คิดว่ามีมานานแล้ว! ไฟจราจรนับเวลาถอยหลัง เพิ่งเริ่มใช้ในไทยมา 20 กว่าปีเอง
สัญญาณไฟจราจร เป็นอุปกรณ์สัญญาณไฟที่ปรากฏตามแยกถนนต่างๆ, ทางเดินเท้า และสถานที่อื่นๆ เพื่อควบคุมการจราจรบนท้องถนน โดยการแสดงสัญญาณให้กับคนขับรถและคนเดินเท้าทำตามสัญญาณไฟ สัญญาณไฟจราจรแห่งแรกของโลก ติดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1868 กรุงลอนดอน และถูกติดตั้งในสหรัฐอเมริกาในปลายปี ค.ศ. 1890 และในปัจจุบันมีการใช้สัญญาณไฟจราจรกันทั่วโลก
ความหมาย สีไฟจราจร
- ไฟสีเขียว อนุญาตให้สัญจรไปในทิศทางที่ระบุ ถ้าทำได้อย่างปลอดภัยและมีที่ว่างอีกด้านของสี่แยก
- ไฟสีแดง ห้ามดำเนินการใด ๆ สัญญาณไฟสีแดงกะพริบต้องการให้หยุดการจราจร และดำเนินการต่อเมื่อปลอดภัย (เทียบเท่ากับป้ายหยุด)
- ไฟสีเหลือง เตือนว่าสัญญาณกำลังจะเปลี่ยนเป็นไฟสีแดง โดยศาลบางแห่งกำหนดให้ผู้ขับขี่หยุดหากทำได้อย่างปลอดภัย และบางแห่งอนุญาตให้ผู้ขับขี่ผ่านสี่แยกได้หากทำได้อย่างปลอดภัย
จุดเริ่มต้นไฟจราจรนับเวลาถอยหลังในประเทศไทย
ไฟจราจรนับเวลาถอยหลัง หรือ ไฟจราจรเคาท์ดาวน์ ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในช่วงเดือนมกราคม 2545 ในกรุงเทพมหานคร โดย สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ในช่วงเวลานั้นดำรงตำแหน่งราชการกรุงเทพมหานคร ได้นำไฟจราจรที่มีอุปกรณ์เสริมเป็นตัวนับเวลา ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นี้ไปติดตามพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นและคับคั่ง โดยมองว่าไฟจราจรแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถคำนวณเวลาในการเดินทางได้ รวมไปถึงลดปัญหาวิกฤตจราจรได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นก็ได้ถูกส่งออกไปตามพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะเขตเมือง
โดยระบบ ไฟจราจรนับเวลาถอยหลัง ก่อนที่จะนำมาใช้ในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ ได้มีการนำไปทดลองใช้อยู่ที่ต่างจังหวัดก่อน เพื่อทดสอบระบบและพัฒนาการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนที่จะนำมาใช้อย่างเป็นทางการ