กฎหมายแรงงาน 3 ข้อ ที่หลายคนเข้าใจผิด อาจโดนนายจ้างเอาเปรียบไม่รู้ตัว

กฎหมายแรงงาน 3 ข้อ ที่หลายคนเข้าใจผิด อาจโดนนายจ้างเอาเปรียบไม่รู้ตัว

กฎหมายแรงงาน 3 ข้อ ที่หลายคนเข้าใจผิด อาจโดนนายจ้างเอาเปรียบไม่รู้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพราะกฎหมายแรงงาน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ปกป้องสิทธิของพนักงาน แต่ในหลายครั้ง พนักงานหรือคนทำงานอาจจะยังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องกับกฎหมายแรงงาน จนอาจจะเกิดความเข้าใจผิด และอาจจะทำให้ถูกเอาเปรียบจากนายจ้างได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเงินเดือน การลา หรือ วันหยุด นั่นเอง

ในครั้งนี้เราก็ได้ไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมายแรงงาน ที่หลายคนเข้าใจผิด และคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง โดยไม่รู้ว่าเรากำลังถูกเอาเปรียบโดยไม่รู้ตัว จะมีอะไรบ้างมาลองดูกันเลย

กฎหมายแรงงาน ที่หลายคนเข้าใจผิดกฎหมายแรงงาน ที่หลายคนเข้าใจผิด

กฎหมายแรงงาน 3 ข้อ ที่หลายคนเข้าใจผิด อาจโดนนายจ้างเอาเปรียบไม่รู้ตัว

ยังไม่ผ่านทดลองงาน ไม่มีสิทธิลาป่วย ลากิจ ถ้าจะลาจะต้องถูกหักเงิน

ตามกฎหมายแรงงานของไทย พนักงานมีสิทธิ์ในการลาป่วยได้ตามความจำเป็น โดยไม่จำกัดว่าจะต้องผ่านทดลองงานหรือไม่ นายจ้างไม่สามารถหักเงินเดือนของพนักงานได้หากการลาป่วยนั้นเป็นการลาที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย นอกจากนี้ พนักงานยังมีสิทธิ์ในการลางานเพื่อทำธุระส่วนตัวได้ โดยมีจำนวนวันลาและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกฎหมายและนโยบายของบริษัทแต่ละแห่ง ดังนั้น หากคุณยังอยู่ในช่วงทดลองงานและมีเหตุจำเป็นต้องลาป่วยหรือลากิจ เราควรรู้ถึงสิทธิ์ของตัวเองและพูดคุยกับนายจ้างเพื่อความชัดเจน

ทำงานในวันหยุดตามประเพณี ได้รับค่าจ้างเท่าเดิม

ตามกฎหมายแรงงาน พนักงานที่ทำงานในวันหยุดตามประเพณีต้องได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราอย่างน้อย 1 เท่าของค่าจ้างปกติสำหรับชั่วโมงทำงานนั้น ๆ นี่เป็นสิทธิ์พื้นฐานที่พนักงานควรรู้

ถ้าพนักงานมีการลาออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า จะถูกหักค่าจ้าง ไม่ต้องจ่ายรายเดือน

ตามกฎหมายแล้ว นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง จากลูกจ้างลาออกไม่แจ้งล่วงหน้า องค์กรหรือนายจ้างจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ให้แก่ลูกจ้างอย่างถูกต้อง หากนายจ้างไม่ยอมจ่ายจะผิดกฎหมาย แต่ทางนายจ้างมีสิทธิฟ้องศาล ถ้าพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทำให้ทางนายจ้างเสียหาย แต่นายจากจะหักเงินเองไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมคือ พนักงานควรแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบของบริษัท ส่วนนายจ้างถ้าจะเลิกจ้างก็ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 รอบงวดการจ่ายค่าจ้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook