เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง ใครสิทธิเหนือกว่ากัน?

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง ใครสิทธิเหนือกว่ากัน?

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง ใครสิทธิเหนือกว่ากัน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทะเบียนบ้านนั้นเรียกว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ในการแสดงตัวตนและที่อยู่ของบุคคลที่อาศัยอยู่อีกด้วย นอกจากนั้นทะเยีบนบ้านยังเป็นเอกสารสำคัญในการทำธุรกรรมหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกรรมทางการเงิน การสมัครงาน ตลอดจนถึงการติดต่อหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย

ถ้าสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า เจ้าบ้าน ปรากฏอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน วันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาไขข้อสงสัยให้กับหลายๆ คนกันแล้วว่า เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง ใครสิทธิเหนือกว่ากัน?

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน ต่างกันยังไง ใครสิทธิเหนือกว่ากัน?

ความหมายของคำว่า เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน

  • เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้
  • เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย

สิทธิของ เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน

  • เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ยกตัวอย่างเช่น
  1. แจ้งคนเกิดในบ้าน
  2. แจ้งคนตายในบ้าน
  3. แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  4. สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  5. ขอเลขที่บ้าน
  • เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

มีบ้านหลายหลัง สามารถมีชื่อในทะเบียนบ้านหลายฉบับได้มั้ย?

กฎหมายมีการกำหนดว่า ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยสามารถปล่อยทะเบียนบ้านว่างไว้ได้ โดยการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถูกระบุชื่อไว้ในโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์รูปแบบอื่น ๆ แทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook