ความเชื่อ ปักตะไคร้ไล่ฝน เริ่มมาจากไหน?

ความเชื่อ ปักตะไคร้ไล่ฝน เริ่มมาจากไหน?

ความเชื่อ ปักตะไคร้ไล่ฝน เริ่มมาจากไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ฝนมาแล้ว ปักตะไคร้เร็ว” หนึ่งในประโยคฮิตติดปากของคนไทย ที่มีทั้งพูดเล่นๆ จนไปถึงทำแบบจริงๆ จังๆ กับความเชื่อปักตะไคร้ไล่ฝน เคยสงสัยกันไหมว่าความเชื่อนี้เริ่มมาจากไหน แล้วทำไมต้องปักตะไคร้ วันนี้เรามาสรุปง่ายๆ กัน

ปักตะไคร้ไล่ฝนกับคอนเซ็ปต์เทพไม่พอใจ

ฝนตกตามฤดูกาล มาพร้อมกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ทำให้เกือบทั่วทุกมุมโลกนับถือเทพเจ้า สิ่งเหนือธรรมชาติ บูชาให้ฝนตกเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เพื่อปากท้อง เพื่อให้รอดชีวิต

แล้วจะขอยังไงให้ได้ผล แน่นอนว่าก็ต้องทำให้เทพหรือสิ่งที่นับถือพอใจ อย่างในประเทศไทยเราก็จะเห็นการทำบุญบั้งไฟเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถนเพื่อขอให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล

คราวนี้หากคิดง่ายๆ เมื่อเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์พอใจแล้วทำให้ฝนตก ถ้าไม่พอใจก็น่าจะทำให้ฝนหยุดเช่นกัน จากที่หาข้อมูลมา การปักตะไคร้นั้นไม่ได้ระบุว่าเริ่มจากไหน เริ่มจากใคร มีมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นความเชื่อและเรื่องเล่ามากกว่า โดยอ้างอิงจากคอนเซ็ปต์ที่กล่าวมา ว่าถ้าเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โกรธเพราะมนุษย์ไปทำอะไรที่ผิดธรรมชาติ ฝืนธรรมชาติ เช่น การปักตะไคร้โดยเอาปลายปักลงดิน โคนชี้ขึ้นฟ้า เทพก็คงสั่งให้ฝนหยุดโดยทันทีเพราะความโกรธ

สาวพรหมจรรย์ต้องเป็นผู้ปักตะไคร้?

เมื่อหาข้อมูลพบว่าแต่ละพื้นที่มีความเชื่อที่ต่างกัน ว่าผู้ที่ปักตะไคร้ต้องมีคุณสมบัติแบบนี้ แบบนั้น เช่น ต้องเป็นสาวพรหมจรรย์ บางพื้นที่ก็ต้องเป็นลูกชายคนโตที่ยังไม่แต่งงาน เป็นลูกสาวคนเล็กที่ยังไม่ได้แต่งงานหรือเป็นแม่หม้าย เด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน

หากสังเกตดีๆ ทั้งหมดอาจจะมีจุดร่วมกับความเชื่อของคนโบราณว่า การมีลูกหลานคือความอุดมสมบูรณ์ ส่วนกลุ่มคนที่กล่าวมาก็คือตรงกันข้าม อีกทั้งบางที่ยังเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ที่ถูกกับกุศโลบายของคนไทยทำให้เลือกกลุ่มคนเหล่านี้มาประกอบพิธีกรรม

สรุป การปักตะไคร้ไล่ฝน นั้นก็เป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมา ไม่ได้มีหลักฐานหรืออะไรบันทึกไว้ชัดเจน หลายคนคาดว่าน่าจะมาจากแนวคิดหากเทพไม่พอใจ ก็สั่งให้ฟ้าฝนหยุดตกได้นั่นเอง ติดตามสาระความรู้แบบนี้ได้อีกที่ iNN Lifestyle

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook