CMMU จับมือดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เปิดหลักสูตร ป.ตรีดนตรีควบ ป.โทการจัดการ 4 ปีครึ่งจบ

CMMU จับมือดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เปิดหลักสูตร ป.ตรีดนตรีควบ ป.โทการจัดการ 4 ปีครึ่งจบ

CMMU จับมือดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เปิดหลักสูตร ป.ตรีดนตรีควบ ป.โทการจัดการ 4 ปีครึ่งจบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ผนึกกำลังวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปั้น “นักดนตรีผู้ประกอบการและนวัตกรรม” ด้วยโครงการปริญญาตรีควบปริญญาโท หรือหลักสูตรนักดนตรีผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation: MEI) หวังตอบโจทย์อุตสาหกรรมดนตรีไทยสู่ระดับสากล สร้างสกิลแบบมัลติทาส์กกิ้ง หนุน 3 ทักษะ ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน บูรณาการความรู้ทั้งในศาสตร์ด้านดนตรี ศิลปะบันเทิงแขนงต่าง ๆ กับศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ รับกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล จบป.ตรี ควบป.โท ภายในระยะเวลา 4 ปีครึ่ง

104977

รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อุตสาหกรรมดนตรีนไทยเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าจับตามอง มีค่ายเพลงใหม่ ๆ ที่ผลิตนักดนตรีและศิลปินหน้าใหม่ พร้อมผลงานคุณภาพสุดสร้างสรรค์ให้ได้รับชมกันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมดนตรีมีแนวโน้มเติบโตขึ้น และจะยิ่งมากขึ้นหลังช่วงโควิด-19 โดยการพิจาณาเทียบข้อมูลเมื่อปี 2561 โดย Creative Economy Agency ระบุว่า อุตสาหกรรมดนตรีของไทยมีมูลค่าสูงถึง 1,478 ล้านบาท และสะท้อนว่าอุตสาหกรรมนี้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ มีช่องทางการเติบโต และสามารถพัฒนาไปสู่การส่งออกผลงานสร้างสรรค์ของเด็กไทยในโลกดิจิทัล ซึ่งเด็กที่มีความเชี่ยวชาญทักษะดนตรีส่วนใหญ่ ได้เริ่มมองหาวิธีการพัฒนาทักษะด้านการบริหาร ที่เป็นทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน CMMU จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างบัณฑิตแบบบูรณาการทั้ง 2 ศาสตร์ เพื่อตอบรับความต้องการในตลาดแรงงาน และได้จับมือกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาโครงการปริญญาตรีควบปริญญาโท หรือหลักสูตรนักดนตรีผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation: MEI) ขึ้นมา 

โครงการ MEI เป็นหลักสูตร 2 ปริญญาที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนปริญญาตรีด้านดนตรี ควบคู่กับปริญญาโทด้านสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม ภายในระยะเวลา 4 ปีครึ่ง โดยมุ่งการปลูกฝังความเป็นนักบริหารและทักษะการเป็นผู้นำ รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารธุรกิจในแขนงของธุรกิจด้านดนตรี หรือธุรกิจด้านศิลปะบันเทิงที่เกี่ยวข้อง โดยผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการ MEI ต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมปลาย และมีความสนใจด้านดนตรีและด้านการจัดการธุรกิจ โดยต้องผ่านการออดิชันจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และวิทยาลัยการจัดการ โดยเปิดรับจำนวน 30 คนในแต่ละปีการศึกษา 

“โครงการ MEI เน้นการเรียนการสอนใน 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ 1. ความคิดสร้างสรรค์ด้านวิชานวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่มีหลักสูตรด้านดนตรีที่มีมาตรฐาน ทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก พร้อมพื้นที่ในการพัฒนาทักษะด้านดนตรี และ CMMU ที่มีเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนที่ครบครัน พร้อมช่วยพัฒนานวัตกรรมเชิงธุรกิจ 2. เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป โดย CMMU ให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เพื่อนำสิ่งที่เรียนไปปรับใช้ในการทำธุรกิจได้ และ 3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)” รศ.ดร.วิชาตา กล่าว

สำหรับผู้สนใจโครงการปริญญาตรีควบปริญญาโท หรือหลักสูตรนักดนตรีผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation: MEI) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.music.mahidol.ac.th นอกจากนี้ ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อ ป.โท - ป.เอก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://apply.cm.mahidol.ac.th/web/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook