คำมูล คืออะไร หน้าที่ของคำมูล ลักษณะและหน้าที่ของ คำมูล คืออะไร

คำมูล คืออะไร หน้าที่ของคำมูล ลักษณะและหน้าที่ของ คำมูล คืออะไร

คำมูล คืออะไร หน้าที่ของคำมูล ลักษณะและหน้าที่ของ คำมูล คืออะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำมูล คือ หน่วยศัพท์ที่เล็กที่สุดในภาษา เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สามารถแยกศัพท์ย่อยออกได้ เป็นคำที่มีในภาษามาแต่ดั้งเดิม อาจเป็นคำไทยแท้ๆ หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่ตั้งขึ้นใหม่ในภาษาไทยเฉพาะคำ คำเดียว ไม่ได้เกิดขึ้นจากการนำคำที่มีอยู่แล้วมาสร้างคำใหม่ขึ้น เป็นคำที่ยังไม่ได้นำไปประกอบกับคำอื่น อาจเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์และอาจเป็นคำที่มีความหมายหลายอย่างก็ได้

ลักษณะของคำมูล

  • คำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง
  • คำที่มีมาแต่เดิมในภาษา
  • อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์
  • เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน
  • เป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้

หน้าที่ของคำมูล

คำมูลอาจทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้ อาจเป็น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน และอุทาน

คำมูลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

คำมูลพยางค์เดียว คือ คำที่เปล่งเสียงออกมาเพียงครั้งเดียวและมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัว คำมูลพยางค์เดียวบางคำมีความหมายเดียว และบางคำมีหลายความหมาย

  • คำในภาษาไทย เช่น คน ไก่ ไข่ ฉัน เด็ก
  • คำในภาษาจีน เช่น เตี่ย ก๋ง เจ๊ ก๊ก
  • คำจากภาษาอังกฤษ เช่น เมตร เชิ้ต โค้ก เค้ก
  • คำจากภาษาเขมร เช่น แข ขาล เฌอ จาร กราน

คำมูลหลายพยางค์ คือ คำที่ออกเสียงตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป มีความหมายชัดเจน สมบูรณ์ในตัวเอง เป็นคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาอื่น อาจมีความหมายเดียวหรือหลายความหมาย

  • คำในภาษาไทยเช่น ขนม กระถาง ประตู มะละกอ
  • คำที่มาจากภาษาจีน เช่น กุยเฮง ซินแส ตงฉิน
  • คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น โปรแกรม เอเย่นต์ ออฟฟิศ
  • คำที่มาจากภาษาเขมร เช่น ตังหวาย เขนย ฉนำ เสร็จ
  • คำที่มาจากภาษาชวา เช่น มลายู เช่น บุหรง บุหงา บุหลัน วิรังรอง สะตาหมัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook