ไขข้อสงสัย ยาแก้ปวดรู้ได้ไงว่าเราปวดตรงไหน ปวดอะไรก็กินยาแก้ปวด
เคยสงสัยกันมัยเวลาปวดหัว ปวดท้อง หรือ ปวดฟัน สิ่งที่เรามักจะทำก็คือกินยาแก้ปวด ที่ทำให้เรารู้สึกลดอาการปวด และมีอาการดีขึ้น ไม่ว่าปวดตรงไหน ยาแก้ปวดคือรับจบทุกอาการ หรือเพราะว่า ยาแก้ปวดมันรู้ว่าเราปวดตรงไหน เลยเข้าไปแก้ได้ตรงจุดอย่างนั้นหรอ?
วันนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูลมาไขข้อสงสัยกับเพื่อนๆ กันแล้วว่า ยาแก้ปวดรู้ได้ไงว่าเราปวดตรงไหน มันมีระบบการทำงานยังไง ทำไมมันถึงรู้ได้ว่าเราต้องการใช้ช่วยบรรเทาอาการที่จุดไหน
ไขข้อสงสัย ยาแก้ปวดรู้ได้ไงว่าเราปวดตรงไหน ปวดอะไรก็กินยาแก้ปวด
ความจริงแล้วยาแก้ปวดไม่ได้รู้ว่าเราปวดตรงไหน แต่ยาแก้ปวดทำงานโดยไปยับยั้งหรือบล็อกสัญญาณความเจ็บปวดที่ถูกส่งไปยังสมอง เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบ ร่างกายจะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าโปรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ซึ่งจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง
ซึ่งยาแก้ปวดที่เรากินเข้าไป ก็จะทำงานโดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรสตาแกลนดิน ทำให้ร่างกายผลิตสารนี้น้อยลง จึงลดการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง ทำให้รู้สึกปวดน้อยลง
ดังนั้น ยาแก้ปวดไม่จำเป็นต้อง "รู้" ว่าเราปวดตรงไหน เพราะมันทำงานโดยการลดสัญญาณความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยรวม เมื่อการผลิตโปรสตาแกลนดินลดลง ความรู้สึกปวดในพื้นที่ที่มีการบาดเจ็บหรืออักเสบก็จะลดลงด้วย