10 วิธีออกจากความเครียดสำหรับคนวัยทำงาน

10 วิธีออกจากความเครียดสำหรับคนวัยทำงาน

10 วิธีออกจากความเครียดสำหรับคนวัยทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เมื่อเดือน ม.ค. 2566 พบวัยแรงงานอายุ 20-59 ปี ขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 กว่า 5,989 สาย จากทั้งหมด 8,009 สาย สะท้อนความต้องการวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต โดยสาเหตุหรือต้นกำเนิดความเครียดในการทำงาน

โดยทั่วไปที่พบบ่อยอย่างเช่น เงินเดือนน้อย ปริมาณงานมากเกินไป โอกาสในการเติบโตหรือความก้าวหน้ามีน้อย งานที่ไม่มีส่วนร่วมหรือท้าทาย ขาดการสนับสนุนทางสังคม ควบคุมการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานได้ไม่เพียงพอ ความต้องการที่ขัดแย้งกันหรือความคาดหวังด้านประสิทธิภาพที่ไม่ชัดเจน เป็นต้น

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียดเรื่องงาน ในทางร่างกาย ความเครียดทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น กล้ามเนื้อตึงตัวเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน เช่น ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย นอนไม่หลับ และเกิดปัญหาเกี่ยวกับผิว ในระยะยาวอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โรคอัลไซเมอร์ ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน และมะเร็ง

ในทางจิตใจ ความเครียดทำให้หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ความจำและการตัดสินใจแย่ลง ไม่สามารถจัดการปัญหาที่รุมเร้าได้ หมดกำลังใจ มองโลกในแง่ร้าย และวิตกกังวล ในระยะยาวอาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย

ทั้งนี้พฤติกรรมจากความเครียด อาจแสดงออกดังนี้ มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดใส่คนรอบข้าง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความคิดสร้างสรรค์น้อยกว่าปกติ มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน เกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน เมินเฉยต่อสิ่งรอบข้าง การลาหรือขาดงานบ่อย ลาออกจากงานและหลีกหนีจากสังคมนอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ ซึ่งทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง

ซึ่งกรมสุขภาพจิต มีข้อแนะนำ 10 ประการสำหรับวัยทำงานเพื่อดูแลสุขภาวะของตนเองในการทำงาน ดังนี้

  1. ทบทวนถึงสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ชื่นชมข้อดีของตนเองและผู้อื่น พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความสุข
  2. มีอารมณ์ขันและส่งยิ้มให้กันอยู่เสมอ
  3. กล่าวคำขอบคุณให้เป็นนิสัย และขอโทษเมื่อทำผิด
  4. ตั้งเป้าหมายถึงสิ่งที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข และลงมือทำให้สำเร็จ
  5. หยุดคิดเล็กคิดน้อย ยอมรับข้อบกพร่องของผู้อื่น
  6. จัดสรรเวลาให้สมดุล ตามหลัก 8-8-8 คือทำงาน 8 ชั่วโมง เวลาที่เหลืออีก 2 ส่วนคือการนอนหลับและให้เวลากับครอบครัว
  7. ใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ช่วยคลายความเครียด นอนหลับดีขึ้น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด
  8. ออฟไลน์ออกจากโลกโซเชียล แล้วหันมาพูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคนใกล้ชิดและคนรอบข้าง
  9. ทำงานอดิเรกที่ชอบหรือทดลองทำอะไรใหม่ ๆ
  10. ยึดหลักความพอเพียงในการดำเนินชีวิต พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ผลวิจัยยืนยันว่าคนทำงานที่มีความสุขจะเพิ่มผลผลิตมากกว่าคนทำงานที่ไม่มีความสุขถึงร้อยละ 20
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook