หวั่น"ดาวหางมืด"ชนโลก ไม่รู้วงโคจร-เสี่ยงกว่าดาวเคราะห์

หวั่น"ดาวหางมืด"ชนโลก ไม่รู้วงโคจร-เสี่ยงกว่าดาวเคราะห์

หวั่น"ดาวหางมืด"ชนโลก ไม่รู้วงโคจร-เสี่ยงกว่าดาวเคราะห์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดาวหางอาจดูสวยงามชวนฝัน แต่ถ้าเมื่อใดที่โลกเราไปขวางทางมันชนเข้า สิ่งสวยงามนี้ก็จะกลายเป็นมัจจุราชที่ทำลายเผ่าพันธุ์เราได้เหมือนกัน ดาวหางมืด, โลก, วงโคจร, ดาวเคราะห์, ดาวหางด้วยเหตุที่เรื่องดาวหางชน โลกเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันจึงมีโครงการระดับนานาชาติหลายโครงการที่ค้นหาและติดตามวัตถุจำพวกดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสเข้าชนโลก หรือเรียกว่า "วัตถุใกล้โลก" (NEO-Near-Earth Object) ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวัตถุใกล้โลกแล้วราว 6,000 ดวง ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์น้อย บิล เนเปียร์ จากศูนย์ชีวดาราศาสตร์คาร์ดิฟฟ์ในเวลส์ และ เดวิด อาเชอร์ จากหอดูดาวอาร์มากในไอร์แลนด์เหนือ ออกมากล่าวว่า จำนวนดาวหางที่มีอยู่จริงๆ อาจมากกว่าที่เรารู้จักอยู่ตั้งแต่ 10 ถึง 100 เท่า

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า นักดาราศาสตร์เรียกดาวหางที่ยังมองไม่เห็นอยู่นี้ว่า "ดาวหางมืด" ดาวหางพวกนี้มีน้ำแข็งซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ดาวหางสะท้อนแสงสว่างไสวอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นฝุ่นที่อับแสงในหัวดาวหาง ยิ่งกว่านั้น ดาวหางมืดมีวงโคจรที่คาดการณ์ไม่ได้ จึงถือว่าเป็นภัยคุกคามโลกได้มากกว่าดาวเคราะห์น้อยที่มองเห็นได้ง่ายกว่า รอบ แม็กนอต นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไซดิงสปริง และเป็นนักล่า ดาวหางชื่อดัง ก็มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า ยังมีดาวหางมืดอยู่เป็นจำนวนมากที่โครงการนีโอยังตรวจไม่พบ

ส่วน พอล ฟรานซิส จากมหา วิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในแคน เบอร์รายังคงคลางแคลงใจในทฤษฎีนี้อยู่ เขากล่าวว่า หากแม้เรื่องดาวหางมืดจะเป็นเรื่องจริง โอกาสที่ดาวหางจะชนโลกก็ยังมีน้อยอยู่มาก ฟรานซิสกล่าว "โอกาสที่ดาวหางจะมาชนและก่อความเสีย หายแบบเหตุการณ์ทังกัสกาคือหนึ่งครั้งในสิบล้านปี ส่วนโอกาสที่จะพุ่งชนและเสียหายระดับทวีป อยู่ที่ประมาณหนึ่งครั้งในรอบ 60 ล้านปี"

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ หวั่น"ดาวหางมืด"ชนโลก ไม่รู้วงโคจร-เสี่ยงกว่าดาวเคราะห์

หวั่น
หวั่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook