นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย การกินช่วยได้ไม่อ้วนด้วย
ช่วงนี้ใครมีอาการนอนไม่ค่อยจะหลับ ไม่สบายตัวเวลาจะนอน กว่าจะหลับได้แต่ละทีนี่กินเวลาเข้าไปเป็นชั่วโมง ๆ วันนี้เรามีตัวช่วยการนอนหลับแค่กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อการนอน
อาการนอนไม่หลับของคุณเป็นแบบไหน
- หลับยาก
- หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
- นอนไม่สนิทเรื้อรังเป็นเวลานาน
- ตื่นกลางดึก หลับต่อยาก
- ตื่นมาไม่สดชื่น
ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับ หรืออาการเหล่านี้เกิดได้จาก
- ปัจจัยทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน หายใจผิดปกติขณะหลับ ขากระตุก
- ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น เหตุการณ์ประจำวันที่ส่งผลต่อจิตใจ อกหัก เครียด หรือมาจากโรคซึมเศร้า วิตกกังวล
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น มีแสง-เสียงรบกวนเวลานอน การนอนไม่เป็นเวลา เปลี่ยนที่นอน เป็นต้น
นอนไม่หลับแก้ได้ด้วย 5 ของกิน
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าหากนอนไม่หลับหรือหลับไม่สบายเนี่ย อาจแก้ได้แค่ด้วยยานอนหลับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วอาหารการกิน ก็ช่วยทำให้เราหลับได้ง่าย และสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังไม่มีผลต่อน้ำหนักไม่ต้องกลัวอ้วนด้วย
นม และโยเกิร์ต
ซึ่งจะมีสารทริปโตเฟน เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเรานำไปสร้างฮอร์โมนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเซโรโทนินซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน ส่งผลให้เรารู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับสบายขึ้น
กล้วย
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีสารทริปโตเฟน ที่ช่วยให้นอนหลับสบาย นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ที่มีคุณสมบัติในการผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีกด้วย
อัลมอนด์
อัลมอนด์เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอุดมไปด้วยแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของสารทริปโตเฟนที่จะถูกเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทรนินและนำไปสร้างเป็นฮอร์โมนเมลาโทนินในที่สุด ทำให้หลับสนิทตลอดคืน
ข้าวโอ๊ต
การกินคาร์โบไฮเดรตก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชม. จะช่วยให้การนอนหลับดียิ่งขึ้น และเป็นแหล่งของเมลาโทนินที่จะช่วยให้การนอนดีขึ้น ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ให้นอนหลับสบาย หลับลึกได้อย่างต่อเนื่อง
ชาคาโมมายล์
คาโมมายล์เป็นสมุนไพรกลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลายและทำให้นอนหลับสบาย โดยมีการศึกษาและงานวิจัยมากมายรองรับ และยังส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารช่วยต้านมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย
การนอนหลับที่ดี มีคุณภาพ
วงจรของการนอนหลับ เป็นตัวกำหนดว่าร่างกายเราสามารถหลับได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่ โดยปกติร่างกายของเราจะมีวงจรการนอนหลับ คือ
1) ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep)
- ระยะเริ่มหลับ Non – REM Sleep 1 จะเป็นช่วงเริ่มง่วง หรือเริ่มจะหลับ เป็นช่วงที่มักมีอาการ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือรู้สึกเหมือนตกจากที่สูงหากถูกรบกวนจะไม่ส่งผลต่อการนอน
- ระยะหลับตื้น Non – REM Sleep 2 เป็นช่วงรอยต่อระหว่างเริ่มหลับไปยังหลับลึก การนอนระยะนี้ส่งผลต่อร่างกายทั้งกระตุ้นความจำระยะสั้น รวมถึงเพิ่มสมาธิ
- ระยะหลับลึก Non – REM Sleep 3 ร่างกายอยู่ในช่วงหลับลึก ได้พักผ่อนมากที่สุด และมีการหลั่ง Growth Hormone
2) ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep)
เป็นระยะหลับฝัน จะช่วยเรื่องการความทรงจำ การเรียนรู้ถาวร และการสร้างจินตนาการ
โดยหากร่างกายนอนได้ครบทั้งวงจรรอบการนอน และมีการหลับครบทั้ง Non – REM และ REM แล้วจะทำให้ร่างกายของเราหลับได้อย่างมีคุณภาพและตื่นมาสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
ทั้งนี้อาหารการกินอาจช่วยให้หลับสบายได้มากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป ควรพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง หรือหากยังพบเจอปัญหาการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อ