เทรนด์พกขวดน้ำ แก้วเก็บความเย็น กระแสรักษ์โลกที่ช่วยลดการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน

เทรนด์พกขวดน้ำ แก้วเก็บความเย็น กระแสรักษ์โลกที่ช่วยลดการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน

เทรนด์พกขวดน้ำ แก้วเก็บความเย็น กระแสรักษ์โลกที่ช่วยลดการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในภาวะที่คนทั้งโลกกำลังประสบกับปัญหาภาวะโลกร้อน การหันมาใช้วัสดุทดแทนแทนการใช้พลาสติกเป็นสิ่งที่หลายองค์กรกำลังรณรงค์กันอย่างหนัก และแก้วเก็บความเย็นก็นับเป็นหนึ่งในทางเลือกที่หลายๆ คนกำลังให้ความสนใจ จนทำให้มีโรงงานผลิตแก้วเก็บความเย็นเกิดขึ้นมากมาย วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่า การหันมาเลือกใช้กระบอกน้ำส่วนตัวหรือแก้วเก็บความเย็นแทนแก้วพลาสติกนั้นนอกจากจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังมีส่วนช่วยอะไรอีกบ้าง รวมไปถึงหลักการทำงานของแก้วเก็บความเย็นและวิธีดูแลทำความสะอาด เมื่อต้องเจอกับปัญหากลิ่นติดแก้ว เพื่อให้แก้วสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน

แก้วเก็บความเย็นทำงานอย่างไร ทำไมถึงเก็บอุณหภูมิได้นาน

ทุกคนเคยสงสัยไหม ว่าทำไมแก้วเก็บความเย็นถึงกักเก็บอุณหภูมิได้ยาวนานกว่าแก้วสเตนเลสแบบทั่วไป ทั้งที่วัสดุของแก้วก็เป็นสเตนเลสเหมือนกัน สิ่งที่ทำให้แก้วเก็บความเย็นแตกต่างจากแก้วทั่วไปคือจะมีลักษณะเป็นสเตนเลสสองชั้น ระหว่างชั้นของสเตนเลสเป็นสุญญากาศ ป้องกันการถ่ายเทของอุณหภูมิ ช่วยให้อุณหภูมิภายในแก้วไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ได้นานกว่าปกติ ซึ่งสเตนเลสที่ใช้จะเป็นสเตนเลสสตีล 304 food grade มีฝาปิดที่เป็นซีลซิลิโคน สามารถใส่อาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วจะกักเก็บความร้อนได้ประมาณ 6 ชั่วโมง และกักเก็บความเย็นได้ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมง นั่นเอง

วิธีดูแลทำความสะอาด ลดกลิ่นกวนใจ สำหรับแก้วเก็บความเย็น

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถทำความสะอาดแก้วเก็บความเย็นได้โดยวิธีปกติทั่วไปเลย แต่เนื่องจากวัสดุที่ใช้เป็นสเตนเลส แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็อาจทำให้เกิดคราบสกปรกที่ทำความสะอาดได้ยาก เราจึงได้รวบรวมทริกทำความสะอาดแก้วเก็บความเย็นให้สะอาดและยืดอายุการใช้งานให้ยืนยาวมาฝากกัน ดังนี้

ใช้น้ำส้มสายชู คุณสมบัติอย่างหนึ่งของน้ำส้มสายชูคือสามารถทำความสะอาดพื้นผิวสเตนเลสได้ดี โดยเราสามารถล้างแก้วเก็บความเย็นด้วยวิธีปกติก่อน แล้วจึงใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำร้อนในอัตราส่วนเท่ากัน แล้วปล่อยทิ้งไว้ในแก้วประมาณ 15-30 นาที จากนั้นให้ล้างแก้วอีกรอบ
ใช้เบกกิ้งโซดา หลายคนคงจะเคยเจอปัญหากลิ่นติดแก้ว ไม่ว่าจะล้างแก้วสะอาดแค่ไหน ก็ยังรู้สึกว่ามีกลิ่นติดอยู่ตลอด ลองใช้เบกกิ้งโซดาประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่น แล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก็จะช่วยกำจัดกลิ่นเหล่านั้นได้

ใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาด หากเป็นช่วงเวลาที่เร่งรีบ และไม่มีเวลาทำความสะอาดแก้วเก็บความเย็น เราสามารถใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดได้ โดยใส่ลงไปในกระบอกน้ำแล้วเทน้ำอุ่นเติมลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 10-30 นาที จากนั้นเขย่าขวดให้ทั่ว แล้วล้างตามด้วยน้ำเปล่าได้เลย

หมั่นล้างฝาปิดซีลซิลิโคนทุกครั้ง รู้หรือไม่ว่าจุดสกปรกที่สุดของแก้วเก็บความเย็นก็คือบริเวณซิลิโคนฝาปิด ทุกครั้งที่ทำความสะอาด เราควรทำความสะอาดบริเวณฝาซิลิโคนด้วยทุกครั้ง โดยสามารถถอดซีลยางที่ฝาออก และล้างตามขอบร่องยางด้านในให้สะอาดด้วยแปรงขัด แล้วจึงปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นอับและเชื้อรา

รวมเหตุผลทำไมถึงควรมีกระบอกน้ำ | แก้วเก็บความเย็น พกติดตัว

ช่วยลดขยะพลาสติก

แน่นอนว่าการพกแก้วน้ำหรือขวดน้ำประจำติดตัว สามารถช่วยลดขยะพลาสติก อย่างเช่นพวกแก้วพลาสติก ขวดพลาสติก หรือหลอดพลาสติกได้อย่างมากเลยทีเดียว ลองคิดว่าวันนึงเราต้องซื้อน้ำหวานหรือเครื่องดื่มอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว แต่ถ้าเราพกแก้วเก็บความเย็นเอาไว้ใส่เครื่องดื่มเหล่านี้แทนการรับแก้วจากทางร้าน ระยะเวลา 1 เดือน เราสามารถลดแก้วพลาสติกและหลอดพลาสติกได้มากถึง 20 – 30 ชิ้นเลย

ประหยัดค่าใช้จ่าย

เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นเวลาต้องออกไปข้างนอก หลายๆ ครั้งคนที่ไม่มีแก้วเก็บความเย็นหรือกระบอกส่วนตัว ต้องหาซื้อน้ำดื่มจากข้างนอก แต่การมีขวดน้ำหรือแก้วน้ำเป็นของตัวเอง เราสามารถเติมน้ำก่อนออกจากบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อจากข้างนอก จึงถือเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

ช่วยเก็บอุณหภูมิเครื่องดื่มได้อย่างยาวนาน

ใครที่มีเครื่องดื่มสุดโปรด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มเย็นที่ต้องใส่น้ำแข็ง หรือเครื่องดื่มร้อนที่ต้องควบคุมอุณหภูมิเพื่อความอร่อยของรสชาติ หากทานไม่หมดหรือวางทิ้งไว้ ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มจืดชืดลง หมดความอร่อยได้ง่ายๆ แต่หากเลือกใช้แก้วเก็บความอุณหภูมิ เครื่องดื่มก็จะยังคงอุณหภูมิได้นานกว่า 6 ชั่วโมง น้ำแข็งที่เคยละลายเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกเพียงไม่นาน เมื่ออยู่ในแก้วเก็บความเย็นก็สามารถอยู่ได้ถึง 6 -8 ชั่วโมง ทีนี้ก็ไม่ต้องคอยรีบดื่มให้หมดเพราะกลัวรสชาติเสียแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook