ไขข้อสงสัย ถ้ายุงดูดเลือดคนเป็นโรค แล้วมาดูดเลือดเรา เราจะติดโรคมั้ย

ไขข้อสงสัย ถ้ายุงดูดเลือดคนเป็นโรค แล้วมาดูดเลือดเรา เราจะติดโรคมั้ย

ไขข้อสงสัย ถ้ายุงดูดเลือดคนเป็นโรค แล้วมาดูดเลือดเรา เราจะติดโรคมั้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยุงเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้เหลือง และโรคอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อยุงกัดคนที่ติดเชื้อและจากนั้นมากัดเรา คำถามที่หลายคนสงสัยคือ "เราจะติดโรคหรือไม่?"

วันนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูลมาไขข้อสงสัยเพื่อนๆ กันว่า ถ้ายุงไปดูดเลือดคนที่เป็นโรคมา แล้วมาดูดเลือดเราต่อ เราจะสามารถติดโรคจากคนอื่นได้หรือไม่

โรคจากยุงโรคจากยุง

ไขข้อสงสัย ถ้ายุงดูดเลือดคนเป็นโรค แล้วมาดูดเลือดเรา เราจะติดโรคมั้ย

ยุงสามารถเป็นพาหะนำโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ แต่การติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคที่ยุงเป็นพาหะนำมา ยุงไม่ได้เป็นสื่อนำพาโรคทุกโรค

  • โรคไข้เลือดออก (Dengue): ยุงลาย (Aedes) เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ยุงจะติดเชื้อไวรัสจากการกัดคนที่ติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ที่ยุงไปกัด
  • โรคมาลาเรีย (Malaria): ยุงก้นปล่อง (Anopheles) เป็นพาหะนำเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม (Plasmodium) ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ยุงจะติดเชื้อปรสิตจากการกัดคนที่ติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ที่ยุงไปกัด
  • โรคไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya): ยุงลาย (Aedes) ยังสามารถเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้ ยุงจะติดเชื้อไวรัสจากการกัดคนที่ติดเชื้อและแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ที่ยุงไปกัด
  • โรคซิกา (Zika): ยุงลาย (Aedes) เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสซิกา ยุงจะติดเชื้อไวรัสจากการกัดคนที่ติดเชื้อและแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ที่ยุงไปกัด

ดังนั้น ถ้ายุงกัดคนที่เป็นโรคแล้วมากัดคุณต่อ คุณมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคที่ยุงเป็นพาหะนำมา

ถ้ายุงกัดคนที่เป็น HIV มาแล้วจะทำให้เราติดเชื้อ HIV มั้ย

ยุงกัดทำไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะยุงไม่ใช่พาหะในการนำเชื้อเอชไอวีมาสู่คน เมื่อยุงดูดเลือดของคนที่มีเชื้อเอชไอวีเข้าไปในตัวมันแล้ว สภาพแวดล้อมในตัวมันไม่เหมาะแก่การแพร่ขยายหรือเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีได้ รวมทั้ง ขณะที่ยุงเอาปากตัวเองออกจากผิวหนังของผู้ติดเชื้อเอชไอวี หลังจากดูดเลือดอิ่มแล้ว เลือดที่ติดอยู่ที่ปากของยุงจะถูกผิวหนังปาดออกไปจนไม่มีไวรัสหลงเหลืออยู่ หรือหากเหลืออยู่ก็ไม่มีปริมาณเพียงพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook