คำวิเศษณ์ คืออะไร หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้ยังไง และ แบ่งเป็นกี่ชนิด
คำวิเศษณ์ หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น
หน้าที่ของ คำวิเศษณ์
- ขยายคำนาม
- ขยายคำสรรพนาม
- ขยายคำกริยา
- ขยายคำวิเศษณ์
- เป็นอกรรมกริยา หรือเป็นกริยาบอกสภาพ
คำวิเศษณ์ แบ่งเป็น 10 ชนิดคือ
- ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง กลิ่น รส อาการ เป็นต้น
- กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ อดีต ปัจจุบัน อนาคตเป็นต้น
- สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่ หรือระยะทาง เช่น บน ล่าง ใกล้ ไกล หน้า หลัง ขวา ซ้าย ใน นอก เหนือ ใต้ เป็นต้น
- ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ มาก น้อย หลาย หมด เป็นต้น
- ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงคำถาม เช่น ใคร ใด อะไร ไหน ทำไม อย่างไร เป็นต้น
- นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความชี้เฉพาะเจาะจง เช่น นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น อย่างนั้น อย่างนี้ ทีเดียว เป็นต้น
- อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความไม่แน่นอน เช่น ใคร อะไร ใด ไหน ทำไม อื่น เป็นต้น (โดยรูปประโยคจะเป็นลักษณะบอกเล่า ไม่ใช่คำถาม)
- ประดิษชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงการขานรับใช้ในการเจรจาโต้ตอบ เช่น จ๊ะ จ๋า ค่ะ ครับ วะ โว้ย ขา เป็นต้น
- ปฏิเสธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงการปฏิเสธ เช่น บ่ ไม่ ไม่ได้ มิได้ หามิได้ เป็นต้น
- ประพันธวิเศษณ์ เป็นวิเศษณ์ที่ใช้เชื่อมความให้เกี่ยวข้องกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ เช่นที่ ฯลฯ