เปิดที่มาที่ไป ระบบโซตัส มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน?

เปิดที่มาที่ไป ระบบโซตัส มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน?

เปิดที่มาที่ไป ระบบโซตัส มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง มาพร้อมเป็นเพื่อน” ใครที่ผ่านการรับน้องมาน่าจะคุ้นเคยกับประโยคนี้ดี มันคือประโยคคลาสิกของระบบ โซตัส(SOTUS) ที่อยู่คู่กับรับน้องในสังคมมหาวิทยาลัยของไทยมาอย่างยาวนาน แต่ช่วงหลังหลายมหาวิทยาลัยก็ประกาศยกเลิกและไม่สนับสนุนระบบนี้อีกต่อไป

วันนี้มาชวนย้อนไปดูกันสั้นๆ ว่าจุดเริ่มต้นมาจากไหน ทำไมถึงเป็นที่นิยมในประเทศไทย

โซตัส (SOTUS) เรามาดูที่ความหมายของคำนี้กันก่อน

  • S ย่อมาจาก คำว่า Seniority คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเคารพอาจารย์และนักศึกษารุ่นพี่
  • O ย่อมาจาก คำว่า Order คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่ง มีระเบียบวินัย
  • T ย่อมาจาก Tradition คือ ต้องการให้มีการรักษาเฉพาะประเพณีที่ดีงามและเหมาะสมไว้
  • U ย่อมาจาก คำว่า Unity คือ ต้องการให้นักศึกษารักษาความสามัคคีระหว่างนักศึกษา
  • S ย่อมาจาก คำว่า Spirit คือ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีการเสียสละเพื่อส่วนรวม

จากความหมายอักษรย่อแต่ละตัว ก็น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่ามันคืออะไร ส่วนเข้ามาในไทยได้อย่างไร มีการสันนิษฐานว่า มาจากระบบอาวุโสของโรงเรียนประจำในอังกฤษ โดยที่อาจารย์จะตั้งนักเรียนชั้นปีสูงๆ ที่มีความประพฤติดีมาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ จุดประสงค์เพื่ออบรมสั่งสอนรุ่นน้อง ตำแหน่งนี้มีชื่อเรียกว่า พรีเฟกต์

ตำแหน่งพรีเฟกต์ จะมีสิทธิพิเศษเช่น ตักเตือนรุ่นน้องได้ หักคะแนนพฤติกรรมได้ มีห้องนั่งเล่นส่วนตัว มีสิทธิมากกว่าคนอื่นๆ

ส่วนการเข้ามาในไทยนั้นมีหลายแหล่งข้อมูลระบุไว้ว่า เข้ามาช่วงที่ไทยกำลังเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ช่วงนั้นมีหลายคนได้ไปเรียนนอกและนำเอาวัฒนธรรมการรับน้องเข้ามาด้วย หนึ่งในวัฒนธรรมที่เอาเข้ามาก็คือการ ว้าก ที่ในมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศใช้ได้ (ให้นึกภาพเวลาเราดูหนังฝรั่ง บางเรื่องจะมีฉากที่รุ่นพี่ยืนว้ากรุ่นน้องในชมรมตอนดึกๆ) สิ่งนี้ถูกนำมาใช้กับการรับน้องของไทย

โดยมีความเชื่อกันว่าการกดดันรุ่นน้องจะเป็นการละลายพฤติกรรมและทำให้อยู่ร่วมกันง่ายขึ้น ลดความต่างชั้นของฐานะ มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น แต่ไปๆ มาๆ การตีความก็ดูเหมือนจะผิดและรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งกลายเป็นความสะใจของรุ่นพี่เท่านั้น

โซตัสอยู่คู่กับการรับน้องของไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยระบบสังคมที่มีโครงสร้างพี่ช่วยเหลือน้อง มีความอาวุโสเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างที่นักวิชาการหลายคนให้ความเห็นว่า มันสนับสนุนระบบอุปถัมภ์ของไทย

ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นทำให้โซตัสนั้นได้รับความนิยมและถูกส่งต่อกันมาอย่างยาวนาน มีพักหลังที่คำถามเริ่มถูกตั้งมากขึ้นถึงความจำเป็นและความเท่าเทียมของคนเรา อีกทั้งรุ่นพี่ที่โตกว่าไม่กี่ปีจะสามารถสอนอะไรได้ ทำให้หลายมหาวิทยาลัยประกาศยกเลิกรับน้องแบบโซตัส

จนถึงทุกวันนี้ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีบางมหาวิทยาลัย บางคณะ บางสาขาที่ยังมีการรับน้องแบบโซตัสอยู่และมักมีข่าวเศร้าให้เห็นเสมอจากการรับน้องที่รุนแรง ก็ได้แต่หวังว่าการรับน้องรูปแบบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook