เช็กกันหน่อยว่าคุณเสพติดการกินมื้อดึกหรือไม่

เช็กกันหน่อยว่าคุณเสพติดการกินมื้อดึกหรือไม่

เช็กกันหน่อยว่าคุณเสพติดการกินมื้อดึกหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ที่เสพติดการกินมื้อดึก แม้ว่าจะกินมื้อเย็นไปแล้วและเวลาที่คุณควรจะเข้านอนกลับเป็นเวลาที่คุณอยากกินอาหารมากกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นลองมาสังเกตอาการของตนเองกันดู และมาดูวิธีป้องกันไม่ให้เสพติดการกินมื้อดึกว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อาการเสพติดการกินมื้อดึกนั้นจะเป็นการขัดขวางหรือรบกวนเวลานอนของคุณ

เหนืออื่นใดจะส่งผลต่อระบบนาฬิกาในร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะการกินมื้อดึกจะทำให้คุณกินอาหารไม่ตรงเวลา ไม่กินในมื้อที่จำเป็น และการกินก่อนนอนส่งผลต่อระบบย่อยอาหารในร่างกาย อาจทำให้คุณนอนไม่หลับ เมื่อนอนไม่พอจะทำให้คุณมีความรู้สึกไม่สดใสเมื่อตื่นนอน ขณะเดียวกันยังส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย การเผาผลาญพลังงาน รวมไปถึงความสามารถในการควบคุมการกินของตนเองที่ลดน้อยลง

ดังนั้น มาดูวิธีป้องกันไม่ให้คุณกลายเป็นคนที่เสพติดการกินมื้อดึกจนทำให้ร่างกายไม่เพียงแค่อ้วนแต่พังกันไปเลยกันดีกว่า

1. สังเกตพฤติกรรมการกินของตนเอง

จุดเริ่มต้นในการป้องกันอาการเสพติดการกินมื้อดึก คือสังเกตพฤติกรรมการกินด้วยการดูว่าในแต่ละมื้อของวันนั้นคุณได้กินอาหารอะไรไปบ้าง เวลาที่กินอาหารแต่ละมื้อเข้าไปนั้นคุณพึงพอใจในรสชาติอาหารหรือไม่ และความหิวในแต่ละมื้อ ความอิ่มในแต่ละมื้อ ซึ่งการสังเกตพฤติกรรมการกินในลักษณะนี้จะทำให้คุณมีสติรู้ว่าวันนี้ได้กินไปเยอะแค่ไหน และทำให้คุณสามารถบอกตัวเองให้หยุดกินในมื้อดึกได้ เหมือนเป็นการสะกดจิตตนเอง แต่จะส่งผลดีที่ทำให้คุณได้พักผ่อนในเวลาอันควร มิใช่ต้องใช้เวลานอนมาเป็นเวลากิน

2. กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ

หลายคนไม่ได้กินอาหารเช้า เพราะคิดว่าเป็นเวลาเร่งรีบ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารเช้าคือการเตรียมความพร้อมของร่างกายในแต่ละวัน เพราะการใช้ชีวิตในปัจจุบันรวมไปถึงหน้าที่การงาน หากคุณข้ามอาหารเช้าไปแล้วอาจหมายถึงคุณต้องข้ามอาหารกลางวัน และไปกินในช่วงบ่ายแทน จากนั้นคุณจะไม่รู้สึกหิวในมื้อเย็น หากแต่เกิดอาการหิวในยามดึก เมื่อคุณเริ่มต้นกินมื้อดึก วนเข้าลูปที่เลี่ยงอาหารเช้า นาฬิกาชีวิตของคุณก็จะเปลี่ยนทันที ทำให้คุณมีพฤติกรรมการกินผิดปกติ และทำให้สมองสั่งงานให้คุณต้องกินมื้อดึกในทุกวัน

3. ห้ามกินอาหารในห้องนอน

พื้นฐานง่าย ๆ ในการหยุดกินมื้อดึก คือการหยุดเอาของกินเข้ามาในห้องนอน เพราะถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการเอาของกินเข้าห้องนอน นั่นเท่ากับคุณกำลังอนุญาตตัวเองให้ทุกพื้นที่ในบ้านคือพื้นที่ที่สามารถกินได้ตลอดเวลา และเมื่อคุณติดเป็นนิสัย จะทำให้ทุกครั้งที่คุณเดินเข้าห้องนอนต้องมีอาหารติดมือมาด้วยเสมอ และคุณจะรู้สึกว่าหิวในทันที หากวันไหนไม่มีอาหารอยู่ที่หัวเตียง แต่ถ้าคุณบอกกับตนเองว่าห้ามกินอาหารในห้องนอน อาการหิวก่อนนอนจะค่อย ๆ หายไปเมื่อคุณเดินขึ้นเตียง การแก้ไขด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณได้เวลาพักผ่อนกลับคืนมา และทำให้รูปแบบการกินที่ผิดปกติของคุณกลับมาเป็นปกติ

4. ค่อย ๆ หยุดมื้อดึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องการเลิกเสพติดการกินมื้อดึก คือคุณเลิกกินได้ถ้าคุณตั้งใจจะมีสุขภาพที่ดีและพยายามเลิกนิสัยกินมื้อดึกให้เร็วที่สุดเพราะมีผลสำคัญต่อร่างกาย ทั้งนี้คุณสามารถค่อย ๆ ปรับวิถีการกินอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่าคุณต้องการหยุดการกินมื้อดึก อาจเปลี่ยนจากอาหารเป็นผลไม้หรือน้ำเปล่า จากนั้นค่อย ๆ ลดลงตามวัน และสุดท้ายคือหยุดการกินมื้อดึกไปเลยหลังจากแปรงฟันเพื่อเข้านอน

5. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอช่วยให้คุณลดมื้อดึกได้

การออกกำลังกายในช่วงเย็น จะทำให้คุณมีความอยากอาหารน้อยลง ร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ทำให้คุณผ่อนคลาย และเข้านอนได้ดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายนั้นรู้กันดีอยู่แล้วว่าช่วยปรับปรุงระบบการนอน และนั่นคือสาเหตุที่ทำไมคนที่กินจุหรือติดการกินมื้อดึกมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ดังนั้น การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook