‘ความเหงา’ อันตรายได้เท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
‘ความเหงา’ อันตรายได้เท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เคยออกมาเตือนว่า ความเหงา กำลังเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพ
‘ความเหงา’ อันตรายได้เท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
คำนิยาม ความเหงา(Loneliness) จากคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุไว้ว่า
“ความเหงา (Loneliness) เป็นความรู้สึกหนึ่งของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ว่าตนขาดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าที่ตนต้องการ เรียกได้ว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้และตีความสถานการณ์ในความสัมพันธ์ของตน เช่น การที่คนคนหนึ่งมีเพื่อนหลายคน ไปพบและเจอเพื่อนบ่อย แต่ก็อาจจะเกิดความรู้สึกเหงาได้จากการรับรู้ว่าความสัมพันธ์ที่ตนมีนั้นไม่มีคุณภาพ ไม่ตรงกับความคาดหวัง ในขณะเดียวกันคนที่มีเพื่อนน้อย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ สามารถแบ่งปันประสบการณ์ในชีวิตและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ก็อาจจะไม่ได้มีความเหงาเกิดขึ้น”
ความเหงาแพร่กระจายติดต่อกันได้เหมือนโรคระบาด
ใน บทหนึ่งของหนังสือ ‘EMOTIONAL FIRST AID ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ’ พูดถึงความเหงาว่ามันสามารถแพร่กระจายถึงกันได้
การศึกษาพบว่า ความเหงาแพร่กระจายผ่านกระบวนการติดต่อ (Contagion process) อย่างงานศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ใน Journal of Personality and Social Psychology กล่าวโดยสรุปว่า หากคนไม่เหงามาอยู่กับคนเหงา มีโอกาสที่คนไม่เหงาจะกลายเป็นคนเหงาในที่สุด
ที่น่าตกใจที่สุดมันมีโอกาสแพร่กระจายไปทั่วเครือข่ายสังคมนั้น ทำให้ทุกคนเกิดความเหงาในที่สุด
ความเหงาไม่ได้ส่งผลต่อแค่อารมณ์มันส่งผลเสียเหมือนการสูบบุหรี่ ทุกคนรู้ว่าการสูบบุหรี่อันตราย แต่อย่างน้อยบนซองยังมีคำเตือน แต่กับความเหงา มันไม่มีอะไรบอกทั้งนั้น รู้ตัวอีกทีเราก็จมอยู่กับความรู้สึกนั้นไปแล้ว
ความเหงา ทำร้ายคนเท่ากับสูบบุหรี่ 15 มวน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริคแฮม ชี้ว่า ความเหงานั้นสามารถบั่นทอนสุขภาพร่างกายของเราได้มากพอกับ การเป็นโรคอ้วนหรือการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่น ๆ อีกมากมายที่ชี้ว่าความเหงา ก่อให้เกิดปัญหาความเครียด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า อีกทั้งอาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ,การไม่รับประทานอาหารจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น
รับมือกับความเหงาอย่างไร?
1.กลับมาทบทวนความรู้สึกที่เกิดขึ้นของตน ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้น คือความเหงา ความเศร้า ความโดดเดี่ยว หรือเป็นความรู้สึกอะไร เพื่อทำความเข้าใจที่มาที่ไปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2.กลับมาทบทวนความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มองหาความสัมพันธ์ที่ตนเองต้องการหรือความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า ปริมาณของความสัมพันธ์อาจไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของความสัมพันธ์ที่มีอยู่
3.พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพของตน บอกเล่าความรู้สึก เรื่องราวในชีวิตประจำวันกับความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ
4.เปิดโอกาสให้ตนได้เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ใหม่ ๆ และไม่ปิดกั้นตัวเองในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบๆข้าง
5.หากิจกรรม งานอดิเรกทำเพิ่มเติม การกลับมาอยู่กับตัวเอง ให้เวลาตัวเอง บางครั้งสามารถทำให้ความเหงาชั่วครั้งชั่วคราวลดลงได้
6.เลี้ยงสัตว์เลี้ยง การมีสัตว์เลี้ยงสักตัวจะทำให้เกิดความผูกพัน เกิดความสัมพันธ์ที่มีความหมายและช่วยลดความเหงาลงไปได้
7.พูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยา เพื่อหาวิธีรับมือกับความเหงาเพิ่มเติม
ความเหงา นั้นน่ากลัวและอันตรายอย่างมาก นอกจากมันจะเกิดขึ้นได้กับทุกคนแล้ว มันยังแพร่กระจายต่อได้อีกด้วย ลองเปิดโอกาส มองย้อนดูในสิ่งที่เราทำได้ เพื่อให้ความเหงาได้หายไปจากใจบ้าง อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ iNN