รู้แล้ว! หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์ ต่างกันอย่างไร ทำไมเรียกไม่เหมือนกัน

รู้แล้ว! หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์ ต่างกันอย่างไร ทำไมเรียกไม่เหมือนกัน

รู้แล้ว! หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์ ต่างกันอย่างไร ทำไมเรียกไม่เหมือนกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับคนไทยเราแล้ว เวลาที่จะหาที่พักแบบระยะยาว คนส่วนใหญ่ก็มักที่จะเรียกรวมๆ ที่พักแบบนี้โดยใช้คำว่าหอพักเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้วที่พักอาศัยแบบห้องเช่าสำหรับประเทศไทยนั้นมีค่อนข้างหลากหลายรูปแบบเลยทีเดียว

วันนี้เราก็จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจว่า หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์ แตกต่างกันอย่างไร เป็นห้องเช่าเหมือนกัน แต่ทำไมถึงเรียกชื่อต่างกัน พิเศษกว่ากันตรงไหน

หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์

รู้แล้ว! หอพัก และ อพาร์ทเม้นท์ ต่างกันอย่างไร ทำไมเรียกไม่เหมือนกัน

หอพัก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542) ได้ระบุเอาไว้ว่า

  • น. ที่พักอาศัยสำหรับนักเรียนนักศึกษา

หอพัก เป็นรูปแบบการบริการห้องพักแบบให้เช่าเป็นรายเดือน มีระดับราคาตั้งแต่ ถูก–ปานกลาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก-น้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับราคา และหน้าตาอาคาร โดยมากรูปแบบของหอพัก มักจะให้บริการกับนักศึกษา หากเป็น หอใน (ภายในสถานศึกษา) ก็จะมีกฎระเบียบเข้มงวด เช่น มีเวลาเปิด-ปิด มีการแยกชาย-หญิง ส่วน หอนอก ที่ให้บริการกับนักศึกษา ก็จะมีกฎระเบียบเช่นเดียวกัน แต่อาจจะยืดหยุ่นกว่า มีหน้าตา มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดูดีกว่า ซึ่งก็จะตามมาด้วยราคาที่แพงกว่าด้วย หอพัก จะลักษณะคล้ายๆ กับอพาร์ทเม้น ที่ระดับต่ำกว่าด้วยขนาดและราคา โดยหอสำหรับนักศึกษานั้น จะให้บริการแก่นักศึกษา ซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และระดับการศึกษาไม่เกินปริญญาตรี

อพาร์ทเม้น ตามพจนานุกรมผังเมือง ฉบับราชบัณฑิตยสภา ได้ระบุเอาไว้ว่า

  • น. ห้องชุดอยู่อาศัย ห้องที่ใช้อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งในอาคารอยู่อาศัยรวม มักมีห้องนอน ห้องน้ำ และส่วนรับประทานอาหาร

อพาร์ทเม้น เป็นรูปแบบอาคารที่มีการให้บริการคล้ายคลึงกับหอพักทุกประการ เป็นการให้เช่ารายเดือน ทำสัญญาเช่าเป็นรายปี บางแห่งอาจมีรายวัน ราคาจะอยู่ในระดับถูก–ปานกลาง เหมือนหอพัก แต่จะเหมาะกับวัยทำงานมากกว่า เพราะไม่มีจำกัดอายุ หรือเพศ อาจมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือไม่มีก็ได้ แต่มักจะไม่เป็นห้องน้ำรวม เพราะลักษณะจะมีความเป็นห้องส่วนตัวมากกว่า โดยกรรมสิทธิ์ทั้งอาคารจะอยู่ที่เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ หลายแห่งจึงมักมีการกำหนดกฎเกณฑ์เข้มงวดที่ผู้เช่าต้องปฎิบัติตาม

นอกจากนี้ห้องเช่าในประเทศไทยยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายประเภท ได้แก่

  • แฟลต เป็นอาคารที่พักอาศัยรวมสำหรับผู้มีรายได้น้อย ระดับคุณภาพ และมาตรฐาน จะอยู่ในลักษณะใกล้เคียงกับอพาร์ทเม้นท์ราคาถูก ขนาดห้องไม่ใหญ่ แต่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมอยู่สำหรับครอบครัว ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง รูปแบบการครอบครองจะเป็นการขายสิทธิการเช่า หรือเป็นการขายขาด คล้ายๆกับคอนโดมิเนียม แต่มีราคาอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง เปรียบเทียบเหมือนเป็นคอนโดมิเนียมสำหรับผู้มีรายได้น้อย
  • คอนโดมิเนียม เป็นอาคารที่อยู่อาศัยแนวสูงรูปแบบหนึ่ง ที่ให้บริการห้องพักในรูปแบบของการซื้อขายขาด และอาจจะมีการเปิดให้เช่าจากเจ้าของ โดยความพิเศษของคอนโด คือห้องที่ซื้อมานี้จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของห้องเลย เท่ากับว่าอาคารทั้งอาคารจะถูกแบ่งกรรมสิทธิ์กันออกไปตามแต่ห้องของแต่ละคน นอกจากนี้ พื้นที่ทางเดิน สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง รวมถึงที่ดินที่ตั้งอาคาร ก็เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของห้องทุกคนที่มีสิทธิ์ร่วมกัน
  • แมนชั่น จริงแล้วคำว่า แมนชั่น (mansion) แปลตรงตัวว่า คฤหาสถ์ แต่ประเทศไทยเรามักนำมาให้ผิดๆ ด้วยความต้องการให้อาคารนั้นๆ หรูหรา และดูดี โดยลักษณะของแมนชั่นจะคล้ายๆกับอพาร์ทเม้นท์ ที่มีความหรูหรามากกว่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า มีขนาดใหญ่กว่า อพาร์ทเม้นอาจเป็นสตูดิโอห้องเดียว แต่แมนชั่นอาจเป็นห้องขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งห้องด้านในย่อยๆได้อีก

ทำไมคนไทยถึงเรียกห้องเช่าว่าหอ

ในอดีต มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย มีอาคารสำหรับให้นักศึกษาพักอาศัย อาคารเหล่านี้มักเรียกว่า "หอพักนักศึกษา" คำว่า "หอ" จึงกลายเป็นคำที่ใช้เรียกห้องเช่าทั่วไป อีกทั้งคำว่า "หอ" พูดและฟังง่ายกว่าคำว่า "ห้องเช่า" เป็นคำที่สั้น กระชับ ใช้เรียกห้องเช่ามานานหลายทศวรรษ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook