อากาศร้อนจนไม่อยากทำอะไร ทำความรู้จัก Summer Depression

อากาศร้อนจนไม่อยากทำอะไร ทำความรู้จัก Summer Depression

อากาศร้อนจนไม่อยากทำอะไร ทำความรู้จัก Summer Depression
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฤดูร้อนส่วนใหญ่มักเป็นฤดูแห่งความสนุกภายใต้แสงอาทิตย์ที่เจิดจ้า การออกไปแฮงค์เอาท์ที่ทุกคนรอคอยโดยเฉพาะการเที่ยวทะเล ปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนแบบไม่มีหยุด สนุกฤดูร้อนแต่กลับจะรู้สึกเหงาหรือเศร้าในฤดูหนาว แต่สำหรับบางคนแล้วกลับกัน อาจรู้สึกไม่อยากทำอะไรทั้งนั้นแม้อากาศจะเหมาะแก่การแช่ตัวในน้ำทะเลหรือนอนอาบแดดแค่ไหนก็ตาม ซึ่งเป็นสัญญาณของ Summer Depression

อาการซึมเศร้าเมื่อเข้าฤดูร้อน (Summer Depression)

เมื่อถึงฤดูร้อนบางคนอาจรู้สึกไม่อยากทำอะไร ไม่มีสมาธิจะโฟกัสกับงาน อะไรที่เคยชอบก็ไม่ได้อยากทำเหมือนแต่ก่อน ไม่อยากพบเจอผู้คน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของอาการซึมเศร้าเมื่อเข้าฤดูร้อน หรือ Summer Depression จะคล้าย ๆ กับบางคนที่รู้สึกเหงา หรือเศร้าในช่วงฤดูหนาวของปีนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของ Summer Depression นั้นยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่แพทย์คาดว่าเกิดจากนาฬิกาชีวิตถูกรบกวนด้วยแสงแดด ความชื้น และเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน

ซึ่งอาการซึมเศร้าตามฤดูนี้มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า SAD หรือ Seasonal Affective Disorder มักจะเกิดได้ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นในปลายฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน เรียกได้ว่าเกิดได้ทุกฤดูตามสภาพอาการและการตอบสนองของแต่ละบุคคล

อาการที่เป็นสัญญาณของซึมเศร้าในฤดูร้อน

  • ปัญหาในการนอนไม่หลับ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดลง
  • ความวิตกกังวล หงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น

หรืออาการอื่น ๆ เช่น รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่มีสมาธิ เก็บตัว หมกมุ่นกับเรื่องความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะอาการ SAD สามารถหายขาดได้หากรักษาถูกวิธี หรือหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าระยะยาว (Major Depression) ได้

แม้ภาวะ SAD พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป

  • เพศหญิง เนื่องจากภาวะนี้มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นวัยที่พบภาวะ SAD ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น
  • ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์
  • คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะ SAD
  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร

วิธีรับมือกับความเศร้าในช่วงฤดูร้อน

สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับอาการดังกล่าว สามารถรับมือได้ง่าย ๆ เบื้องต้นด้วยตัวเอง คือ

พักผ่อนให้เพียงพอ

เป็นอีกฤดูที่มีเวลาหยุดยาวเพื่อให้ได้สังสรรค์ แต่หากเราไม่ได้รู้สึกอยากออกไปพบปะผู้คน ให้ใช้เวลาเหล่านี้ในการรีชาร์จร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา เพื่อทำให้ร่างกายได้จัดตารางเวลาการนอนได้

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นอีกวิธีที่ช่วยได้อย่างมาก แต่ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด และอากาศที่ร้อนมากเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย สบายตัว

ทานอาหารที่มีประโยชน์

การทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพช่วยส่งผลให้ร่างกายเกิดความสมดุล การทำงานภายในไม่ติดขัด ควรเน้นทานผักผลไม้ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายด้วย

นอกจากนี้อาจหาวิธีที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นจากการตกอยู่ในห้วงของความเศร้า เช่น หาหนังที่ชอบดู ฟังเพลง นั่งสมาธิ เป็นต้น

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่ช่วยป้องกันภาวะ SAD ได้อย่างแน่นอน แต่หากมีอาการข้างต้นควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาเพื่อไม่ให้อาการแย่ลงจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook