“อย่าทำ” และ “หยุดนะ” เป็นคำพูดที่จะไปหยุดยั้งศักยภาพของลูกน้อย!?

“อย่าทำ” และ “หยุดนะ” เป็นคำพูดที่จะไปหยุดยั้งศักยภาพของลูกน้อย!?

“อย่าทำ” และ “หยุดนะ” เป็นคำพูดที่จะไปหยุดยั้งศักยภาพของลูกน้อย!?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“อย่าทำ” หรือ “หยุดนะ” เป็นคำพูดที่พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นและพ่อแม่ทั่วโลกมักพูดกันโดยไม่ได้ตั้งใจเมื่อลูกเทของเล่นออกจากกล่อง ทำให้ห้องรก หรือดึงกระดาษทิชชู่ออกมา แม้คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่เปล่งออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่หากพูดเป็นประจำ นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองชาวญี่ปุ่น คุณเคนนิจิโร่ โมกิ (Kenichiro Mogi) บอกว่าคำพูดเหล่านี้จะไปทำลายศักยภาพของลูกน้อย มารู้กันว่าทำไมคำห้ามเป็นคำพูดที่ไปยับยั้งและทำลายศักยภาพของเด็กกันค่ะ

ช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ขวบเป็นเวลาทองของการเรียนรู้ของเด็ก

คุณเคนนิจิโร่กล่าวว่าสมองของเด็กจะพัฒนาอย่างเต็มที่ตั้งแต่วัยแรกเกิดถึง 5 ขวบ พฤติกรรมซับซ้อนในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 2 ขวบของเด็ก เช่น รื้อของเล่นแล้วไม่เล่น รื้อหนังสือทั้งหมดออกจากชั้นวางหนังสือ และเอาบล็อกของเล่นออกจากกล่องมาวางซ้อนโดยไม่เล่น อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกหงุดหงิดเพราะคิดว่าลูกน้อยทำให้ห้องรก แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการเรียนรู้ที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็กที่ทำไปด้วยความอยากรู้ ซึ่งหากพ่อแม่ปล่อยให้ลูกเล่นโดยไม่ห้ามปรามก็จะทำให้สมองของพวกเขาเจริญและพัฒนาได้ดี แต่หากพ่อแม่ห้ามหรือดุบ่อยครั้งเข้าก็จะกลายเป็นว่าไปยับยั้งการพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

สมองของมนุษย์พร้อมเมื่ออายุห้าขวบ

เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ขวบ เป็นวัยที่อยู่ในช่วงเวลาทองของการเรียนรู้ พวกเขาจะรู้สึกตื่นเต้นและเร้าใจไปกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ที่สนุกและตื่นเต้นเร้าใจจะเสริมให้สมองของเด็กหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) ออกมาเสริมสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจจากความสนุก และส่งผลให้เด็กมีสมาธิและมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจัดเป็นการเรียนรู้สร้างรากฐานของสมอง ทำให้เด็กสนใจในสิ่งต่างๆ และจดจ่อในสิ่งที่สนใจไปจนโต โดยทั่วไปเมื่ออายุ 5 ขวบ สมองของเด็กจะพัฒนาได้อย่างเต็มที่จนใกล้เคียงกับสมองของผู้ใหญ่

“อย่าทำ” “หยุดนะ” และคำห้ามต่างๆ หยุดศักยภาพของลูก

เด็กวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่สมองของเด็กจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากพ่อแม่พูดจาห้ามเป็นประจำจะส่งผลในการยับยั้งแรงบันดาลใจของลูก และอาจทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กที่ขาดความสนใจในสิ่งต่างๆ ขาดความเป็นอิสระ และขาดความเป็นธรรมชาติที่ควรสดใสตามวัย ซึ่งส่งผลในการทำลายศักยภาพของลูกน้อย ดังนั้นในวัยประมาณ 5 ขวบ เมื่อลูกคิดอยากทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือหรือทำสิ่งที่ตนสนใจ พ่อแม่ควรจะสนับสนุนโดยหลีกเลี่ยงคำพูดว่าไม่และห้าม อย่างไรก็ดี หากการเล่นหรือการกระทำบางอย่างของเด็กส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวเขาหรือต่อผู้อื่นก็สามารถใช้คำห้ามพร้อมเหตุผลที่ชัดเจน

นอกจากหลีกเลี่ยงคำพูดห้ามแล้ว การที่พ่อแม่อยู่ใกล้ๆ และเล่นกับลูกในเวลาที่พวกเขาต้องการ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างรากฐานความปลอดภัยทางจิตใจ ทำให้เด็กมีจิตใจมั่นคง มีความมั่นใจและกล้าที่จะออกไปสู่โลกภายนอกและผจญภัย ด้วยความรู้สึกสบายใจว่าเขามีพ่อแม่อยู่เสมอ ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่ดีและเติบโตขึ้นอย่างมีศักยภาพ

การเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องเสียค่าเรียนแพงๆ หรือสั่งสอนอย่างเข้มงวด แค่ปล่อยให้เขาเรียนรู้ด้วยตนเองตามวัยโดยหลีกเลี่ยงคำพูด “ห้ามทำ” “อย่าทำ” และ “หยุดทำ” อีกทั้งอยู่ใกล้ชิดในเวลาที่พวกเขาต้องการ ก็เพียงพอที่จะสร้างรากฐานสมองและทางจิตใจที่ดีให้แก่ลูกน้อยแล้วค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook