้าของผู้อื่นๆ เพื่อป้องกันการถูกทักท้วงจากเจ้าตัวเพื่อให้ขอลบรูปในภายหลัง

การถ่ายวิดีโอ

สำหรับยูทูเบอร์ ที่ทำการรีวิวที่พัก หรือ ร้านอาหาร สามารถถ่ายคลิปได้เช่นเดิม ไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นในกรณีที่มีการถ่ายซูมไปที่บุคคลอื่นๆ ในลักษณะที่มีเจตนาไม่ดีอย่างชัดเจน ตลอดถึงถ่ายวิดีโอติดผู้อื่นแล้วนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สำหรับในกรณีแบบนี้เรียกว่ามีความผิด

กล้องวงจรปิดติดในบ้าน, หน้าบ้าน และกล้องหน้ารถ

สามารถติดตั้งได้โดยไม่ต้องมีการติดป้ายบอก เพราะถือเป็นการติดตั้งเพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย ยกเว้นมีการซูมให้เห็นคนอื่นแล้วนำไปใช้ประโยชน์ จึงจะมีความผิด

กล้องวงจรปิดตามอาคาร สำนักงาน

สามารถติดตั้งได้ แต่ต้องติดป้ายแจ้งเตือนว่าบริเวณนี้มีกล้องวรจรปิด เพราะถือว่าเป็นสถานที่สาธารณะ ที่คนที่เป็นเจ้าของข้อมูล หรือคนที่มาใช้อาคารมีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าตัวเองกำลังถูกถ่ายวิดีโอหรือภาพอยู่

การถ่ายรูปเจ้าหน้าที่ หรือบุคคล เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี

สามารถทำได้ หากมีความสงสัยในตัวบุคคลนั้นๆ เพราะถือว่าเป็นการถ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ

การถ่ายรูปหรือคลิปพนักงาน เพื่อหวังจะเอาไปใช้ร้องเรียนต่างๆ

สามารถได้เช่นกัน แต่ต้องแจ้งให้บุคคลนั้นๆ รับทราบก่อน เพื่อป้องกันการถ่ายลักษณะเอาไปใช้คุกคาม หรือข่มขู่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook