ตามรอยบาท จีซัสไครสท์

ตามรอยบาท จีซัสไครสท์

ตามรอยบาท จีซัสไครสท์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธันวาคมจัดว่าเป็นเดือนสำคัญของคริสต์ ศาสนิกชน เพราะมีวันคริสต์มาสหรือวันสมภพของพระเยซูไครสท์ ศาสดาที่ชาวคริสต์คารวะบูชา หนนี้เราจึงควรมาอ่านเรื่องราวสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่านกันดีไหมครับ เริ่มกันจากสถานที่ประสูติ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี ในชื่อ เมืองน้อยแห่งเบ็ธเลเฮม เชื่อกันว่าเคยเป็นเมืองหลวงของกษัตริย์เดวิดแห่งยิวในอดีตกาล เบ็ธเลเฮมนั้นอยู่ห่างจากนครเยรูซาเลมอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสราเอลไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ไม่กี่ไมล์ เป็นเมืองที่มีคำทำนายว่ามหาบุรุษผู้มาปลด ปล่อยชาวยิว จะมาจุติที่นี่ ซึ่งก็เข้าเค้ากับที่ไบเบิลกล่าวว่า เขาผู้นั้นสืบทอดเชื้อสายมาจากกษัตริย์เดวิด ณ จุดที่ประสูตินั้น มีโบสถ์สร้างคลุมไว้ (Church of Nati vity) สิ่งที่น่าสะดุดใจของโบสถ์นี้คือประตูขนาดเล็กซึ่งสร้างขึ้นในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นการป้องกันมิให้โจรเข้ามาขนสมบัติออก ไปโดยง่าย

แต่โบสถ์ปัจจุบันนี้สร้างโดยจักรพรรดิ จัสติเนียนแห่งไบเซนไทน์เมื่อราว 500 ปีหลังคริสตกาล ภายในมีถ้ำที่พระคัมภีร์ระบุว่าพระแม่ มารีทรงให้กำเนิดทารกน้อยจีซัส และห่อหุ้มทารกด้วยผ้าแล้ววางไว้ในรางหญ้า หากท่านว่านักโบราณคดีหลายคนข้องใจว่าประสูติที่นี่จริงหรือ เนื่องจากในสองพันปีก่อนโน้นเมืองแห่งเดวิดนี้ได้ร้างผู้คน ไม่มีบ้าน ไม่มีโรงเตี๊ยม ไม่มี อะไรเลย พวกเขาจึงลองสำรวจดูทาง ด้านเหนือขึ้นไปราว 100 ไมล์ ใกล้กับเมืองนาซา เร็ธที่พระเยซูทรงเติบโตที่นี่มีโบสถ์แห่งหนึ่งซึ่งบางคนเชื่อว่าน่าจะ เป็นสถานที่ประสูติแท้จริงกว่าเมืองนี้มีชื่อเรียกว่า เบ็ธเลเฮมแห่งกาลิลี ซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษแรกนั้นมีความรุ่งเรือง โดยเป็นเมืองที่มีการค้าขายคึกคัก ยังมีร่องรอยเดิมของถนนหนทางตลอดจนมีโบสถ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ยิว เคยสร้างและที่สำคัญคือพบ เหยือกหินที่นิยมใช้กันในสมัยช่วงชีวิตขององค์เยซู

 

การที่นักโบราณคดีเชื่อเช่นนั้น มีเหตุผลหนึ่งก็คือ หลังจากให้กำเนิดทารก พระแม่มารีต้องเดินทางไปยังนาซาเร็ธถิ่นฐานมาตุภูมิตามคำสั่งของโรมัน ซึ่งยึดครองดินแดนจูเดียในขณะนั้น แต่เบ็ธเลเฮมทางตอนใต้ อยู่ไกลเกินกว่าสตรีแรกคลอดบุตรจะเดินทางได้ จึงน่าจะเป็นว่าพระนางได้ออกเดินทางมาใกล้นาซาเร็ธแล้ว และให้กำเนิดทารกเยซู ณ เบ็ธเลเฮมทางเหนือนี่เอง ปัจจุบันนาซาเร็ธเป็นเมืองธุรกิจในแถบทะเลสาบกาลิลี แต่เมื่อสองพีประชากรอาศัยอยู่เพียง 400 คน บ้านเรือนสร้างด้วยดินเหนียว และกลายเป็นผงฝุ่นไปหมดแล้ว โบสถ์ ใหญ่สัญลักษณ์แห่งการอุ้มชูพระเยซู (Church of the Annunciation) เป็นจุดสำคัญของนาซาเร็ธ ทุกวันนี้ แต่เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่แล้วมานี้เอง แล้วก็มาถึงนครสำคัญคือ เยรูซาเลม ในคริสตกาลนั้น เยรูซาเลมเป็นหัวใจของดินแดนจูเดียอาณาจักรแห่งยิว พระคัมภีร์ระบุว่า พระเยซูเสด็จมายังนครนี้สามคราด้วยกันคือ หนึ่ง เมื่อ 40 วันหลังการประสูติ โดยบิดา มารดาได้นำมาให้พระทำพิธีในโบสถ์ สอง เมื่อทรงมีอายุ 12 ปี มาเยรูซาเลมเพื่อสั่งสอน และสาม เสด็จมาหนึ่งอาทิตย์ก่อนสิ้นพระ ชนม์ โดยเข้ามาอย่างผู้ได้รับความชื่นชม หากทว่ากลับออกไปอย่างถูกตรึงกางเขน ครั้งแรกที่ทรงมาถึงนั้น นครเยรูซาเลมต่างจาก นาซาเร็ธของพระองค์มากมาย สิ่งก่อสร้างที่นี่ล้วนใหญ่โตมโหฬาร โดยเฉพาะ เนินวิหาร (Temple Mount) อันเกิดจากการสร้างสรรค์ของกษัตริย์ เฮรอดผู้ประสงค์จะแสดงถึงความ ยิ่งใหญ่เยี่ยงจักรพรรดิ ในปีที่ 15 ก่อน ค.ศ. เฮรอดทรงวางแผนสร้างวิหารโอฬารนี้ โดยให้มีเนื้อที่กว้างขวางเทียบเท่ากับสนามฟุตบอลปัจจุบันถึง 25 เท่า ส่วนกำแพงล้อมรอบก็มีความยาวทั้งสิ้นราวหนึ่งไมล์ มีความหนา 15 ฟุต และสูงกว่าพื้นดินเบื้องล่างถึง 120 ฟุต! จัดเป็นสิ่งก่อสร้างฝีมือมนุษย์ที่ใหญ่สุดในยุคนั้น

แต่สิ่งตระการตากว่าอื่นใดก็คือตัววิหารศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง พระคัมภีร์ระบุว่า เมื่อจีซัสทรงมาเห็นวิหารนี้ก็ชี้และตรัสว่า เจ้าเห็นอาคารมโหฬารนี้หรือไม่? แต่ต่อไปจะไม่เหลือแม้หินสักก้อน 40 ปีต่อมา คำทำนายนี้ก็เป็นจริง เมื่อทหารโรมันบุกทำลายวิหารเสียสิ้น มีถังเก็บน้ำฝนอยู่ 30 แห่งทั่วนคร นอกเหนือจากใช้ดื่มกินแล้ว ชาวยิวยังต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าสู่วิหาร มีบ่อน้ำหลายบ่อสำหรับการนี้ ซึ่งเรียกกันว่า มิกวาห์ และหนึ่งในบ่อน้ำนี้เองที่องค์จีซัสได้สร้างปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้ายด้วยการรักษาคนตาบอด ด้วยการนำฝุ่นจากพื้นดินขึ้นมาบ้วนน้ำลายใส่ แล้วป้ายที่ตาชายตาบอดผู้นั้นพร้อมกับสั่งว่า เจ้าจงไปชำระล้างที่บ่อแห่งสิโลม จากการสำรวจของนักโบราณคดีเชื่อว่าบ่อแห่งสิโลมนั้น ปัจจุบันชื่อว่าบ่อเบเธสดา อยู่ทางเหนือของวิหาร มีผู้คนหลายหลากพากันไปรักษาตัวด้วยเชื่อมั่นว่าเป็นบ่อศักดิ์สิทธิ์

แล้วเราก็มาถึงสถานทีอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ เส้นทางที่องค์เยซูถูก ทหารโรมันควบคุมตัวมาตรึงกางเขน พระคัมภีร์ระบุว่า ภายหลังถูกจับกุม โรมันได้นำพระองค์มากักขังไว้ที่จวนของ ปอนติอุส ไพเลต ข้าหลวงโรมันประจำอาณาจักรจูเดีย แต่นักโบราณ คดีสมัยใหม่แย้งว่าน่าจะเป็นป้อมแอนโตเนีย อันเป็นกองบัญชาการของทหารโรมันมากกว่า ป้อมนี้อยู่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของวิหาร ดังนั้น เส้นทางที่พระเยซูแบกกางเขนมายังลานตรึงกางเขน จึงน่าจะตั้งต้นจากป้อมนี้ และเรียกกันว่า via Dolorosa ซึ่งหมายถึง เส้นทางระทมทุกข์ พระองค์ถูกสวมมงกุฎหนาม ถูกเฆี่ยนตีระหว่างแบกไม้กางเขนอันหนักอึ้งตลอดเส้นทาง ท่ามกลางฝูงชนสองข้างทางที่เฝ้าดู สุดท้าย จุดที่พระองค์สิ้นพระชนม์และถูกฝังนั้นอยู่ที่ใด ในไบเบิลกล่าวถึงชื่อ กอลโกธา อนุสรณ์ กะโหลก ว่าคือที่ซึ่งสิ้นพระชนม์ ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโบสถ์ Holy Sepulchre ใจกลางนครเยรูซาเลม หากทว่านักโบราณคดียังข้องใจว่าสมัยนั้นตามประเพณียิวจะไม่ทำการประหาร หรือฝังศพผู้ใดภายในเขตนครอันศักดิ์สิทธิ์ กอลโกธา จึงน่าจะอยู่นอกเยรูซาเลม หรือชานเมืองมากกว่าและเป็นไปได้ว่า อยู่ในบริเวณสุสานหนึ่งของยิว ครับ ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ก็ยังหาที่สรุปมิได้ ด้วยเหตุการณ์ผ่านมาเนิ่นนานจนหลักฐานต่างๆไม่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ และสิ่งก่อสร้างต่างๆที่เรา เห็นอยู่ส่วนใหญ่ก็สร้างหรือบูรณะขึ้นภายหลัง อย่างไรก็ตามถ้าอยากเห็นบรรยากาศของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ก็ติดตามชม ได้ในทรูวิชั่นส์ทีวีช่อง HISTORY (44) เรื่อง JESUS'S JERUSALEM ในวันที่ 20 ธันวาคม 2550 เวลา 20.00 น. ครับผม. ต่วย'ตูน'

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ตามรอยบาท จีซัสไครสท์

ตามรอยบาท จีซัสไครสท์
ตามรอยบาท จีซัสไครสท์
ตามรอยบาท จีซัสไครสท์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook