อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว

อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว

อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เพราะถือเป็นนักรณรงค์ตัวเอ้ พร้อมโดยประณามว่าเป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมตัวยงไปในคราวเดียวกัน จากดัชนีวัดความมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนา ภาวะโลกร้อนโดยศูนย์การพัฒนาโลก องค์กรอิสระด้านนโยบายและการวิจัยของอเมริกา พบว่าพญาอินทรียืนอยู่ในอันดับโหล่สุดในด้านสิ่งแวดล้อม จากบรรดาประเทศร่ำรวย 21 ประเทศ ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา คือ การสนับสนุนการหาปลา การนำเข้าไม้เมืองร้อน การนำเข้าพันธุ์สัตว์และพันธุ์ไม้หายาก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง การเก็บภาษีน้ำมันต่ำ ซึ่งกระตุ้นให้มีการบริโภคน้ำมันสูง และทำให้ปล่อยก๊าซเสียเพิ่มขึ้น และทำให้โลกร้อนขึ้นด้วย นายเดวิด รูดแมน ผู้ออกแบบดัชนีดังกล่าวระบุว่า อเมริกาควรทำอะไรได้มากกว่านี้ เพราะมีทั้งเงินเทคโนโลยีที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในบรรดากลุ่ม 21 ประเทศอุตสาหกรรมร่ำรวย นอร์เวย์ครองอันดับหนึ่งด้านสิ่งแวดล้อม ตามด้วยไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งก็ถือเป็นหน้าเดิมๆ ที่มีการขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีของคนนั่นเอง เมื่ออเมริกาเป็นเหมือนทั้งนักบุญและคนบาปในร่างเดียวกัน ขณะที่ภาพรวมประเทศ ติดอันดับยอดแย่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่คนดัง ของอเมริกาอย่าง นายอัล กอร์ อดีตผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ก็ยืนอยู่ในแถวหน้าที่ดัน ให้เรื่องโลกร้อนกลายมาเป็นเรื่องฮิตของคนทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาโดยการนำเสนอภาพยนตร์สารคดีชื่อดัง "An Inconvenient Truth" ที่การันตีความเด็ดของเนื้อหาด้วยรางวัลออสการ์ครั้งล่าสุดมาแล้ว แม้ว่าเนื้อหาและสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้จะปลุกกระแสเรื่องภาวะโลกร้อนได้ชั่วข้ามคืน แต่รายละเอียดบางประการของหนังก็เป็นที่กังขาว่าไม่ถูกต้องจนถึงขั้นต้องให้ศาลสูง ตีความ หลังจากมีการเสนอให้มีการแจกจ่ายหนังเรื่องนี้ให้ทุกโรงเรียนทั่วแดนมะกัน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติและของโลก สุดท้ายศาลสูงก็ตัดสินว่าเห็นควรให้เผยแพร่หนังเรื่องนี้ได้ แต่ต้องมีหมายเหตุแนบไปด้วยเพื่อลดทอนอิทธิพลจากการมองมุมเดียวของอดีตรองประธานาธิบดี โดยศาลระบุว่ามีข้อผิดพลาดบางประการปรากฏในหนังที่มุ่งส่งสัญญาณเตือนและเป็นการกล่าวเกินจริง เพื่อสมมติฐานเรื่องโลกร้อนของนายอัล กอร์ แต่สิ่งเหล่านั้นกลับขัดแย้งกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ คราวนี้มาลองดูกันว่า "ความไม่จริง" ที่ทำให้ลำบากคราวนี้มีอะไรบ้าง ข้อแรก ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก 20 นิ้ว เหตุจากผืนน้ำแข็งของกรีนแลนด์ หรือของแอนตาร์กติกา ตะวันตกละลาย ถูกแย้งว่าเกิดขึ้นได้แต่ต้องอาศัยเวลานับพันปี ข้อที่ 2 อัล กอร์ บอกว่า เกาะที่เกิดจากปะการังแถบแปซิฟิกกำลังเผชิญกับน้ำท่วมเนื่องจากภาวะโลกร้อนเชิงมนุษยวิทยา แต่ศาลบอกว่าไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการอพยพใดๆ เลย ข้อที่ 3 สารคดีอธิบายว่าโลกร้อนมีศักยภาพหยุดกระบวนการ "โอเชี่ยน คอนเวเยอร์" ที่กระแสน้ำจากอ่าวจะผ่านจากแอนตาร์กติกาเหนือไปยังยุโรปตะวันตก แต่ศาลบอกว่าไม่มีทางเป็นไปได้แน่ แต่อาจทำให้ช้าลงได้ ข้อที่ 4 นายกอร์โชว์กราฟ 2 ภาพที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเพิ่มของคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิในช่วง 650,000 ปีว่าเหมาะเจาะกันอย่างยิ่ง แต่ศาลแย้งว่า 2 สิ่งมีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ไม่ถึงกับแสดงสิ่งที่นายกอร์พยายามจะบอก ข้อที่ 5 สารคดีเสนอภาพหิมะที่หายไปจากเทือกเขาคิลิมานจาโร ว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน แต่อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่า เป็นภาพที่น่าจะประทับใจเป็นพิเศษ แต่ก็สรุปไม่ได้ว่าเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยน ข้อที่ 6 ทะเลสาบชาดที่กำลังเหือดแห้ง ในหนังเป็นตัวอย่างชั้นดีของปัญหาโลกร้อน แต่ศาลระบุว่าอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ประชากรเพิ่ม ความผันผวนของอากาศท้องถิ่น และปริมาณหญ้าที่มากขึ้น ข้อที่ 7 โลกร้อนทำให้เกิดเฮอร์ริเคน คาทริน่าและมหันตภัยในนิวออร์ลีนส์ ด้านศาลบอกว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ข้อที่ 8 นายกอร์บอกว่า รายงานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่หมีขั้วโลกจมน้ำตายเพราะต้องว่ายน้ำ 60 ไมล์เพื่อหาผืนน้ำแข็ง แต่ศาลยกรายงานวิทยาศาสตร์มายันว่า พบแค่หมีขั้วโลกจมน้ำตาย 4 ตัวเพราะโดนพายุ ข้อสุดท้าย คือ สารคดีบอกว่าโลกร้อนและปัจจัยอื่นๆ ทำให้แนวปะการังทั่วโลกมีสีซีดลงทุกวัน แต่รายงานของคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศระบุชัดเจนว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ปะการังสีซีดหรือตายหากปะการังไม่สามารถปรับตัวได้แต่ก็ไม่สามารถแยกชัดเจนได้ว่าเกิดจากอากาศเปลี่ยน หรือหาปลามากเกินไปหรือมลพิษอื่นๆ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว

อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว
อเมริกันกับเทรนด์โลกร้อน 2 ความแตกต่างในหนึ่งเดียว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook