ผลิตภัณฑ์สุขภาพใดบ้างที่จำเป็นต้องมี อย.
ข่าวการบุกทลายโรงงานหรือบริษัทผลิตอาหารปลอม ยาปลอม เครื่องสำอางปลอม มีให้เห็นตามหน้าข่าวอยู่ทุกวัน จนทำให้ใครหลายคนเกิดสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราซื้อมาไว้อุปโภคบริโภคในบ้านของตัวเองนั้น เป็นของจริงหรือของปลอมกันแน่ ถ้านำมากินนำมาใช้แล้วจะเกิดผลลัพธ์อะไรกับตัวเองบ้างก็ไม่รู้ นี่เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ
แต่จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพในประเทศไทย จะมีมาตรฐานที่ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ สามารถมั่นใจได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราซื้อมานั้น สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัยมาแล้ว ตามหลักเกณฑ์ของ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)” โดยจะมีการออกเป็นเครื่องหมายรับรองว่าผ่านการอนุญาตหรือมีการนำผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เข้ามาจดแจ้งกับทาง อย. แล้ว
อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่ก็จะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง ฉะนั้น เครื่องหมาย อย. จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ผู้บริโภครับทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าสินค้าที่เราเลือกมีมาตรฐาน นอกจากนี้ หากใครคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับการขอเครื่องหมาย อย. ไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ทำเรื่องขอให้ถูกต้อง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายนี้
สัญลักษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาตหรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว
เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน โดยจะต้องผ่านการพิจารณาในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่าย ตรงตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
1. สัญลักษณ์สารบบอาหาร หรือสัญลักษณ์ อย. ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ สัญลักษณ์นี้จะมีในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งจะต้องมีตัวเลข 13 หลัก โดยแต่ละหลักแสดงรายละเอียด ดังนี้
2. สัญลักษณ์ทะเบียนยา จะพบในผลิตภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย หรือยาแผนโบราณ ก็จะมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงไว้บนฉลากเสมอ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่ายานี้ผ่านการอนุญาต หรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้
โดยตัวอักษร A-N จะใช้แทนประเภทของยา มีความหมายดังนี้
A-F ยาแผนปัจจุบัน
- A คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ
- B คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ
- C คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ
- D คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ
- E คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ
- F คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ
G-N ยาแผนโบราณ
- G คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ
- H คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ
- K คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ
- L คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ
- M คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ
- N คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ
3. สัญลักษณ์เลขที่ใบรับแจ้ง จะพบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นเลขที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้ดำเนินการแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าแล้ว โดยจะมีตัวเลข 10 หลัก หรือ 13 หลัก โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้
การแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์
เคยสังเกตหรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ หรือวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จะไม่ได้มีเครื่องหมาย อย. บนฉลากทุกประเภท โดยจะมีการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดต้องมีเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์ใดที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย.
- ผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร โดยมีตัวเลข 13 หลักในเครื่องหมาย อย. สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ไม่กำหนดให้ต้องขอเลข อย. แต่สามารถยื่นขอได้ โดยสถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต ต้องแสดงเลขรับจดแจ้งว่าผลิตหรือนำเข้า แจ้งรายการละเอียดการอนุญาต ในเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจเชื้อ HIV และคอนแทคเลนส์
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน โดยจะมีตัวอักษร วอส. ตามด้วยเลขทะเบียนและปี พ.ศ. ในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกัน/กำจัด/ไล่แมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.
- ผลิตภัณฑ์ยา แต่ต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา
- เครื่องสำอาง แต่ต้องแสดงเลขที่รับจดแจ้ง โดยกำหนดให้เป็นตัวเลข 10 หรือ 13 หลัก และห้ามนำเลขมาใส่ในเครื่องหมาย อย.
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการรายละเอียด แต่ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน แต่เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง/ปี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์วัตถุต่าง ๆ ที่มีสารที่ อย. กำหนด
อาหารชนิดใดบ้างที่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.
การแสดงเครื่องหมาย อย. สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร หรือที่เรียกว่า สัญลักษณ์สารบบอาหาร คือการแสดงเครื่องหมายหรือรูปแบบของอาหารที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร อนุญาตใช้ฉลากอาหาร จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแล้ว ประกอบด้วยเครื่องหมายและเลขสารบบอาหาร โดยข้อมูลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมระบุไว้ ดังนี้
อาหารที่ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะ มี 17 ชนิด ได้แก่
- นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
- อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
- อาหารเสริม สำหรับทารกและเด็กเล็ก
- นมโค
- นมปรุงแต่ง
- นมเปรี้ยว
- ไอศกรีม
- อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- ผลิตภัณฑ์ของนม
- น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- น้ำแข็ง
- อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
- สีผสมอาหาร
- วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร
- วัตถุเจือปนอาหาร
- โซเดียมไซคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมไซคลาเมต
กลุ่มที่ 2 อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มี 31 ชนิด ได้แก่
- น้ำมันและไขมัน
- น้ำมันถั่วลิสง
- เนย
- เนยเทียม
- เนยกี
- อาหารกึ่งสำเร็จรูป
- น้ำมันเนย
- น้ำปลา
- น้ำส้มสายชู
- ครีม
- น้ำมันปาล์ม
- น้ำมันมะพร้าว
- ชา
- น้ำนมถั่วเหลือง ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- กาแฟ
- แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- เครื่องดื่มเกลือแร่
- รอยัลเยลลีและ ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี
- น้ำผึ้ง
- น้ำแร่จากธรรมชาติ
- เนยแข็ง
- ซอสบางชนิด
- น้ำที่เหลือ จากผลิตภัณฑ์ โมโนโซเดียมกลูตาเมต
- ไข่เยี่ยวม้า
- ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง
- ข้าวเติมวิตามิน
- ช็อกโกแลต
- เกลือบริโภค
- อาหารที่มีสารพิษตกค้าง
- อาหารที่มีสารปนเปื้อน
- อาหารที่มีกัมมันตรังสี
กลุ่มที่ 3 อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มี 14 ชนิด ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
- แป้งข้าวกล้อง
- น้ำเกลือปรุงอาหาร
- ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- ขนมปัง
- หมากฝรั่งและลูกอม
- วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี
- กำหนดกรรมวิธีการผลิตอาหารซึ่งมีการใช้กรรมวิธีการฉายรังสี
- ผลิตภัณฑ์กระเทียม
- วัตถุแต่งกลิ่นรส
- อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือมาตรฐานของอาหารรวมอยู่ในภาชนะบรรจุ
- อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้
- อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ
การแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้ต้องมีฉลากแสดง อย. ได้แก่
1. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่
- เครื่องปรุงรสและน้ำจิ้ม
- น้ำพริกสำเร็จรูปที่รับประทานได้ทันที
- ผลิตภัณฑ์อบกรอบ ทอด กวน ตาก หมัก ดอง จากผลไม้
- ผลิตภัณฑ์ปรุงสุกจากสัตว์
- ขนมและอาหารขบเคี้ยว
- ลูกอมและทอฟฟี
2. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และมีรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อาหารไว้ให้ตรวจสอบ ได้แก่
- น้ำส้มสายชู
- น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร
- ไข่เยี่ยวม้า
- กาแฟ ชนิดคั่วเมล็ด/ผงสำเร็จรูป/ปรุงสำเร็จ
- ชา ชนิดชาใบ/ผงสำเร็จรูป/ปรุงสำเร็จ
- น้ำพริกแกง
- เครื่องปรุงโปรตีนของถั่ว
- แยม เยลลี และมาร์มาเลด
- อาหารกึ่งสำเร็จรูป
- ลูกอมและทอฟฟี
3. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่
- เครื่องดื่มชนิดน้ำและผงที่ทำจากพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาลสด เครื่องดื่มรังนก กาแฟ ถั่วเหลือง
- อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุขวดแก้วที่ฝามียางรองด้านใน อาหารที่บรรจุกล่อง ซอง ถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ปิดผนึก
- นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น นมโค นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว ไอศกรีม เนยแข็ง เนย
- น้ำดื่ม/น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
นอกจากนี้ยังมี อาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มนี้ ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ แต่ต้องแสดงฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
- ผลิตภัณฑ์จากพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดถั่วแห้ง งา พริกแห้ง ข้าวเกรียบ (ไม่ทอด) ธัญพืชชนิดบด ผง พริกป่น
- ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ได้แก่ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รังนกแห้ง ไข่เค็มดิบ กะปิ ปลาร้าผง/ดิบ ปลาส้ม น้ำบูดู น้ำผึ้ง (ที่ผลิตจากสถานที่ผลิตไม่เป็นโรงงาน)