Emotional Eating กินตามอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินที่ดี

Emotional Eating กินตามอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินที่ดี

Emotional Eating กินตามอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินที่ดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Emotional Eating คือ การรับประทานอาหารตามอารมณ์ เป็นภาวะที่เกิดจากการเรียกร้องของจิตใจ มากกว่ากระเพาะอาหาร เช่น ระหว่างรอสัมภาษณ์งาน นาย A หยิบช็อกโกแลตขึ้นมาทานอยู่หลายครั้ง เพราะอยากลดความตื่นเต้นจากการรอสัมภาษณ์งาน ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะกินตามอารมณ์ มักจะชอบทานขนมจุกจิก ของหวาน หรือของกินที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง อาจเพราะว่าวัตถุดิบของอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลที่มีคุณสมบัติในการลดความเครียดเป็นส่วนประกอบหลัก

Emotional Eating ตามใจปากอาจกระทบสุขภาพการเงิน

การกินตามอารมณ์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยต่อเงินในกระเป๋าของคุณด้วย เมื่ออยากกิน..ต้องได้กิน แปลว่าคุณไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ หลายคนคิดว่าหนี้บัตรเครดิตมาจากสินค้าและบริการที่มีราคาสูงเพียงอย่างเดียว

ความจริงแล้วหนี้บัตรเครดิตเกิดจากเรื่องใกล้ตัวได้ง่ายกว่าอะไรเสียอีก ในหนึ่งเดือนคุณจะซื้อโทรศัพท์สักกี่หน? แต่ในหนึ่งเดือนคุณใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าอาหารไปกี่อย่าง? เพราะคิดว่าค่าอาหารคือค่าใช้จ่ายจำนวนไม่มาก ผู้ใช้บัตรเครดิตเลยติดกับดักการกินตามอารมณ์ รู้ตัวอีกทีก็เมื่อบิลมาอยู่ในมือแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับค่าอาหารรวมกันแล้ว มากกว่าค่าผ่อนโทรศัพท์สุดหรูรุ่นใหม่เสียอีก
ทำไมกินตามอารมณ์ ถึงกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน

เพิ่มอัตราเสี่ยงการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

หากคุณไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการกินเป็นระยะเวลานาน ๆ บัตรเครดิตของคุณก็จะเต็มไปด้วยรายการค่าใช้จ่ายอาหารจุกจิก จำนวนเงินไม่เยอะแต่ใช้บ่อย เช่น ใช้จ่ายค่าไอศกรีมพาร์เฟ่ต์ (parfait) ราคาต่อถ้วยไม่เกิน 100-200 บาทแต่กินแบบนี้เป็นประจำทุกเย็นหลังเลิกงาน เพื่อบรรเทาอาการเครียดจากการทำงานที่วุ่นวาย

หากคิดดูเล่น ๆ คุณทำงานเดือนละ 20 วันและกินไอศกรีมราคา 100 บาททุกวันที่ไปทำงาน รวมแล้วก็เป็นเงิน 2,000 บาท ถ้าคุณได้รับเงินเดือนตามค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย คือ 15,000 บาท แค่ค่าของหวานที่ทานเพื่อความสบายใจก็ปาไป 2,000 บาท ยังไม่รวมค่าประกันสังคมที่หักจากยอดเงินเดือน ค่าเดินทางไป-กลับบ้านและที่ทำงาน ค่าใช้จ่ายไม่กี่อย่างที่พูดมาก็ทำให้เงินเดือนของคุณเหลือน้อยเสียเต็มทน หากยังไม่สามารถระงับอาการอยากกินตามอารมณ์ได้ รับรองเลยว่าค่าบัตรเครดิตงวดที่กำลังจะมาถึง คุณต้องกดปุ่มชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำอย่างแน่นอน

Advertisement

เพิ่มอัตราเสี่ยงก่อหนี้บัตรเครดิตระยะยาว

เมื่อปล่อยใจให้ล่องลอยไปตามความอยาก และก้าวขาทั้งสองข้างเข้าสู่สถานะการเป็นเจ้าของบัตรเครดิตที่จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ วังวนของการเป็นหนี้จะก่อตัวอย่างช้า ๆ แบบที่ไม่ให้คุณรู้ตัว หากคอยเช็กยอดการใช้จ่ายบนบัตรเครดิตเป็นประจำ

คุณจะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงของหนี้บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนที่คุณเคยผ่อนบัตรเครดิตเต็มจำนวน ถ้ารู้ตัวว่าหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นแล้ว ให้รีบจัดสรรชำระค่าบัตรเครดิตงวดนั้นอย่างไวที่สุด เพื่อลดอัตราค่าดอกเบี้ยที่ถูกนำไปคิดเป็นหนี้ในทุก ๆ วัน และอย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับบัตรเครดิตงวดหน้าอย่างรัดกุม หากไม่จำเป็นคุณไม่ควรกลับไปใช้บริการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำอีกแล้ว

จัดการปัญหา Emotional Eating อย่างไร

ปัญหา Emotional Eating หรือการกินตามอารมณ์ คือปัญหาด้านจิตใจ เราเข้าใจว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข แต่หากคิดถึงผลกระทบด้านการเงินแล้ว เราอยากแนะนำวิธีที่จะช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นกว่าเดิม ดังนี้

ยอมรับว่าปัญหาทุกอย่างมีเข้ามาและออกไป การนำจิตใจไปผูกไว้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจะทำให้อารมณ์ ความรู้สึกของคุณถูกกระตุ้นจากปัญหาภายนอกง่ายเกินไป เราไม่สามารถบังคับให้ใคร หรืออะไรเป็นไปตามที่ใจอยาก ถ้ายอมรับว่าการเจอกับปัญหาคือเรื่องปกติ เราจะอยู่กับมันง่ายขึ้น เราไม่ต้องแก้ปัญหาทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ถ้าคุณรู้สึกตื่นเต้นที่ต้องนำเสนอแผนงานต่อหน้าผู้บริหาร ก็ปล่อยให้จิตใจได้ตื่นเต้นอย่างที่มันควรจะเป็น

มองหาทางเลือกอื่นนอกจากการกิน ถ้าการกินตามอารมณ์ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย เราอาจมองหาวิธีอื่นที่ไม่เดือดร้อนเงินในกระเป๋า เช่น การเดินเล่นในสวนสาธารณะ ไม่ต้องวิ่งก็ได้แค่เดินชมนกชมไม้ ยืนมองผู้คนที่มาออกกำลังกาย ความเครียดที่สุมอยู่ในใจอาจคลายลงบ้าง หรือเป็นการทำงานบ้านให้ลืมความเศร้าก็น่าสนใจ จะมัวแต่คิดถึงเรื่องไม่ดีไปทำไม เอาความเครียดที่มีมาระบายผ่านการทำความสะอาดดีกว่า เครียดนิดหน่อยก็กวาดบ้าน เครียดมากขึ้นก็ถูพื้น ยิ่งเครียดบ้านยิ่งสะอาด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้