จะอยู่ร่วมกันอย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวป่วย “ซึมเศร้า”

จะอยู่ร่วมกันอย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวป่วย “ซึมเศร้า”

จะอยู่ร่วมกันอย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวป่วย “ซึมเศร้า”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในบ้านเรา จากข่าวการสูญเสียบุคคลมีชื่อเสียงเนื่องด้วยโรคนี้หลายต่อหลายคน แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรค คิดว่าเป็นโรคสมัยใหม่ แต่ความจริงโรคนี้มีมานานแล้ว เพียงแต่เราไม่รู้วิธีรับมือมันเท่านั้นเอง อีกทั้งคนเรายังมีความเข้าใจผิดอยู่มากว่าคนที่เป็นโรคนี้นั้นอ่อนแอ เป็นคนไม่สู้ชีวิต ซึ่งจริง ๆ นั้นไม่ใช่ สาเหตุที่แท้จริงมาจากสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีมุมมองและความคิดต่างจากทั่วไป ซึ่งในบทความนี้ Tonkit360 จะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีหรือคำพูดที่ควรใช้ หากพบว่าคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งข้อเหล่านี้ต่างส่งผลต่อจิตใจเขาอยู่มาก มาดูกัน

468004

คำพูดต้องห้าม

ซึ่งคำเหล่านี้นอกจากผู้ป่วยจะไม่ได้รับกำลังใจเพิ่มแล้ว ยังทำให้พวกเขาอาการหนักกว่าเดิมได้อีกด้วย เช่น ร้องไห้ทำไม, เดี๋ยวก็ดีเอง, อย่าคิดมาก, แค่นี้เอง หรือคำเชิงต่อว่าอย่าง จะเศร้าไปถึงไหน, เอาแต่เศร้าไม่เหนื่อยบ้างเหรอ เป็นต้น โดยในทางจิตวิทยาเรียกว่า Ignorance คือเป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเผชิญเรื่องร้ายอยู่คนเดียว

คำต้องพูด

จากคำต้องห้ามข้างต้นหลายคนอาจจะถามว่า แล้วควรพูดยังไงดีล่ะ ซึ่งคำพูดที่เราควรใช้เป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วย ช่วยให้เขารับรู้ว่าเราอยู่เคียงข้างกับเขา เช่น ฉันไม่รู้หรอกว่าเธอแย่ขนาดไหนแต่ฉันพร้อมจะเข้าใจเธอตลอดนะ, ฉันเชื่อว่าอีกไม่นานเธอจะดีขึ้น อดทนไว้นะ หรือสำหรับบางคนอาจมีการจับมือกันหรือโอบกอด ถ่ายทอดความรู้สึกดี ๆ ให้กับเขา ผู้ป่วยจะเริ่มเข้าใจว่ามีคนคอยอยู่เคียงข้างพวกเขาทำให้เขามีความหวังขึ้น

ปิดปากและเปิดใจ

สิ่งที่ผู้ป่วยซึมเศร้าต้องการมากที่สุดคือใครสักคนที่อยู่เคียงข้างรับฟังปัญหาของพวกเขา ซึ่งหากใครที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรถามหรือกระตุ้นให้เขาเล่าในสิ่งที่เขาไม่สบายใจ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องแสดงความเห็นใด ๆ ยกเว้นเพียงฟังเขาอย่างตั้งใจให้ได้มากที่สุด

อย่าปล่อยให้เก็บตัว

อีกหนึ่งหนทางที่สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้ ก็คือการพาเขาออกไปเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยอาจจะเก็บตัว ปลีกตัวออกจากสังคม โดยเราอาจพาเขาออกมาเดินเล่น หรือออกไปกินข้าวใกล้ ๆ บ้านบ้างก็ได้ ถ้าให้ดีก็พาไปเที่ยวสนุก ๆ ไปเลยถ้าทำได้ มันช่วยได้จริง ๆ นะ

ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นควรใช้ความอดทนและเข้าใจ จิตใจต้องเข้มแข็งเพราะไม่งั้นอาจจะจิตตกดิ่งตามไปอีกคนก็เป็นได้ และควรเลิกคำพูดเชิงเปรียบเทียบว่า “ดูคนนั้นสิเขาลำบากกว่าตั้งเยอะ เขายังไม่เศร้าเลย” ซึ่งนั่นไม่ช่วยอะไรพวกเขาเลย และไม่ควรโฟกัสกับการเร่งรัดที่จะให้เขาหาย แค่พยายามให้ความรักความใส่ใจและเข้าใจเขาก็เพียงพอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook