วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง ให้ปลอดภัย และเอกสารอะไรบ้างที่ต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง
การเซ็นสำเนาถูกต้อง บนเอกสารราชการอย่าง บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน เป็นกระบวนการที่ใช้ในการยืนยันว่าเอกสารสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับและได้ผ่านการรับรองจากผู้เป็นเจ้าของเอกสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการยื่นเอกสารประกอบกับการทำธุรกรรมต่างๆ หรือ สมัครงาน
วันนี้เราก็ได้ไปรวมรวมข้อมูล และ วิธีการเซ็นสำนาถูกต้อง ในเอกสารราชการ ที่มักใช้บ่อย อย่างเช่น บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน มาให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากัน ใครที่กำลังสงสัยว่าต้องเซ็นยังไง มาดูกันเลย
ทำไมต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง?
การติดต่อธุรกรรม ติดต่อราชการ หรือ สมัครงาน เมื่อมีข้อผูกพันทางสัญญาก็ต้องการติดต่อกับบุคคลนั้นได้ และสิ่งที่ยืนยันตัวตนได้ดีที่สุดก็คือ บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน นอกจากนี้ยังมีเอกสารอื่นๆ เช่น พาสปอร์ต, สูติบัตร, ใบขับขี่ ที่ใช้แทนกันได้
วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง
- ถ่ายสำเนาเฉพาะหน้าที่สำคัญ: โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นการถ่ายสำเนาเฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หน้าที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนตัว
- ขีดเส้นทับ: ขีดเส้นทับ 2 เส้นทแยงมุมบนสำเนาเอกสาร โดยหลีกเลี่ยงการขีดทับส่วนที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนบุคคล
- ระบุข้อความ: ระหว่างเส้นที่ขีดทับ เขียนข้อความว่า "ใช้สำหรับ..." ตามด้วยวัตถุประสงค์ในการใช้สำเนานั้น เช่น "ใช้สำหรับสมัครงานตำแหน่ง..." หรือ "ใช้สำหรับยื่นขอสินเชื่อ..."
- เซ็นชื่อและระบุวันที่: เซ็นชื่อและระบุวันที่ให้ชัดเจนใต้ข้อความที่เขียน
- แสตมป์ (ถ้ามี): หากมีตราประทับส่วนตัว สามารถประทับตราไปบนสำเนาเอกสารได้ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
วิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชน
- ถ่ายแค่หน้าบัตรประชาชน ห้ามถ่ายหลังบัตร เพราะด้านหลังมีรหัสบัตร เลขหลังบัตร เรียกว่า Laser ID ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งหมด
- ขีดเส้นคร่อม 2 เส้นบนตัวบัตร แต่ห้ามขีดทับรูปหน้าเรา เนื่องจากรูปที่ถ่ายเอกสารหน้าเราจะไม่ชัดอยู่แล้ว ถ้าขีดเส้นทับจะทำให้การยืนยันตัวตนยากขึ้น การขีดเส้นทับ เพื่อทำให้การแอบอ้างหรือปลอมแปลงยากขึ้น
- เขียนว่า “ใช้สำหรับ....เท่านั้น” ระหว่างเส้นคร่อม โดยใส่จุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าใช้สำเนาทำอะไร เพื่อมิจฉาชีพจะได้ไม่สามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
- เมื่อเขียนวัตถุประสงค์ที่ใช้แล้ว อย่าลืมเขียนสัญลักษณ์ * หรือ # ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเติมข้อความ
- เขียน วัน/เดือน/ปี ที่เซ็นลงไป เพราะถ้าเราไม่เขียน มิจฉาชีพจะสามารถเอาเอกสารของเราที่เราอาจจะเคยทิ้งไปนานจนลืมแล้ว กลับมาใช้ใหม่
- เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อมกับเซ็นชื่อของตัวเอง โดยวิธีเซ็นที่ปลอดภัยคือเซ็นทับไปบนบัตรได้เลย
ตัวอย่างเซ็นสำเนาถูกต้อง บัตรประชาชน
วิธีเซ็นสำเนาทะเบียนบ้าน
- ขีด 2 เส้นคร่อมทับระหว่างหน้าแรก และหน้าที่มีชื่อเรา
- เขียนว่า “ใช้สำหรับ....เท่านั้น” ระหว่างเส้นคร่อม โดยใส่จุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าใช้สำเนาทำอะไร เพื่อมิจฉาชีพจะได้ไม่สามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
- เมื่อเขียนวัตถุประสงค์ที่ใช้แล้ว อย่าลืมเขียนสัญลักษณ์ * หรือ # ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเติมข้อความ
- เขียน วัน/เดือน/ปี ที่เซ็นลงไป เพราะถ้าเราไม่เขียน มิจฉาชีพจะสามารถเอาเอกสารของเราที่เราอาจจะเคยทิ้งไปนานจนลืมแล้ว กลับมาใช้ใหม่
- เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อมกับเซ็นชื่อของตัวเอง โดยวิธีเซ็นที่ปลอดภัยคือเซ็นทับไปบนบัตรได้เลย
ตัวอย่างเซ็นสำเนาถูกต้อง ทะเบียนบ้าน
เอกสารอะไรบ้าง ที่ต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง
- บัตรประจำตัวประชาชน ถ่ายหน้าเดียว หรือสองหน้า
- ใบขับขี่
- บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ ออกให้
- สูติบัตร
- ทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน
- ทะเบียนบ้านลูกบ้าน
- ทะเบียนรถยนต์
- โฉนดที่ดิน
- สมุดบัญชี
- หนังสือรับรองรายได้
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- หนังสือรับรองการทำงาน
- หนังสือรับรองการศึกษา
- ทะเบียนการศึกษา
การเซ็นสำเนาเอกสารเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถใช้เอกสารต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง การปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกนำเอกสารไปใช้ในทางที่ผิดได้