ไม่จำเป็นต้องหลับก็ฝันกลางวันได้ มารู้จัก ‘โรคฝันกลางวัน’ Maladaptive Daydreaming
Thailand Web Stat

ไม่จำเป็นต้องหลับก็ฝันกลางวันได้ มารู้จัก ‘โรคฝันกลางวัน’ Maladaptive Daydreaming

ไม่จำเป็นต้องหลับก็ฝันกลางวันได้ มารู้จัก ‘โรคฝันกลางวัน’ Maladaptive Daydreaming
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยปกติคนเราถ้าพูดถึงฝัน ก็ต้องนึกถึงการนอนหลับพักผ่อนกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะฝันเรื่องสั้น เรื่องยาว ฝันดี หรือฝันร้าย ก็มักจะเกิดในตอนที่เรากำลังหลับ แต่การฝันกลางวันนี้ไม่จำเป็นต้องหลับเพื่อให้ฝัน ก็สามารถมีอาการของโรคฝันกลางวันได้

โรคฝันกลางวันคืออะไร?

โรคฝันกลางวัน หรือ Maladaptive daydreaming จะมีอาการคล้ายกับโรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ การที่เราถูกดึงเข้าสู่โลกของจินตนาการที่เราสร้างขึ้น สร้างเรื่องราว ภาพเสมือนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่เราหลับอยู่ เราจะรู้ตัวว่าสิ่งนี้คือภาพที่คิด แต่ไม่สามารถดึงตัวเองกลับจากความนึกคิดหรือจินตนาการในขณะนั้นได้

เจย์น บีเกลเซน (Jayne Bigelsen) นักวิจัยสาวชาวอเมริกัน เริ่มจินตนาการถึงซีรีส์ต่าง ๆ ที่เธอชอบ แต่แทนที่เธอจะรอดูตอนต่อไป เธอกลับสร้างตอนใหม่ขึ้นมาในหัว เธอบอกว่าภาพในหัวเธอนั้นมันชัดเจนมากราวกับกำลังนั่งดูซีรีส์จริงๆ แถมบางครั้งมันยังสนุกกว่าเรื่องต้นฉบับอีกด้วย

เป็นตัวอย่างของการฝันกลางวันที่เกิดขึ้น ถ้าพูดโดยง่ายคือเหมือนกับเรากำลังนั่งคิดภาพในหัว แต่มันดันชัดซะจนเหมือนจริง

สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการฝันกลางวัน

  • อาการฝันกลางวันที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นการจินตนาการแต่มีผลมาจากเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่ไปกระตุ้นให้เกิดการฝันตอนกลางวัน เช่น
  • หัวข้อที่สนทนา
  • สิ่งเร้าต่างๆ เช่นเสียงหรือกลิ่นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น ๆ
  • ความรุนแรงในวัยเด็ก การเคยเจอความรุนแรงในวัยเด็ก เช่น การถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ อาจทำให้คุณสร้างโลกอีกใบขึ้นมาเพื่อหลบหนีจากความเจ็บปวดนั้น

และสันนิษฐานว่าโรคทางจิตอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) มีส่วนทำให้เกิดอาการของโรคฝันกลางวัน

อันตรายของโรคฝันกลางวัน

อาจจะมองว่าแค่การจินตนาการภาพต่าง ๆ ดูน่าจะสนุกมากกว่า แต่ภายใต้การนึกคิดเหล่านั้นส่งผลต่อเรามากกว่าที่คิด รีบสังเกตตัวเองให้เร็วโดยหากมีอาการเหล่านี้ คุณเข้าข่ายโรคฝันกลางวัน

Advertisement
  1. ใจลอยเป็นประจำ อาจจะมองว่าเป็นการใจลอยแบบปกติแต่หากรู้สึกว่าบ่อยเกินไปและนานเกินไป อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคฝันกลางวันได้
  2. ย้ำคิดย้ำทำ อันนี้อันนั้นทำแล้วหรือยัง การเดินวนไปวนมา การโยนของในมือไปมา หรือหมุนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในมือ ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณได้
  3. เห็นภาพคมชัดระดับ HD ผู้ที่เป็นโรคฝันกลางวันมักจะเห็นภาพในหัวชัดเจนจนน่าตกใจ บางครั้งก็จมอยู่กับมันได้นานหลายนาที บางคนถึงขั้นหลายชั่วโมง ราวกับคุณกำลังนั่งดูหนังอยู่ในโรงภาพยนตร์
  4. เพ้อฝันเกินความจริง แม้ว่าคุณจะหลงใหลการฝันกลางวันมากเพียง แต่ยังมีสติรู้ตัว และสามารถแยกแยะได้อยู่เสมอว่ามันคือความฝัน แต่ไม่สามารถหยุดความคิดนั้นได้เลย

โรคนี้ยังไม่ได้จัด เป็นโรคทางจิตเวช แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีวิธีการจัดการเพื่อขจัดอาการฝันกลางวันออกไปจากเราได้

วิธีป้องกัน และบรรเทาอาการฝันกลางวัน

  1. จดบันทึก สิ่งที่เราคิด เพื่อเป็นการกลั่นกรองสิ่งในหัวออกมาเป็นตัวหนังสือและให้โฟกัสกับการถ่ายทอดลงบนกระดาษมากกว่าการจินตนาการเป็นภาพ เพื่อป้องกันการหลุดเข้าไปในห้วงของจินตนาการ
  2. ใช้ประโยชน์จากความคิด ด้วยจินตนาการอันล้ำเลิศโดยสามารถสร้างเรื่องราว ตัวละครออกมาได้สมจริงสุด ๆ บางทีอาจนำมาสู่การนำไปเขียนนิยาย บอกเล่าเรื่องราว นำความคิดเหล่านั้นมาสร้างเป็นผลงานของตัวเอง
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า หากเรารู้ว่าสิ่งไหนที่กระตุ้นให้เราเกิดอาการฝันกลางวันขึ้น ให้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้น ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ บทสนทนาที่จะทำให้อาการกำเริบ
  4. ทำตัวให้ไม่ว่าง ลองหาเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำอยู่ตลอด เพื่อไม่ให้สมองเกิดการคิดหรือจินตนาการผ่านช่องว่างนั้น ๆ จนทำให้หลุดเข้าไปในโลกแห่งความฝัน
  5. บอกเล่าให้คนอื่นได้ฟัง การบอกเล่าถึงอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้คนเข้าใจเราได้มากขึ้นและอาจมาช่วยเรียกสติกลับมาจากโลกความฝัน เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ อีกทั้งอาจเจอคนที่มีอาการเหมือนกัน เพื่อให้คุณและเขาได้รู้ว่าไม่ได้มีแค่ตัวคนเดียว
  6. ปรึกษาจิตแพทย์ หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่าเรามีอาการดังกล่าว และยากเกินควบคุม ควรเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางออกและแนวทางการรักษาตามอาการ

‘โรคฝันกลางวันหากเกิดอย่างรุนแรงและทำให้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ไม่สนใจความจริง’

หากมองผิวเผินอาจจะดูไม่มีอะไรไปกว่าการเหม่อลอยปกติ แต่อย่าชะล่าใจเพราะมันร้ายแรงกว่าที่คิด ทั้งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกวิธีและก้าวออกมาจากโลกของจินตนาการได้ทัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้