พริกขี้หนูสดลดระดับน้ำตาลในเลือด
พริกขี้หนู
พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มาจากคำภาษาสเปนว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน
สำหรับสาร Capsaicin ในพริกขี้หนู ทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา เชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยรศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง เภสัชจลนศาสตร์ของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูสด และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่ Capsaicin ว่าพบมากที่สุดบริเวณรกของพริกขี้หนู วิธีในการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง การวิจัยเลือกใช้พริกขี้หนูขนาด 5 กรัม ผลปรากฏว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้อย่างเห็นได้ชัด จากนั้นจึงทดลองในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 12 ราย อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานพริกขี้หนูบรรจุในแคปซูลพร้อมกับน้ำตาลความเข้มข้น สูง อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานแคปซูลเปล่า เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม จากนั้นจึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุก 15 นาที ตั้งแต่เริ่มรับประทานยาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดในนาทีที่ 30 เป็นต้นไป กลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับน้ำตาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานแคปซูลเปล่า และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการวิจัยโดยให้กลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลเปล่ามารับประทานพริกขี้ หนูสด และเจาะเลือดวัดระดับอินซูลิน รวมทั้งวัดระดับ Capsaicin ใน เลือดของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดที่บรรจุในแคปซูล ผลปรากฏว่าระดับอินซูลินในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานพริกขี้หนูสดอยู่ใน ระดับคงที่ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับอินซูลินลดลง แสดงให้เห็นว่า Capsaicin จาก พริกขี้หนูสดสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้ ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ Capsaicin เข้าสู่ร่างกายและออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินนั่นเอง
นอกจากลดระดับน้ำตาลในเลือด พริกมีวิตามินซีสูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอสูง