ทำความรู้จัก "วันอธิกวาร" หรือ "Leap Day" ในปี 2024 วันพิเศษที่เกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี

ทำความรู้จัก "วันอธิกวาร" หรือ "Leap Day" ในปี 2024 วันพิเศษที่เกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี

ทำความรู้จัก "วันอธิกวาร" หรือ "Leap Day" ในปี 2024 วันพิเศษที่เกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ หรือที่เรียกว่า "วันอธิกวาร" (Leap Day) เป็นวันพิเศษที่โดยปกติจะมีเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้นในรอบ 4 ปีตามปฏิทิน ทำให้ปีดังกล่าวมีจำนวนวันรวม 366 วัน แทนที่จะเป็น 365 วัน โดยเราเรียกปีที่มี 366 วันว่า "ปีอธิกสุรทิน"

ในปี 2024 นี้ Google Doodle ฉลองวันพิเศษนี้ด้วยภาพกบกระโดดข้ามเดือน เปรียบเสมือนการข้ามผ่านกุมภาพันธ์ไปสู่มีนาคม

รู้จัก วันอธิกวาร กับ ปีอธิกสุรทิน

  • วันที่ 29 กุมภาพันธ์ คือ Leap Day หรือ วันอธิกวาร

  • ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน หรือปีที่มี 366 วัน คือ Leap Year หรือ ปีอธิกสุรทิน

ทำไมต้องมีวันอธิกวาร หรือ Leap Day

เนื่องจากโลกใช้เวลา 365.24218 วัน ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ปฏิทินจึงต้องเพิ่ม 1 วันทุกๆ 4 ปี เพื่อรักษาให้จำนวนวันสอดคล้องกับวิถีการโคจร

วิธีการคำนวณปีอธิกสุรทิน หรือ ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน คือ

ปฏิทินจูเลียนได้อ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคติหรือดูจากตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และก่อนคำนวณปฏิทินนี้ขึ้น ชาวโรมันผู้ซึ่งเป็นคนพวกแรกที่คำนวณปฏิทินขึ้นมาใช้อย่างเป็นระบบ ได้พบว่าโลกใช้เวลาทั้งหมด 365.25 วัน (นับเป็น 1 ปี) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่จะให้ปฏิทินรอบ 1 ปี มี 365 กับเศษอีก 0.25 วัน ก็จะดูแปลกๆ จึงได้แก้ปัญหาว่าให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันไปเรื่อย ๆ จนครบ 4 ครั้งเมื่อไร ก็เท่ากับว่าได้เวลา 0.25 วันเพิ่มขึ้นมาสี่รอบกลายเป็น 1 วันเต็มพอดี และก็ให้เดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นมี 29 วันไปนั่นเอง

วิธีการคิดเพิ่มเติมดูได้ที่นี่ : เฉลยแล้ว! เดือนกุมภาพันธ์ 4 ปี มี 29 วัน ทำไมเดือนกุมภาพันธ์วันไม่เท่าเดือนอื่นๆ

 

29 กุมภาพันธ์มีปีไหนบ้าง

  • ค.ศ. 2000 / พ.ศ. 2543
  • ค.ศ. 2004 / พ.ศ. 2547
  • ค.ศ. 2008 / พ.ศ. 2551
  • ค.ศ. 2012 / พ.ศ. 2555
  • ค.ศ. 2016 / พ.ศ. 2559
  • ค.ศ. 2020 / พ.ศ. 2563
  • ค.ศ. 2024 / พ.ศ. 2567
  • ค.ศ. 2028 / พ.ศ. 2571
  • ค.ศ. 2032 / พ.ศ. 2575
  • ค.ศ. 2036 / พ.ศ. 2579
  • ค.ศ. 2040 / พ.ศ. 2583
  • ค.ศ. 2044 / พ.ศ. 2587
  • ค.ศ. 2048 / พ.ศ. 2591

อ่านเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook