สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT

สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT

สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แฉผู้บริหาร ไม่ให้ความสำคัญ โดยแจกซีดีแนะนำการสอบให้ ร.ร.แต่ผู้บริหารเก้บไว้ไม่ยอม อธิบายให้ครู หรือเด็กฟัง “กษ มา”สั่งขนาบนัดแจงวันประชุม ร.ร.ดังในวันที่ 3-4 ธ.ค.นี้

สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. เวลา 10.30 น. ที่ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย จัดเสวนาเรื่องการศึกษาไทย “ของใคร โดยใคร เพื่อใคร” โดยมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณ-พิทักษ์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร ศ.ดร.อุทุมพรกล่าวว่า การรับสมัครสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT ที่ผ่านมา สทศ.พยายามประชาสัมพันธ์ว่าไม่จำเป็นต้องสอบทุกครั้งทุกวิชา แต่ ให้เลือกสอบครั้งที่มั่นใจที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าสมัคร แต่พบพฤติกรรมการสมัคร มี 29 คน ที่สมัครสอบทุกครั้ง ทุกวิชา นอกจากนี้ สทศ.ได้มอบ ซีดีแนะนำการสอบ GAT และ PAT ให้กับ ร.ร. จำนวน 3,000 แผ่น แต่กลับพบว่าหลายโรงผู้บริหาร ร.ร.ไม่ให้ความสำคัญ เก็บซีดีไว้ไม่ยอมอธิบายให้ ครู หรือเด็กฟัง จึงทำให้การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร

คุณหญิงกษมากล่าวว่า มีหลายฝ่ายถามว่า GAT, PAT จะเป็นการเพิ่มภาระในการสอบมากขึ้นหรือไม่ ตนมองว่าการสอบ GAT, PAT เป็นสิ่งที่ตกผลึกความสามารถที่เด็กมีอยู่ในตัวเอง ซึ่งไม่ผูกพันกับเนื้อหา ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องติว หรือไปเรียนกวดวิชา อย่างไรก็ตาม ในการประชุมผู้บริหาร ร.ร.ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 ธ.ค.นี้ สพฐ.จะเชิญ ศ.ดร.อุทุมพร มาคุยกับ ผอ.ร.ร.ยอดนิยม เพื่อทำความเข้าใจกับผู้บริหารและครูแนะแนว ว่าการสอบ GAT, PAT คืออะไร

น.ส.นฤมล ทิพย์รักษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.ศึกษานารี กล่าวว่า ตอนนี้เด็กมีความเข้าใจเรื่องแอดมิชชั่น GAT และ PAT น้อยมาก ส่วนมากเป็นการรับรู้ว่าต้องสอบมากกว่า ดังนั้น การเสวนาในครั้งนี้จึงเป็นเสมือนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แม้ครั้งนี้จะเป็นการเสวนา สอบถามความคิดเห็นเด็กหลังจากที่ผู้ใหญ่ตัดสินใจไปแล้ว อีกทั้งเมื่อรับฟังความคิดเห็นของเด็กก็ไม่เคยนำไปปฏิบัติ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นการดีที่ทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ตนมองว่าระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กไปเรียนกวดวิชา เพื่อมีความรู้เยอะๆ เห็นแก่ตัว เพราะต้องการแข่งขันให้ชนะผู้อื่น และเด็กมีเวลาทำกิจกรรมน้อยลงเรื่อยๆ.

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT

สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT
สทศ.อึ้งเด็กมึนวัดความถนัด GAT-PAT
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook