แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย

แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย

แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดนตรีไทย

งานประเพณีไทย ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน

ที่มีขึ้นประจำและบ่อยครั้ง คือประเพณีการบวชนาค ประเพณีการโกนจุก และประเพณีงานศพ ฉะนั้นดนตรีไทย อยู่คู่กันคนไทยมานาน ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ดนตรีไทยจึงมีความสำคัญมาก ทำให้งานครึกครื้นและเพลิดเพลิน และยังบ่งบอกให้ทราบงานนั้นๆ ว่าคืองานอะไร เสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกไปนั้น เป็นงานมงคล หรืองานอัปมงคล เป็นต้น

ความแตกต่างของดนตรีไทยในสมัยอดีตปัจจุบัน - ดนตรีไทยในสมัยอดีต

จะบรรเลงตามงานวัด หรืองานประเพณีที่มีขึ้นตามบ้าน และในสมัยปัจจุบัน ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ อัตราค่าจ้างที่รับในการเล่นดนตรี มักจะนำมาเลี้ยงดูกัน แต่ปัจจุบันการเล่นดนตรี 1 งาน จะได้รับค่าจ้างในราคา 6,000 บาท เป็นเวลา 1 วัน 1 คืน คือเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายในงานวันแรก ถึงช่วงกลางคืนของงานวันสุดท้าย การนิยมเพลงไทยในสมัยอดีต กับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ในสมัยอดีตมักจะนิยมเพลงไทยมาก ผู้ที่ฟังดนตรีไทยในสมัยนั้น ถึงแม้จะเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ก็ชำนาญในการฟังเพลง ทราบถึงคุณภาพของผู้ร้อง ว่าบุคคลใดร้องเพลงได้มีคุณภาพ หรือไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันบางครั้ง อาจไม่ทราบว่าใช้ในงานอะไร

วิธีการเรียน และขั้นตอนในการเรียนดนตรีไทย การเรียนดนตรีไทย ตามประเพณีของโบราณ

จะเลือกเรียนวันพฤหัสเป็นวันเริ่มแรก ผู้ที่สมัครเรียนต้องเตรียมอุปกรณ์ คือ ขันขาว 1 ใบ ผ้าเช็ดหน้า ธูป เทียน ดอกไม้ เงิน 6 บาท เพื่อมอบแก่ครู ต่อจากนั้นครูจะสอนเพลงสาธุการ และฝึกเพลงโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น เพลงตับ เพลงพระฉันท์เช้า เพลงพระฉันท์เพล อาบน้ำนาค เป็นต้น ครูจะให้ศิษย์ฝึกเพลงเรื่องมากๆ เพื่อเป็นการฝึกมือให้เกิดความชำนาญ เมื่อชำนาญแล้ว จะแยกเครื่องมือ และดูความเหมาะสม เกี่ยวกับผู้สมัครเรียนหรือศิษย์ ว่าสมควรจะเล่นดนตรีประเภทใด

เมื่อแยกประเภทเรียบร้อยแล้ว

เราก็จะเริ่มฝึกประเภทเสภา และต่อเพลงโหมโรงเย็น สาธุการ เชิด ไอยเรศ ผู้สอนจะพยายามต่อเพลงเรื่อยๆ ไม่ให้ขาด เมื่อจบเพลงประเภทเสภา ต่อจากนั้น ครูจะต่อเพลงหน้าพาทย์ให้กับศิษย์ คือเพลงโหมโรงกลางวัน และต่อด้วยการฝึกเดี่ยว เพื่อดูการพัฒนาในการฝึกซ้อมของผู้เล่น และอาจจะให้ต่อหน้าพาทย์ เพราะส่วนใหญ่ จะใช้ประกอบกับเพลงตับ ซึ่งเป็นต้นเพลง และต้องต่อรามออกและรามเข้า แล้วอีกหลายเพลง ที่ครูจำเป็นต้องฝึกสอนให้ศิษย์ การเรียนดนตรี จะไม่มีจุดจบของการเรียน จำเป็นต้องเรียนต่อไป จนกระทั่งประพันธ์เพลงได้หรือเป็นครูคน

ประเภทของดนตรี

ดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทปรบไก่ และประเภทสองไม้ ในการสอนศิษย์ในการประพันธ์เพลง ครูมักจะให้ศิษย์หัดเพลงประเภทปรบไก่ เพราะเพลงประเภทนี้มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว เพลงประเภทสองไม้ มีรูปแบบที่ไม่แน่นอน เพราะเพลงประเภทนี้มีการยืดหยุ่นได้

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย

แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย
แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook