ปรับ ร้อน-เย็น วิถีพุทธรักษาชีวิต

ปรับ ร้อน-เย็น วิถีพุทธรักษาชีวิต

ปรับ ร้อน-เย็น  วิถีพุทธรักษาชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พระพุทธเจ้าค้นพบว่า "ตัวเองเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาของตัวเองได้อย่างแท้จริง" นั่นคือสิ่งที่ "ใจเพชร กล้าจน" คนที่จบปริญญาวิทยาศาสตร์สุขภาพแผนปัจจุบันถึง 2 ปริญญา ฉุกคิดได้หลังจากพบความล้มเหลวจากการรักษาคนโดยแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่าง เดียว พุทธรักษา, ร้อน-เย็น, ธรรมะ, ใจเพชร กล้าจน, วิทยาศาสตร์สุขภาพเขาพบความล้มเหลวอยู่ 3 เรื่อง หนึ่ง ความเจ็บป่วยเพิ่ม มากขึ้น ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งป่วยมากกว่าชาวบ้าน 3 เท่า สอง รักษาแล้ว ค่าใช้จ่ายก็แพงขึ้น แต่ไม่หาย สาม ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลกเลย คือคนพึ่งตัวเองได้น้อยลง เจ็บป่วยขึ้นมา ทำอะไรไม่ได้ นอกจากหาหมออย่างเดียว "แล้วความล้มเหลวก็มาหาที่ตัวผม ผมเจ็บหัวใจ เป็นโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกระเพาะอาหาร และปวดข้อ กินยาที่ดีที่สุดของโรงพยาบาลแล้ว แต่ไม่หาย ทำไม ?" ใจเพชรจึงหันไปศึกษาแพทย์แผนไทย แผนจีน แพทย์ทางเลือก ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจะมาเสริมการรักษา พบว่าช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บลงไปได้ 40-50% เขาพยายามทดลองใช้กับชาวบ้าน โดยเอา 3-4 แผนมารวมกัน ก็ได้แค่ 40-50% เท่านั้น "ผมใช้เวลาศึกษาค้นหาอยู่ 14 ปี มันก็รักษาได้แค่นี้ เครียด เลยมาปฏิบัติธรรม" พอเขามาปฏิบัติธรรม ศึกษาพระไตรปิฎก เขาก็พบว่า... คำตอบอยู่ที่นี่ "พระพุทธเจ้าตรัสกับปัญจวัคคีทั้ง 5 ว่า ปัญหาของทั้งหมดในโลกนี้อยู่ที่ความไม่สมดุล ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาคือทำความสมดุล" ความสมดุลร้อนเย็นของร่างกาย ความสมดุลลมปราณ และความสมดุลทางจิตวิญญาณ และการเป็นผู้มีโรคน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ คือความร้อนในร่างกาย อันมีวิบากผลเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลาง ๆ ควรแก่ความเพียร เขาจึงเอามาใช้ปรับสภาพร่างกาย ปรากฏว่าใช้ได้ แล้วปรับสมดุลร้อน-เย็นยังไง ? หลักสำคัญในการปรับสมดุลร่างกาย คือการปรับรับประทานอาหารให้เกิดความสมดุล ความเจ็บป่วยจะเกิดมาจากความไม่สมดุลของร่างกาย การขาดความสมดุลในร่างกายมี 4 ประเภท ได้แก่ภาวะร้อนเกิน ภาวะเย็นเกิน ภาวะร้อนตีกลับเป็นเย็น และภาวะเย็นตีกลับเป็นร้อน หรือ 2 ประเภทหลังเรียกว่าร้อนเย็นพันกัน ปัจจุบันคนไทยกว่า 85% มักเจ็บป่วยจากภาวะร้อนเกิน หรือไม่ก็เป็นภาวะร้อนสุดจนตีกลับเป็นเย็น อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น การอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น "หลักง่าย ๆ คือเรากินอะไรเข้าไปแล้วเรารู้สึกสบาย ก็หมายถึงว่าเราเป็นแบบตรงกันข้าม เช่น คนฤทธิ์ร้อน ถ้ากินอาหารฤทธิ์เย็นเข้าไปจะรู้สึกเบาสบายตัว" แล้วพืชผัก อะไรร้อน อะไรเย็น ? ใจเพชรบอกว่า ผลไม้ สมุนไพร ผัก หรืออะไรที่เป็นฤทธิ์เย็น กินเข้าไปแล้วปากคอจะชุ่ม ดื่มน้ำแล้วไม่อร่อยเพราะเย็น ร่างกายจะสั่งให้ประสาทต้าน อย่างเช่นกินแตงมาก ๆ กินสับปะรดมาก ๆ ดื่มน้ำเข้าไปก็ไม่อร่อย พวกฤทธิ์เย็นเมื่อกินเข้าไปมาก ๆ ก็จะเกิดอาการไม่สบาย เช่น ท้องอืด หัวตื้อ มือเย็น เท้าเย็นหนาวสั่น ชาตามร่างกาย อาการเหล่านี้เรียกว่า "อาการเย็นเกิน" แต่ถ้าสิ่งที่กินเข้าไปแล้วทำให้อาการเย็นเกินเหล่านี้ลดลง แปลว่าสิ่งนั้นมีฤทธิ์ร้อน พวกพืชสมุนไพร ผลไม้ฤทธิ์ร้อน กินเข้าไปแล้วปากคอจะแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำแล้วรู้สึกสดชื่น กินเข้าไปแล้วดื่มน้ำจะรู้สึกอร่อย อย่างเช่นมะขามป้อม มีวิตามินซีเยอะ เป็นฤทธิ์ร้อน พอดื่มน้ำเข้าไปก็จะรู้สึกว่าน้ำอร่อย เพราะร่างกายจะสั่งการให้เอาน้ำเข้ามาดับไฟ หรืออย่างกินพริกเยอะ ๆ มันเผ็ด ทรมาน พอดื่มน้ำจะรู้สึกสบายขึ้น หรือว่ากินอาหารเค็มเยอะ ดื่มน้ำก็จะรู้สึกสบายขึ้น กินอาหารมันเยอะ ๆ ปากคอจะแห้ง ดื่มน้ำเข้าไปก็จะรู้สึกสบายขึ้น อาการที่ไม่สบายเกิดจากการกินของร้อนมากนั่นแหละ คืออาการร้อนเกิน อะไรก็ตามที่เรากินเข้าไปแล้วอาการร้อนเกินนั้นมันลดลง แสดงว่าสิ่งนั้นมีฤทธิ์เย็น นอกจากนั้นก็จะมีบางอาการที่เกิดจากร้อนตีกลับเป็นเย็น เย็นตีกลับเป็นร้อน มันเป็นร้อนเย็นพันกัน วิธีแก้ก็ใช้หลักพระพุทธเจ้า คือทำความสบายแก่ตนเอง อย่างร้อนตีกลับเป็นเย็น มันพันกันก็ต้องใช้ฤทธิ์เย็นผ่านไฟในการแก้ เป็นต้น วิธีแก้ก็จะต่างกัน หากแก้แล้ว "เบากาย สบาย มีกำลัง" นั่นคือตัวชี้วัดสุขภาพดี เมื่อแนวทางเหล่านี้เป็นวิธีการที่คนไข้ต้องเป็นหมอให้กับตัวเอง ดูแล สังเกต และรักษา ร่างกายตัวเอง "ตัวชี้วัดที่ดีที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ลักษณะของการมีสุขภาพที่ดีจะมีอยู่ 5 ข้อ 1.เจ็บป่วยน้อย 2.ลำบากกายน้อย 3.เบากายเบาใจ 4.เป็นกำลัง 5.เป็นอยู่ผาสุข" โดยเขาจะให้คนไข้วัดเอาเองด้วยว่าทำถูกหรือไม่ ถ้าปรับสมดุลได้ถูกจะไปตรงกับคำตรัสพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า มัชฌิมา ปฏิปทา เป็นทางเอกสายเดียวที่พาพ้น ทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นไม่มีทางพ้นทุกข์ มัชฌิมา ก็คือความสมดุล ความพอดี ความเป็นกลาง "ซึ่งก็ตรงกับหลักการแพทย์ทางเลือก คือมีพลังชีวิต เบากาย สบาย มีกำลัง เจ็บป่วยน้อย ลำบากกายน้อย คือสบายขึ้น เบาใจก็ตรงกัน มีกำลังก็ตรงกัน ทำให้เกิดความเป็นอยู่ผาสุกขึ้น" อีกสิ่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะบำเพ็ญให้พ้นทุกข์นั้นต้องใช้สิ่ง เรียบง่ายและไม่มีโทษ ทำให้เขาใช้สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและสิ่งที่อยู่ในตัว "เมื่อเราเอาจุดดีของการแพทย์แผนปัจจุบัน แผนไทย แผนทางเลือก แผนพื้นบ้านมาบริการด้วยพุทธธรรมะและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรากฏว่าคนไข้หมื่นรายที่มาใช้วิธีนี้ 90% ส่วนใหญ่เป็นโรคที่แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าต้องตาย ไม่หาย แต่เขาสามารถพึ่งตัวเองได้ภายใน 5 วัน 7 วัน" นี่คือการรักษาโรคแบบวิถีพุทธ นั่นคือ อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หมอที่ดีที่สุดในโลกคือตัวคุณเอง (เรียบเรียงจากระพีเสวนา เรื่อง "สุขภาพทางเลือกเพื่อดุลยภาพแห่งชีวิต" และหนังสือหลอมรวมการเรียนรู้เพื่อความเป็นไท เล่ม 3)

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ปรับ ร้อน-เย็น วิถีพุทธรักษาชีวิต

ปรับ ร้อน-เย็น  วิถีพุทธรักษาชีวิต
ปรับ ร้อน-เย็น  วิถีพุทธรักษาชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook