กสศ. ผนึกกำลัง 9 สถาบัน มุ่งสร้าง “ครูรัก​(ษ์)ถิ่น รุ่น 4” ผลิตครูรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาท้องถิ่น

กสศ. ผนึกกำลัง 9 สถาบัน มุ่งสร้าง “ครูรัก​(ษ์)ถิ่น รุ่น 4” ผลิตครูรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาท้องถิ่น

กสศ. ผนึกกำลัง 9 สถาบัน มุ่งสร้าง “ครูรัก​(ษ์)ถิ่น รุ่น 4”  ผลิตครูรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาท้องถิ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 23 กันยายน 2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อลงนามความร่วมมือและพัฒนาแนวทางการทำงาน ระหว่าง กสศ. กับสถาบันผลิตและพัฒนาครู 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยกาฬสิทธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เดินหน้าโครงการ “ครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2566” ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน มุ่งมั่นสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนยากจนด้อยโอกาส ซึ่งมีศักยภาพและมีใจรักอยากเป็นครู ให้ได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษา พร้อมได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ ในโรงดรียนพื้นที่ห่างไกลและเป็นชุมชนบ้านเกิด เพื่อลดปัญหาขาดแคลนครูและการโยกย้าย โดยคาดหวังว่านักเรียนที่ได้รับทุนจะได้รับการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครู และเป็นนักพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพสอดคล้องกับโจทย์การทำงานในท้องถิ่น 

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า โจทย์ท้าทายของทุกคนที่มาร่วมทำงานในครั้งนี้ คือกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล การจะนำคนในท้องถิ่นออกมาพัฒนาให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก หรือการส่งคนนอดเข้าไปพัฒนาในพื้นที่ทุรกันดารก็จะพบปัญหาการโยกย้านกลับถิ่นฐานของบุคลากร ซึ่งทำให้ขาดความยั่งยืนและต่อเนื่อง 

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์

ดร.ดนุช กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยที่ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการดังกล่าว เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีศักยภาพ เรียกว่าเป็นสถาบันต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครูระบบปิด ตั้งแต่กระบวนการค้นหาคัดกรองที่มีมาตรฐาน การนำเยาวชนในชุมชนที่มีศักยภาพและความมุ่งมั่นมาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา 4 ปี ด้วยหลักสูตรที่แต่ละมหาวิทยาลัยออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองชุมชน และจะต้องบรรจุทำงานที่บ้านเกิดเป็นระยะเวลา 6 ปี ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการผลิตและพัฒนาครูระบบปิดจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ตัดวงจรการขาดแคลนครู และเพิ่มอัตราการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพบนฐานแนวคิดที่ว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจรศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหาร กสศ. และประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ระบุว่า กสศ. ได้มอบโอกาสให้นักเรียนมาแล้ว 3 รุ่น จำนวน 865 คน และสำหรับโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 มีนักเรียนทุน 327 อัตรา จาก 324 โรงเรียนปลายทางใน 43 จังหวัด และปี 2566 รุ่นที่ 5 โครงการฯ จะรับนักเรียนทุนอีก 310 อัตรา ซึ่งเมื่อร่วมกับรุ่นก่อน ๆ แล้ว จะได้นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 1,500 คน ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

“กระบวนการต้นน้ำ คือสถาบันแต่ละแห่งมีนวัตกรรมการค้นหาคัดเลือกเพื่อให้ได้นักศึกษาตรงคุณลักษณะ กลางน้ำคือหลักสูตร ซึ่งสถาบันจัดเตรียมไว้เพื่อให้ตอบสนองตามหลักคิดและแนวทางของโครงการ ที่ลงรายละเอียดถึงเด็กเป็นรายคน และตามความแตกต่างของลักษณะพื้นที่แต่ละแห่ง ส่วนปลายน้ำ คือปลายทางที่นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นจะไปบรรจุ ที่สถาบันผลิตและพัฒนาครูได้ทำงานร่วมกับโรงเรียน เพื่อพัฒนาทั้งโรงเรียนและชุมชนท้องถิ่นไปพร้อมกัน” รศ.ดร.ดารณี กล่าว

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ดร.ไกรยส ภัทราวาท

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชี้ว่า หน้าที่ของ กสศ. คือการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยโจทย์หนึ่งที่ กสศ. ทำตั้งแต่ปี 2562 คือการทำงานกับโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีปัญหาเรื่องอัตรากำลังครู จนเป็นปัญหาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงระบบนิเวศทางการเรียนรู้ที่ยังไม่สามารถส่งเสริมให้เด็กในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ 

ทั้งนี้ ดร.ไกรยส เสริมว่า โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มุ่งแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และตอบโจทย์สำคัญของ กสศ. นั่นคือสนับสนุนให้เกิดสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู โดยร่วมกันพัฒนาแนวคิดเพื่อผลิตและพัฒนาครู ด้วยวิธีและนวัตกรรมที่เหมาะกับโจทย์ในระดับพื้นที่ นำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตั้งแต่ต้นทางของระบบการศึกษา เพื่อลดปัญหาการโยกย้ายและสร้างคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook