ตำนานบั้งไฟพญานาค สิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง
ช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปี โดยเฉพาะคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ปีใดมีเดือนแปดสองหนจะเลื่อนไปอีก 1 วัน คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำของประเทศสปป.ลาว มหาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางหลั่งไหลมาที่อำเภอโพนพิสัย , กิ่งอำเภอรัตนวาปีและที่แก่งอาฮง หน้าวัดอาฮงศิลาวาส อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย อย่างเนืองแน่นชนิดที่หาที่จอดรถไม่ได้ หรือแทบจะเดินไม่ได้ แต่ปี 2546 ระยะทางจากจังหวัดหนองคายไปอำเภอโพนพิสัย เป็นถนน 4 เลน ประมาณ 12 กิโลเมตรก็จะเป็นการระบายรถได้ทางหนึ่ง
มหาชนเหล่านั้นมาเพื่อที่จะร่วมงานประเพณีไหลเรือไฟและจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือมาชมปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นลูกไฟมหัศจรรย์ ที่พุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ที่เรียกว่ามหัศจรรย์นั้น เพราะยังเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น แม้ว่าวันออกพรรษาของแต่ละปีจะคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงกับวันเดิม บั้งไฟพญานาค ก็จะเคลื่อนไปตามวันออกพรรษาของปีนั้น ๆ และทำไมถึงต้องเกิดขึ้น และเกิดขึ้นเฉพาะที่บริเวณอำเภอโพนพิสัย บริเวณกิ่งอำเภอรัตนวาปี และบริเวณบ้านอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ เท่านั้น บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นสู่อากาศแก้วก็หายไป เกิดขึ้นทั้งกลางแม่น้ำโขงและบริเวณใกล้ ๆ ฝั่ง ขึ้นสูงประมาณ 30-50 เมตร บางแห่งขึ้นสูงเป็น 100 เมตร ขนาดของลูกไฟที่เกิดขึ้นนั้น มีขนาดโตเท่าผลส้ม ขนาดกลางเท่าไข่ไก่ ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ เวลาที่เกิดไม่แน่นอนแต่ต้องมืดค่ำก่อนจึงจะเกิด บางปีเกิดตั้งแต่หัวค่ำ เวลา 18.00 น. ) บางปีเกิดในเวลาตั้งแต่ 3-4 ทุ่ม เกิดจนไปถึงเวลาเที่ยงคืน ถึง 02.00 น. จำนวนที่เกิดขึ้นนั้น จำนวนไม่เท่ากัน บางแห่งเกิดขึ้นเพียง 1 ลูก บางแห่งเกิดขึ้น 20 ลูก หรือบางแห่งก็เกิด 50-100 ลูก หรือมีมากกว่านั้น สถานที่เกิดส่วนมากจะเป็นลำแม่น้ำโขง แต่ก็มีบ้างเกิดขึ้นในห้วยหนองที่อยู่ใกล้ กับแม่น้ำโขงและอยู่ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด กิ่งอำเภอรัตนวาปี บริเวณบ้านอาฮง (วัดอาฮง) อำเภอบึงกาฬ อ.ศรีเชียงใหม่ (วัดหินหมากเป้ง) บ้านผาตั้ง อ.สังคม เกิดขึ้นเป็นบางส่วน
ลักษณะการพุ่งขึ้นจากน้ำ ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งพอขึ้นสูงจะเฉเข้าหาฝั่งมากกว่าเฉออกนอกฝั่ง วิ่งเร็วช้าไม่เท่ากัน ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งจะช้า ถ้าเกิดอยู่กลางน้ำจะเร็ว ลักษณะของลูกไฟไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดอยู่บริเวณอำเภอโพนพิสัยจะเป็นสีแดงอมชมพู ถ้าเกิดขึ้นที่แก่งอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ จะเป็นสีเขียวจนเห็นได้ชัด ลูกไฟที่พุ่งขึ้นเมื่อสูงสุดแล้วจะหายไปเฉย ๆ ไม่มีการตกลงมาให้เห็น ลูกไฟที่เกิดขึ้นไม่มีเสียง ไม่มีเปลวเหมือนลูกไฟทั่ว ๆ ไป ไม่มีควัน บริเวณที่พบคือ แม่น้ำโขงบริเวณวัดไทย เขตสุขาภิบาลโพนพิสัย บริเวณวัดจุมพล เขตสุขาภิบาลบริเวณปากห้วยหลวง ที่แม่น้ำห้วยหลวงไหลลงสู่แม่น้ำโขง บริเวณวัดหลวง บริเวณบ้านจอมนาง และที่หนองสรวง ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปากน้ำห้วยเป บ้านน้ำเป กิ่งอำเภอรัตนวาปี บริเวณตลิ่งวัดบ้านหนองกุ้ง กิ่งอำเภอรัตนวาปี หนองต้อน ตำบลบ้านต้อน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย และที่บริเวณแก่งอาฮง บ้านอาฮง ต.หอคำ อ.บึงกาฬ บริเวณนน้ำจะเป็นลูกไฟสีเขียวมรกต แม่น้ำโขงที่มีความยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศจีน ไหลผ่านพม่า ไทย ลาว กัมพูลา และเวียดนาม ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว ต่างก็มใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม การบริโภค เลี้ยงสัตว์ การคมนาคม การประกอบพิธีกรรมทางน้ำ ตลอดจนถึงการพักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนไทยลาสัมพันธ์กันมานาน ในปีหนึ่ง ๆ จะมีผู้เสียชีวิตในลำน้ำโขงปีละไม่น้อย พวกที่เสียชีวิตในลำน้ำโขง คนเฒ่าคนแก่เชื่อว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ (ชาวบ้านเรียกกันว่าเงือก) เทพเจ้าทางน้ำที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือก็คือ เจ้าแม่สองนาง (งู 1 คู่) งู เงือก และพญานาค เป็นสิ่งเดียวกันสุดแต่ว่าใครจะเรียก เพื่อเป็นการเซ่นไหว้และลดการเสียชีวิตของผู้ประกอบการทางน้ำ จึงปรากฏเห็นศาลเจ้าแม่สองนางตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง เช่น ศาลเจ้าแม่สองนาง ที่วัดหายโศก อำเภอเมืองหนองคาย ศาลเจ้าแม่สองนางที่ปากห้วยหลวง, ศาลเจ้าแม่สองนางที่บ้านจอมนาง อำเภอโพนพิสัย ศาลเจ้าแม่สองนางที่หน้าโรงพยาบาล อ.บึงกาฬ ในรอบปีจะมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนางเพื่อให้เจ้าแม่ปกป้องคุ้มครองไม่ให้ประสบภัยอันตรายและเกิดสิริมงคลแก่ผู้ประกอบการทางน้ำ พญานาค งู เงือก คือเทพเจ้าทางน้ำ เป็นความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น จริงเท็จอย่างไรนั้นยากแก่การพิสูจน์ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวัน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 พี่น้องที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขง บริเวณตั้งแต่บ้านวัดหลวง เขต สุขาภิบาลโพนพิสัย ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขงตามสถานที่กล่าวมานี้เรียกกันติดปากมาแต่ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ว่า บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี ความเป็นมานั้นจากการเล่ายองคนเฒ่าคนแก่บอกว่าสมัยที่เป็นหนุ่มสาว ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าในคืนวันเพ็ญเดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อนั่งเรือออกไปหาปลากลางแม่น้ำโขงจะเกิดมีลูกไฟขึ้นรอบ ๆ เรือเป็นจำนวนมาก จนเกิดความกลับต้องพายเรือเข้าหาฝั่งและจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนดังกล่าวเท่านั้น ต่อมาทางอำเภอโดนพิสัยได้จัดงานไหลเรือไฟ และชมบั้งไฟพญานาค มีการประชาสัมพันธ์กัน ประชาชนจากทั่วสารทิศ ได้มากันมาดูบั้งไฟพญานาคอสิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง บางคนก็มาด้วยการอยากรู้เพื่อพิสูจน์ด้วยตาตนเอง ซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้ที่มาดผิดหวัง
คนที่มาดูจากทั่วสารทิศเมื่อเห็นกับตาตัวเองก็ยังไม่แน่ใจคิดว่าจะต้องมีคนทำขึ้นเองบ้าง ความคิดจึงได้แตกต่างกันออกไปแต่ก็พอแยกได้คือ
1. กลุ่มคนรุ่นใหม่คือพวกหัววิทยาศาสตร์ ซึ่งก็มีความเชื่อว่าลูกไฟที่พุ่งขึ้นมานั้นเป็นการรวมตัวกันของก๊าซหรือแร่ธาตุ เมื่อรวมตัวกันแล้วถูกแรงอัดพุ่งขึ้นเหนือน้ำทำให้เกิดปาฏิกิริยากับยอากาศแล้วเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ก็มีผู้แย้งว่า ทำไมต้องมาเกิดเฉพาะวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เท่านั้น
2. กลุ่มไม่แสดงความคิดเห็น ดูแล้วเห็นว่ามีลูกไฟขึ้นมาจากลำแม่น้ำโขง
3. กลุ่มหัวโบราณ มีความเชื่อว่าลำแม่น้ำโขงเป็นที่อยู่ของพวกนาค ซึ่งเป็นเทพพวกหนึ่ง สามารถแปลงกายเป็นงูหรือคนได้
ลำน้ำโขงบริเวณอำเภอโพนพิสัย เป็นภพหรือเมืองหน้าด่านที่เป็นทางขึ้นสู่เมืองมนุษย์ของเหล่าพญานาค ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดวงดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับพระพุทธองค์ บรรดาพญานาคที่อยู่ตามลำแม่น้ำโขงจึงทำบั้งไฟถวายเป็นพุทธลูกไฟ พุ่งขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง จึงเรียนกันว่า บั้งไฟพญานาค ตามบริเวณเขตอำเภอโพนพิสัย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองหน้าด่านและโดยเฉพาะที่บริเวณวัดไทย ลานวัดจะเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีคนฝันเห็นเรือขนาดใหญ่ขวางอยู่ลานวัด ลูกไฟที่เกิดขึ้นบริเวณนี้จะเป็นสีแดงอมชมพู จากอำเภอโพนพิสัยถึงบ้านน้ำเป จะเป็นเมืองน้อยใหญ่ก่อนจะถึงตัวเมืองคือที่บ้านอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ ที่สำคัญคนยังรู้ไม่มากก็คือ ตลอดลำน้ำโขง ระยะความยาว 4,000 กิโลเมตรนี้ ตรงที่ลึกที่สุดที่เรียกว่า สม่น้ำโขง ขณะนั้นอยู่ที่แก่งอาฮง คนเฒ่าคนแก่เคยวัดโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปวัดได้ 98 วา และตรงนั้นจะเป็นแอ่งขนาดใหญ่น้ำไหลวน เมื่อหน้าแล้งจะเห็นได้ชัดเจนมาก ตรงที่ลึกที่สุดยังมีถ้ำขนาดใหญ่ ถ้าน้ำจะไปทะลุถึงที่ฝั่งลาวด้านหลังภูงูในประเทศลาว
นอกจากนี้แก่งอาฮงจะเป็นที่ลึกสุดของแม่น้ำโขงแล้ว ยังเป็นภพหรือเมืองหลวงของพญานาค บางวันคนเฒ่าคนแก่บอกว่าระหว่างแก่งอาฮงจะมีลักษณะ เหมือนงูขนาดใหญ่ว่ายข้ามมาจากฝั่งไทยไปยังฝั่งลาว ในลักษณะตรง น้ำแตกเป็นฟอง ถ้าหากไปดูบริเวณริมฝั่งโขงจะเห็นรอยพญานาคปรากฏอยู่ ฝรั่งตรงข้ามกับแก่งอาฮงจะมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อยู่องค์หนึ่งริมแม่น้ำโขง และในวันขึ้น 15 ค่ำ จะมีเหล่าวิญญาณต่าง ๆ มาทำเสียงไม่เหมือนเสียงมนุษย์มาชุมนุมกันทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เรื่องนี้หากถามผู้เฒ่าผู้แก่ท่านก็จะพูดให้ฟังได้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้น ทุก ๆ ปี ตลอดเป็นที่รวมของเหล่าวิญญาณต่าง ๆ ด้วย จากการบอกเล่าของพ่อเฒ่าอุ่นหล้า อัศศมนตรี อายุ 91 ปี อยู่บ้านเลขที่ 435 คุ้มวัดศรีคุณเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในสมัยหนุ่ม ๆ เป็นนายท้ายเรือที่ล่องเรือไปมาระหว่างหนองคาย-บึงกาฬ เมื่อถึงฤดูน้ำเต็มตลิ่ง เมื่อผ่านมาถึงแก่งอาฮง บริเวณที่เรียกว่า
สะดือแม่น้ำโขง จะเห็นสิ่งประหลาดมองห่างจากเรือประมาณ 1 กิโลเมตร มีต้นตาลขนาดใหญ่ ไม่มีใบโผล่ขึ้นมาจากน้ำราว ๆ 2 เมตร มีละอองน้ำเป็นฝอย ๆ รอบ ๆ ต้นตาลสีดำมัน แต่เมื่อเดินเรือเข้าไปใกล้ ๆ จะไม่มีอะไร ทำให้ผู้คนที่เดินทางตามลำน้ำ เมื่อผ่านบริเวณนี้ก็จะนำพวกหมากพลู เหล้าขาว โยนลงไปในน้ำเพื่อเป็นการเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บริเวณแก่งอาฮงมีความประหลาดอีกประการคือ ศพจะไหลไม่พ้นแก่งอาฮง เมื่อมีคนหรือศพตกลงในแม่น้ำโขงเหนือแก่งอาฮงไม่ว่าที่ใด ถ้าหาศพไม่พบจะหาพบได้ที่นี่ คือแก่งอาฮง สิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นจากกลางแม่น้ำโขงที่เรียกว่า บั้งไฟพญานาค หรือรอยประหลาดที่เกิดขึ้นบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอดหน้าวัดไทย อำเภอโพนพิสัย ถึง 5 ครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เพื่อแสดงให้เห็นว่าพญานาคนั้นมีจริง เนื่องจากไม่มีคนเชื่อ จึงเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้เห็น ซึ่งรอดประหลาดนี้มีคนเชื่อว่าเป็นรอยพญานาค
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางพิสูจน์ต่อไป ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร เชื่ออย่างไร แต่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นประจำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 คือวันออกพรรษาหากใครไม่เชื่อก็ไปพิสูจน์ด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเห็นที่บริเวณอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี และบริเวณแก่งอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย บทความนี้เป็นความเชื่อเฉพาะถิ่น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
content by www.nongkhai.go.th
อัลบั้มภาพ 4 ภาพ