ประวัติวันสิ้นปี 2567 กิจกรรมที่นิยมทำ มีความสำคัญอย่างไร
ใน 1 ปีจะมี 12 เดือน ซึ่งพอถึงช่วงปลายปีในช่วงเดือนธันวาคม แต่ละคนก็จะเริ่มนับถอยหลัง ก้าวจาก "วันสิ้นปี" สู่วันปีใหม่ของแต่ละปี ซึ่งเป็นช่วงวันที่มีการเฉลิมฉลองในเทศกาลปีใหม่ทั่วโลก รวมถึงกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ ฉะนั้นเรามาดูความหมายของวันสิ้นปีกันค่ะ ว่ามีความหมายอย่างไร และสำคัญอย่างไร
ความหมายของวันสิ้นปี
วันสิ้นปี คือวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่จะมาเยือน และเป็นวันหยุดของทางราชการและเอกชนที่หยุดต่อเนื่องไปถึงวันปีใหม่ด้วย
วันสิ้นปีของไทย
ในประเทศไทยทางการได้กำหนดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการ เพื่อที่ค่ำคืนวันนี้จะประชาชนจะได้ฉลองและมีการจัดงานนับถอยหลังเพื่อก้าวเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืน และจะมีการจุดพลุเพื่อเฉลิมฉลอง สำหรับวันสิ้นปีของประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันหยุดของหน่วยงานราชการ ธนาคาร บริษัทต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากความบันเทิงแล้ว การสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคลในค่ำคืนแห่งคืนสุดท้ายของปียาวไปถึงวันปีใหม่นั้น ถือเป็นนิมิตหมายของการตั้งใจทำความดีของผู้ร่วมกิจกรรมอีกด้วย
วันสิ้นปีของต่างประเทศ
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นวันสิ้นปีทั่วโลกอีกด้วย จะมีการจัดงานเคาท์ดาวน์เพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ในค่ำคืนของวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยได้ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน จากนั้นมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศตะวันตก เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2125 เป็นการประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 ซึ่งวันสิ้นปีของแต่ละประเทศ เวลาจะแตกต่างกัน แต่ละประเทศก็จะมีการเฉลิมฉลองเช่นกัน แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น เชื่อว่าวันสิ้นปีจะมีเทพเจ้ามาเยือน ทุกคนจึงให้ความพิเศษในวันสำคัญนี้
วันที่ใช้จัดงานวันสิ้นปี
วันสิ้นปี จะตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตามสถานที่ราชการ หรือสวนสาธารณะ มักจะจัดงาน แสง สี เสียง การจุดพลุเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมเฉลิมฉลอง รวมถึงร้านอาหารต่างๆ และตามบ้านเรือน ที่จะมีการรวมญาติในวันสิ้นปีอีกด้วย
ประวัติวันสิ้นปี
เดือนธันวาคม เป็นเดือนแห่งวันส่งท้ายปี ซึ่งวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ้นปีที่หลายๆ คนรอคอย เพื่อที่จะได้เริ่มเข้าสู่ปีใหม่ และอาจจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ หลังจากที่เหนื่อยกันมาแรมปี การไดหยุดยาวในช่วงเทศกาลอย่างนี้ถือเป็นการชาร์จแบตให้กับตัวเองเพื่อเริ่มวันใหม่ ปีใหม่ ให้เป็นวันที่ดีอีกด้วย
ที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า ในช่วงสมัย สุโขทัยเป็นราชธานี ได้นับปีตามปีมหาศักราชตาม ซึ่งประเทศไทยใช้ปฏิทินจันทรคติต่อมาในสมัยพญาลิไท สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เปลี่ยนมาใช้จุลศักราช โดยใช้วันเถลิงศก เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ก็ยังคงใช้ปฏิทินจันทรคติอยู่ แต่ในทางพระพุทธศาสนาคณะสงฆ์ยังนิยมใช้เทียบปีในรูปแบบพุทธศักราชอยู่ จนกระทั่งมีวันเปลี่ยนปีขึ้นจุลศักราชใหม่ตามปฏิทินสุริยคติแบบสุริยยาตรด้วยวันเถลิงศก ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เมษายนในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ส่วนปีนักษัตรให้นับเปลี่ยนปีตามปฏิทินจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 แทน จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียนแทน ในปี พ.ศ.2431 ซึ่งถือเป็นปฏิทินสากล ที่ใช้กันเกือบทั่วโลก ในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วันตามปฏิทินสากล ซึ่งมีทั้งหมด 12 เดือน ในหนึ่งปี
วันตามปฏิทินสากล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ตั้งชื่อเดือน ซึ่งสมัยนั้นยังถือว่าเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปี และเดือน มีนาคม คือเดือนสุดท้ายของปี และยังยังคงใช้ รัตนโกสินทรศกโดยใช้ 1 เมษายน ร.ศ.108 แทนที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432
ต่อมา ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้ง เพราะมีการยกเลิกการใช้ปีรัตนโกสินทรศกที่ 131 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ปีพุทธศักราช (พ.ศ) อย่างเป็นทางการ โดยปีพุทธศักราชแรกที่ใช้ คือ ปี พ.ศ.2456 เมื่อทำการปรับเปลี่ยนปฏิทิน จึงได้ปรับเปลี่ยนให้ วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมที่นิยมทำในวันสิ้นปี
-
การทำบุญตักบาตร
การทำบุญตักบาตรซึ่งอาจจะตักบาตรที่บ้าน ที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการได้มีการประกาศเชิญชวนให้ไปร่วมทำบุญทำบุญตักบาตรโดยอาจนิมนต์มาพระมาจากหลายๆ ที่จำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทำบุญ หรือทำกุศลอื่นๆ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว หรือการไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่น นอกจากนี้อาจทำทานด้วยการปล่อยนก ปล่อยปลา ก็ได้เช่นกัน -
ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด
ก่อนวันขึ้นเทศกาลปีใหม่ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการปัดกวาดบ้านเรือนของตัวเองให้สะอาด รอบๆบริเวณบ้าน พรอมกับทำการตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม หรืออาจจะเปลี่ยนมุมบ้านใหม่ ทาสีบ้านใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนอีกด้วย -
เข้าร่วมพิธีเคาท์ดาว (countdown)
เรียกว่าค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีประชาชนในประเทศไทย จะร่วมทำกิจกรรมการนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตามสถานที่ต่างๆ ที่ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ ในกรุงเทพ ฯ ที่จัดงานเป็นประจำทุกปีก็คือ ที่ท้องสนามหลวง ย่านถนนราชประสงค์ , ถนนสีลม, เอเชียทีค , ตามศูนย์การค้าต่างๆ ฯลฯ เป็นการจัดเทศกาลเฉลิมฉลองความสุข ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ บางที่จะการแสดงแสงไฟอันยิ่งใหญ่ตระการตา เนรมิตอาณาจักรแสงไฟ ให้สว่างไสวงดงาม พร้อมชมแสง สี เสียง ที่จะมีคอนเสิร์ต ของเหล่าดารา ศิลปิน นักร้อง ที่จะร่วมให้ความบันเทิงและนับถอยหลังไปพร้อมๆกัน ซึ่งในต่างจังหวัด แม้จะไม่ยิ่งใหญ่มาก แต่ก็มีการจัดงาน เพื่อให้ประชาชนได้ฉลองวันปีใหม่ เป็นคืนที่จะเห็นพลุเต็มท้องฟ้ามากที่สุดเลยทีเดียว -
สวดมนต์ข้ามปี
ที่ท้องสนามหลวง ที่วัดพระธรรมกาย และตามสถานที่ศาสนาอื่นๆ ที่มักจะจัดพิธีสวดมนต์ข้ามปี โดยจะนุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ พิธีสวดมนต์ข้ามปีกลายเป็นวิวัฒนาการของประเพณีไทยในสมัยหนึ่ง ถือว่าเป็นการส่งเสริมประเทศชาติให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
>> 9 บทสวดมนต์ข้ามปี เสริมมงคลชีวิตสดใส ต้อนรับปีใหม่
อ่านเพิ่มเติม