ไขปัญหา “ปีแสง” ระยะทางในอวกาศ มีความยาวนานแค่ไหน

ไขปัญหา “ปีแสง” ระยะทางในอวกาศ มีความยาวนานแค่ไหน

ไขปัญหา “ปีแสง” ระยะทางในอวกาศ มีความยาวนานแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ปีแสง” หลายคนคงเคยได้ยินไกลเป็นสิบปีแสง หรือสมัยเรียนเราคงคุ้นๆกับในวิชาวิทยาศาสตร์กับโลกห่างกับดวงจันทร์ ปีแสงเท่านู้นนี้เท่านี้ แล้วยังจำได้หรือเคยรู้ไหมว่า ปีแสง จริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ มาเริ่มไปพร้อมกัน

“ปีแสง” หรือ Light Year คือระยะทางที่แสงสามารถเดินทางใน 1 ปี

หน่วยเล็กของเวลาที่เราคุ้นกันคือ วินาที นั่นเอง และในทุกๆ 1 วินาที แสงสามารถเดินทางได้ประมาณ 300,000 กิโลเมตร

แล้วใน 1 ปีมี 31,536,000 วินาที หากเอามาคูณ 300,000 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นใน 1 ปีแสง จะเดินทางไกลประมาณ 9 ล้านล้านกิโลเมตร

ปีแสงเป็นหน่วยวัดระยะทาง มีการยกสูตรคำนวณไว้คือ 1 ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงเดินทางในอวกาศเป็นเวลา 1 ปี หรือ ประมาณ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร = 9.5 x 10 12 กิโลเมตร

ทีนี้เวลาที่เราได้ยินว่านักดาราศาสตร์ถ่ายภาพ พบดวงดาวที่ห่างจากไปจากโลก 3 แสนปีแสง ก็คือภาพของดวงดาวนั้นเมื่อ 3 แสนปีที่แล้วนั้นเองเพราะแสงต้องใช้เวลาเดินทางที่นานๆมากๆกว่าจะมาถึงโลก

ใครนึกไม่ออก ให้คิดว่า เราอยู่ประเทศไทยต้องส่งจดหมายให้เพื่อนที่อยู่ญี่ปุ่นโดยผ่านไปรษณีย์ที่ต้องเดินหรือว่ายน้ำโดยไม่นั่งเครื่องบิน กว่าจดหมายจะถึงเนื้อหาในจดหมายนั้นก็เป็นเนื้อหาที่เราเขียนเมื่อหลายวัน หลายเดือนที่แล้วนั่นเอง ติดตามสาระความรู้แบบนี้ได้อีกที่ iNN Lifestyle

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook