เฉลยแล้ว! ทำไมใช้คำว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" ทั้งๆ ที่ลอยกระทงในเดือนสิบเอ็ด
ประเพณีลอยกระทงนั้นเรียกว่าเป็นหนึ่งในประเพณีไทยที่มีมาอย่างช้านาน โดยจุดประสงค์หลักของวันลอยกระทงนั้นก็คือเพื่อขอขมาพระแม่คงคานั่นเอง ซึ่งนอกจากประเพณีลอยกระทงแล้ว เราก็ยังมีเพลง ลอยกระทง ที่มักจะนำมาร้องกันในวันนี้อีกด้วย
แล้วเคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมเพลงลอยกระทงนั้นร้องว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" ทั้งๆ ที่ลอยกระทงในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเดือนสิบเอ็ด ในวันนี้เราก็ได้ไปหาคำตอบมาไขข้อสงสัยเพื่อนๆ กันแล้ว ว่าทำไมถึงใช้คำว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" ทั้งๆ ที่ลอยกระทงในเดือนพฤศจิกายน
โดยวันลอยกระทง 2566 ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567
เฉลยแล้ว! ทำไมใช้คำว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" ทั้งๆ ที่ลอยกระทงในเดือนพฤศจิกายน
สาเหตุที่เพลงลอยกระทง บอกว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" ทั้งๆ ที่ลอยกระทงในเดือนพฤศจิกายน นั้น น่าจะมีสาเหตุมาจาก 2 ประการ ดังนี้
- "วันเพ็ญ" หมายถึง คืนวันพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ค่ำของทุกเดือน ในกรณีของลอยกระทง ตรงกับวันที่ 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งจะตรงกับเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ
- เพลงลอยกระทง เป็นเพลงเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในสมัยนั้น ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ดังนั้น จึงมีการอ้างอิงถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ตามปฏิทินจันทรคติ
ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ปฏิทินสุริยคติเป็นหลัก แต่เพลงลอยกระทงยังคงใช้คำว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง" อยู่ เนื่องจากเป็นบทเพลงที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และเป็นที่จดจำของผู้คนทั่วไป