ขยันไปก็มีแต่แย่! วิจัยเผยลางาน 21 วันช่วยให้เราตายช้าลง

ขยันไปก็มีแต่แย่! วิจัยเผยลางาน 21 วันช่วยให้เราตายช้าลง

ขยันไปก็มีแต่แย่! วิจัยเผยลางาน 21 วันช่วยให้เราตายช้าลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ทำงานขยันไปเหนื่อยมากสุดก็แค่ตาย แต่ต่อให้ตายยังไงก็มีคนมาแทนที่อยู่ดี” ประโยคเตือนใจวัยรุ่นยุคออฟฟิศที่กำลังหาทางออกชีวิตจากเส้นทางยุ่งเหยิงบนกองเอกสารพร้อมเดดไลน์ที่ขยับเข้าใกล้เรื่อยๆ เมื่อถึงคราวที่ภาระรัดเกินไปกลับยิ่งส่งผลให้เราต้องขยันมากกว่าเดิมจนลืมสิทธิที่ควรมีอย่าง “การพักผ่อน”

ชาวมนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจคิดว่าการทุ่มเทหยาดเหงื่อแรงกายให้สมกับเงินเดือน 5 หลัก ตลอด 5 วันเป็นเรื่องปกติที่ทำ แล้วปล่อยให้ร่างกายได้พักผ่อนในช่วงหยุดสุดสัปดาห์ จะออกกำลังกาย กินของอร่อยๆ ปิกนิกกลางสวน หากเพียงขอให้จิตวิญญาณเสรีชนได้พอขยับเขยื้อนคลาย ปสด. แค่เฉพาะวัน เสาร์-อาทิตย์ อาจนับว่าเป็นความผิดมหันต์อย่างยิ่งสำหรับวิชาสุขภาพและการเป็นมนุษย์แห่งในมหาลัยชีวิตนี้

ลางาน ลาได้สักที ลาก่อน ให้เธอโชคดี

ทีโม่ สเตรนเบิร์จ (Timo Strandberg) ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิเคยกล่าวไว้ในการประชุมว่า การใช้ชีวิตที่ดีขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้นไม่สามารถชดเชยการทำงานหนักเกินไปของเราได้ โดยอิงตามเอกสารวิจัยที่จัดทำโดยสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป แห่งเยอรมันนี

เดิมทีการทดลองนี้เป็นการทดลองปัญหาสุขภาพผู้ชายวัยทำงานทั่วไปตามปกติในช่วงยุค 60-70 โดยจะแบ่งกลุ่มผู้ชายวัยทำงานที่มีสัญญาณเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างน้อย 1 อย่าง (สูบบุหรี่, น้ำหนักเยอะ, ความดันสูง) จำนวน 1,200 คน มาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มแรกจะได้รับคำแนะนำด้านสุขภาพ กับอีกกลุ่มที่ใช้ชีวิตได้อิสระเหมือนเคย

หากซื้อหวยก็คงถูกไปแล้ว ผลสรุปวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ชายที่ได้รับคำแนะนำสุขภาพมีอายุที่ยืนยาวขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ แต่เหนือกว่านี้นักวิจัยกลับได้รับเซอร์ไพรส์มากกว่าเดิมเมื่อค้นพบว่า ลางานน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ใน 1 ปี (21 วัน) จะมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเร็วกว่าคนที่ลางานมากกว่า 3 สัปดาห์ใน 1 ปี ถึง 37%

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนขยันมักตายเร็วก็คือ ความเครียดจากการทำงานที่สะสมแบบไม่ได้พักผ่อน ต่างจากคนที่ลางานบ้างเป็นครั้งคราวที่มีโอกาสระบายความเครียดได้มากกว่า ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่านั่นเอง

สานต่อกลับมาที่ยุคปัจจุบันที่ต่อให้มีเอกสารยืนยันขนาดไหน จิตวิญญาณมนุษย์เงินเดือนก็สึกกร่อนลงไปแม้แต่น้อย เพราะในความคิดส่วนใหญ่แล้วหลายคนยังรู้สึกพอใจที่จะแบกภาระงานบนบ่าต่อไป อีกทั้งหลายคนที่มองว่าการท่องเที่ยวเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินกว่าจะปล่อยให้เงินหลุดจากกระเป๋าไปได้ด้วยซ้ำ

นับเป็นเรื่องเศร้าของวัฒนธรรมการทำงานที่ปลูกฝังให้เราขยันขันแข็งเพื่อท่านผู้นำ และหวังว่าสักวันหนึ่งผลหยาดเหงื่อนี้จะพาไปสู่จุดสว่างสดใสกับคนอื่นบ้าง ซึ่งความเป็นจริงแล้วก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่าระหว่างแบ็คดรอปสัมภาษณ์คนต้นแบบแห่งปี กับ ชีวิตหลังความตาย อันไหนจะมาก่อนกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook