เฉลยแล้ว! สะพานสมมตอมรมารค อ่านว่าอะไร ความหมายของชื่อคืออะไร

เฉลยแล้ว! สะพานสมมตอมรมารค อ่านว่าอะไร ความหมายของชื่อคืออะไร

เฉลยแล้ว! สะพานสมมตอมรมารค อ่านว่าอะไร ความหมายของชื่อคืออะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นชื่อสะพานที่ชื่อแปลกและมั่นใจว่าคนไทยเราส่วนใหญ่อ่านออกเสียงไม่ถูกกันอย่างแน่นอน สำหรับ สะพานสมมตอมรมารค สะพานที่อยู่แถวแยกสำราญราษฎร์ ที่มีชื่อเรียกค่อนข้างโดดเด่นไม่เหมือนใคร

วันนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูลมาไขข้อสงสัยเพื่อนๆ กันแล้วว่า สะพานสมมตอมรมารค จริงๆ แล้วต้องอ่านออกเสียงว่าอะไร และที่มารวมไปถึงความหมายขอชื่อนี้คืออะไรกันแน่

สะพานสมมตอมรมารคสะพานสมมตอมรมารค

เฉลยแล้ว! สะพานสมมตอมรมารค อ่านว่าอะไร ความหมายของชื่อคืออะไร

สะพานสมมตอมรมารค อ่านว่า สะ-พาน-สม-มด-อะ-มอน-มาก เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุงในส่วนของคลองบางลำพู ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร และแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร บริเวณที่ตั้งของสะพานสมมตอมรมารคใกล้กับแยกสำราญราษฎร์ เป็นแหล่งรวมของร้านอาหารที่ได้รับความนิยมและมีความคึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาค่ำคืน และเชิงสะพานฝั่งเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายติดกับแยกเมรุปูน อันเป็นทางแยกที่ตัดกันระหว่างถนนบำรุงเมืองกับถนนบริพัตร

เดิมเป็นสะพานไม้ที่มีโครงเหล็กรองรับพื้นที่ชักเลื่อนออกจากกัน มีชื่อเรียกโดยผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้ว่า "สะพานเหล็กประตูผี" เนื่องจากตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของประตูพระบรมมหาราชวัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "ประตูผี" อันเป็นทางที่ใช้สำหรับขนถ่ายศพของผู้เสียชีวิตในพระบรมมหาราชวังออกมาปลงศพด้านนอก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานแห่งนี้มีความทรุดโทรมมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหม่ พร้อม ๆ กับการสร้างถนนและสะพานอีกหลายแห่งเพื่อรองรับความเจริญของบ้านเมือง โดยเป็นสะพานปูนปั้นเสริมโครงเหล็กเหมือนแบบเก่า และพระราชทานชื่อให้ว่า "สะพานสมมตอมรมารค" เมื่อแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ พระอนุชา ต้นราชสกุลสวัสดิกุล (ภายหลังสถาปนาเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) โดยมีความหมายว่า "สะพานของพระราชา" เป็นสะพานที่มีความยาว 23 เมตร กว้าง 7.50 เมตร ลูกกรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบไอโอนิก มีฐานเสาเซาะร่องตลอดแนว

และหลังจากมีการสร้างสะพานใหม่แล้ว พร้อมกับเปลี่ยนย่านนี้จากประตูผีเป็น "สำราญราษฎร์" เพื่อความเป็นสวัสดิมงคล ผู้คนจึงย้ายมาอยู่อาศัยมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีชุมชนเก่าแก่ คือ "ชุมชนบ้านบาตร" ซึ่งเป็นชุมชนที่ชาวชุมชนมีอาชีพทำบาตรพระด้วยมือ และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook