ทำความรู้จักอาการ Textrovert คุยแชตเก่ง แต่พอเจอหน้าไปไม่ถูก

ทำความรู้จักอาการ Textrovert คุยแชตเก่ง แต่พอเจอหน้าไปไม่ถูก

ทำความรู้จักอาการ Textrovert คุยแชตเก่ง แต่พอเจอหน้าไปไม่ถูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีใครรู้สึกว่าตัวเองพิมพ์เก่ง แชตเก่งในโลกออนไลน์แต่กลับเขินอายในชีวิตจริง เวลาต้องเจอหน้าใครไหม มันมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกอาการประมาณนี้อยู่คือคำว่า Textrovert

“นักเลงคีย์บอร์ด ต่อหน้าไม่กล้าบอก แต่ถ้ามีคีย์บอร์ด จะกล้าพิมพ์ออกไป”

ท่อนหนึ่งจากเพลงนักเลงคีย์บอร์ดของ STAMP น่าจะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า Textrovert เพราะนักเลงคีย์บอร์ดในเพลงนี้ ไม่ได้หมายถึงคนที่ใช้โซเชียลพิมพ์หาเรื่องคนอื่นไปทั่ว แต่หมายถึงความกล้าเมื่อพิมพ์คุยแต่พอเจอตัวจริงไม่กล้ามากกว่า

เข้าใจ Textrovert

เข้าใจกันก่อนว่า Textrovert นั้นไม่ใช่อาการทางจิตหรือเป็นสภาวะอะไรที่ต้องกังวล มันคือคำศัพท์ที่เอามาใช้อธิบายพฤติกรรมมากกว่า

คำว่า Textrovert ใช้อธิบายพฤติกรรมของคนที่สามารถพิมพ์ ตั้งสถานะ พูดคุย อะไรได้ยาวๆ ไหลลื่น กล้าพิมพ์ กล้าชวนคุย แต่เมื่อไม่ได้อยู่ในโซเชียลมักจะเงียบๆ ไม่ค่อยพูดค่อยจา ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไรออกมา เรียกง่ายๆ ว่า แชตเก่ง ถ่ายทอดความรู้สึกผ่านตัวอักษรได้ดีกว่าพูดต่อหน้า

ที่มาของคำว่า Textrovert

ที่มาของคำนี้คาดว่าน่าจะมาจากนิยายของ Lindsey Summers เพราะชื่อหนังสือก็ชื่อว่า Textrovert เนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับ เด็กมปลายที่เกิดเหตุการณ์มือถือสลับเครื่องกัน เลยต้องคุยกันผ่านข้อความ แล้วบังเอิญไอ้การคุยผ่านข้อความทำให้เด็กม.ปลายทั้งสองคนรู้สึกได้เป็นตัวของตัวเอง มากกว่าตอนที่คุยต่อหน้า

Textrovert นับว่าเป็นคำที่น่าสนใจแม้มันจะดูไม่ได้ส่งผลอะไรเยอะ แต่ก็ควรรู้ไว้สักหน่อยเพราะจากประสบการณ์และจากการสอบถามคนรอบตัวก็มีอยู่จริงๆ คนที่รู้สึกว่าทำงาน ชอบคุยผ่านการพิมพ์ รู้สึกว่าสื่อสารได้รู้เรื่องกว่า แล้วคุณละเป็น Textrovert รึเปล่า?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook