เปิดตำแหน่ง ตำแหน่งทางวิชาการ มีกี่ขั้น แต่ละระดับมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

เปิดตำแหน่ง ตำแหน่งทางวิชาการ มีกี่ขั้น แต่ละระดับมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

เปิดตำแหน่ง ตำแหน่งทางวิชาการ มีกี่ขั้น แต่ละระดับมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตำแหน่งทางวิชาการเป็นระบบที่มีการแบ่งขั้นเพื่อให้ความชัดเจนในการประเมินคุณภาพและหน้าที่ของผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

วันนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูล มาให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกับตำแหน่งทางวิชาการแต่ละขั้น รวมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากับตำแหน่งเหล่านั้น เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทที่สำคัญของผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาให้มากขึ้น

ตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งทางวิชาการ

เปิดตำแหน่ง ตำแหน่งทางวิชาการ มีกี่ขั้น แต่ละระดับมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

อาจารย์

อ. เป็นขั้นแรกของการเป็นผู้สอนในระบบสถาบันอุดมศึกษา สำหรับสถาบันที่อยู่ในกำกับของรัฐจะให้เริ่มเป็นพนักงานของรัฐก่อน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผศ. ต้องมีการสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา มีผลงานทางวิชาการ ได้แก่ งานวิจัย และบทความทางวิชาการ และผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์

รศ. ต้องมีการสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา มีผลงานทางวิชาการ และมีตำราหรือหนังสือ และผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ

ศาสตราจารย์

ศ. เป็นตำแหน่งวิชาการชั้นสูงสุดต้องมีผลการสอนและผลงาน ทางวิชาการมีคุณภาพดีมากหรือดีเด่น มีงานวิจัย มีตำราหรือหนังสือที่ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ในประเทศไทยแบ่งประเภทของศาสตราจารย์เป็น 2 ประเภทคือ

  1. ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ
  2. ตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ประจำหรือโดยกรณีพิเศษ

ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ

เป็นตำแหน่งประจำหรือปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา

  • ศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัยหรือแต่งตำรา เป็นตำแหน่งประจำคือเป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน และได้รับการแต่งตั้งหรือโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • ศาสตราจารย์คลินิก มีหลักเกณฑ์และการแต่งตั้งเช่นเดียวกับศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัยหรือแต่งตำรา เพียงแต่เน้นการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์ที่เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในต่างประเทศ คือ ตำแหน่งศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ (Professor of practice)
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือศาสตราจารย์เกียรติคุณ ตำแหน่งนี้แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำ ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยหรือแต่งตำราและเกษียณอายุราชการ แต่สถาบันเห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อสร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาควิชาหรือสาขาวิชานั้นต่อไป โดยถือว่ามีสิทธิ์ใช้ตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ต่อไปจนถึงแก่กรรม

ตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ประจำหรือโดยกรณีพิเศษ

ตำแหน่งประเภทนี้แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ข้าราชการหรือพนักงานประจำ แต่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เป็นนักวิชาการที่โดดเด่น มีคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อตรงต่อวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างกว้างขวาง โดยการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษา

  • ศาสตราจารย์พิเศษ หรือ ศ. (พิเศษ)
  • ศาสตราภิชาน คือตำแหน่งยกย่องผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งในศาสตร์ต่างๆ และเป็นตำแหน่งเฉพาะสาขาวิชาที่ให้เป็นเกียรติตลอดชีพ
  • ศาสตราจารย์กิตติเมธี เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาเชิญมาทำวิจัยและพัฒนาศาสตร์ในสาขานั้น เป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลาหรือค่าตอบแทนจากกองทุนของสถาบัน
  • ศาสตราเมธาจารย์ หรือศาสตราจารย์อาวุโส หรือศาสตราจารย์เกียรติยศ เป็นการยกย่องศาสตราจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำ เป็นผู้นำทางวิชาการของสาขาวิชานั้นๆ ในระดับนานาชาติจนเป็นที่ประจักษ์
  • ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ประจำผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษ และมีผลงานดีเด่นระดับนานาชาติ

นอกจากนี้อาจมีตำแหน่งอื่นๆ อีก เช่น ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ หรือศาสตราจารย์อุปการคุณ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่สถาบันอุดมศึกษานั้นๆ พึงให้เกียรติยกย่อง เป็นต้น

นอกจากนั้นวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ใช้คำย่อว่า ดร. แม้จะไม่ใช่ตำแหน่งทางวิชาการ แต่มักนิยมใช้ควบคู่กับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ผศ. ดร., รศ. ดร., หรือ ศ. ดร.

การใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม

ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการใช้คำนำหน้านามอย่างอื่นด้วยให้เรียงตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้

  1. ตำแหน่งทางวิชาการ
  2. ยศ
  3. บรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือคำนำหน้านามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และมีสิทธิ์ใช้คำนำหน้านามนั้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือประกาศของทางราชการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook