10 สถาปัตย์อัศจรรย์แดนมังกร
1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง กำหนดสร้างเสร็จปี 2007 จีนมีแผนที่จะสร้างสนามบินใหม่ถึง 108 แห่งระหว่างปี 2004-2009 ซึ่งรวมทั้งสนามบินนานาชาติปักกิ่งแห่งนี้ ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2007 เพื่อต้อนรับโอลิมปิก 2008 โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 43 ล้านคนในปีแรก และเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015สนามบินโฉมใหม่ที่มีขนาดกว่า 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกานี้ เป็นฝีมือของผู้ออกแบบสนามบินเช็กแลพก๊อกของฮ่องกงด้วย นั่นคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทาง ที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด ฟอสเตอร์ ได้แบ่งอาคารที่กว้างขว้างใหญ่โตของสนามบินนานาชาติปักกิ่งออกเป็น 2 ข้าง ทอดตัวจากทิศใต้ไปสู่ทิศตะวันออก เพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงอาทิตย์ แต่ติดสกายไลท์ให้แสงแดดละมุนละไมได้ฉายส่องเข้ามาพร้อมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร
2. เดอะคอมมูน กรุงปักกิ่ง เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี 2010 เดอะคอมมูน (The Commune) เกิดขึ้นตามความตั้งใจของคู่รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท จางซิน และพานซื่ออี๋ ที่ลงทุนควักกระเป๋าให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้นปัจจุบัน เดอะคอมมูน เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นโฮเทลบูติค ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้ จากเยอรมนี ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก
3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้ กำหนดสร้างเสร็จปี 2008 ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย ในเขตผู่ตง ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า 101 ชั้น Kohn Pedersen Fox Architects ผู้ออกแบบเล่าว่า การสร้างให้ตึกต้านทานแรงลมได้ ถือเป็นความท้าทายของงานนี้ ในที่สุด จึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่ 100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังสามารถบรรเทาแรงลม ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย
4. สระว่ายน้ำแห่งชาติ ปักกิ่ง กำหนดเสร็จปี 2008สระว่ายน้ำแห่งชาตินี้ สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระ น้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝั่งไว้ใต้ดิน นอกจากนั้น เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublins Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสามารถต้านทานกับแรงสั่นสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย
5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) ปักกิ่ง กำหนดสร้างเสร็จปี 2008อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน มองอุโมงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างคือ Ove Arup
6. Linked Hybid ปักกิ่ง กำหนดสร้างเสร็จปี 2008สถาปัตยกรรมแห่งที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ Linked Hybid เป็นที่ตั้งของบ้าน 2,500 หลัง อพาร์ทเม้นท์ 700 ห้อง บนเนื้อที่ขนาด 1.6 ล้านตารางฟุต ถือเป็นตึกใหญ่สุดในโลกที่มีใช้ระบบชีวภาพในการทำความเย็นและให้ความอุ่น เพื่อรักษาอากาศทั้ง 8 ตึกให้คงที่ ในชั้นที่ 20 สร้างเป็นวงแหวน บริการ ที่เชื่อมต่อกันทุกตึก ครบครันด้วยบริการต่างๆ ทั้งซักผ้ายันร้านกาแฟ Steven Holl และ Li Hu ยังออกแบบให้ ฝั่งท่อน้ำสองสายลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร สำหรับให้น้ำไหลเวียน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกระจายความร้อน และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทำน้ำเดือดหรือแอร์ทำความเย็น ขณะเดียวกัน ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะรวบรวมน้ำจากห้องครัวและอ่างน้ำทั่วอาคาร มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในห้องส้วม
7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน เจียงซู อยู่ระหว่างวางแผน คาดว่าเฟสแรกจะเสร็จปี 2010 เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของแดนมังกรออกแบบและพัฒนาโดย ซ่างไห่ อินตัสเทรียล คอร์ป ที่คาดว่าจะมีขนาดเทียบเท่ากับเกาแมนฮัตตัน ตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน กลางลำน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2040 อย่างไรก็ตาม เฟสแรกของโครงการนี้ จะเรียบร้อยก่อนที่งานเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้จะเปิดฉากขึ้นในปี 2010 ซึ่งจะมีประชากรราว 50,000 คน เข้าอยู่อาศัยที่นี้ จากนั้นอีก 5 ปี ระบบพิเศษต่างๆ จะเริ่มใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบจัดการน้ำเสีย และการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่ พร้อมด้วยถนนสายใหญ่ที่จะเชื่อตรงสู่นครเซี่ยงไฮ้อย่างสะดวกสบาย
8. สนามกีฬาโอลิมปิก - ปักกิ่ง กำหนดเสร็จปี 2008 สนามกีฬาหลายแห่งในโลก ออกแบบโดยเดินตามรอยสนามกีฬาชื่อดังของโลก โคลิเซี่ยมแห่งโรม แต่สนามกีฬานานาชาติของ Herzog & de Meuron ในปักกิ่งนี้พยายามที่จะคิดออกแบบใหม่ให้เอื้ออำนวยต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมากขึ้นสถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron ต้องการที่จะช่องระบายอากาศตามธรรมชาติ ในสนามกีฬาโครงสร้าง 91,000 ที่นั่ง อาจถือได้ว่า เป็นสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ สนามกีฬาดังกล่าวซึ่งจะใช้จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ รังนก ที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังต้องห้ามของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ
9. สะพานตงไห่ เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน เปิดใช้ธันวาคม 2005สะพานข้ามทะเลแห่งแรกของจีน ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 สะพานดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ใช้เงินลงทุนราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนครงสร้างหลักมีความยาว 32.5 กิโลเมตร กว้าง 31.5 เมตร มีทางรถวิ่ง 6 เลน และเพื่อความปลอดภัยในการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นและคลื่นลมแรง สะพานตงไห่ถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวเอส (S) เชื่อมจากอ่าวหลู่หูในเขตหนันฮุ่ยเมืองเซี่ยงไฮ้ ข้ามอ่าวหังโจว ไปยังเกาะเสี่ยวหยังซันในมณฑลเจ้อเจียง ที่ได้วางแผนไว้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งแรกของจีน (และจะเป็นท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2010 ทั้งนี้ สะพานตงไห่ถูกก่อสร้างโดยความร่วมมือระหว่าง ไชน่าจงเที่ย เมเจอร์ บริดจ์ เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป และเซี่ยงไฮ้ # 2 เอนจิเนียริ่ง และเซี่ยงไฮ้ เออร์บัน คอนสตรักชั่น กรุ๊ป
10. โรงละครแห่งชาติ ปักกิ่ง กำหนดสร้างเสร็จปี 2008ตั้งอยู่กลางกรุงปักกิ่ง ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีเนื้อที่ 490,485 ตารางฟุต มีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2008 โครงสร้างภายนอกประกอบขึ้นจากกระจกผสมไทเทเนี่ยม ดูคล้ายกับทะเลสาบ ซึ่งผู้ออกแบบจงใจให้สถาปัตยกรรมดูโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางถนนและตึกรามแบบโบราณ สำหรับผู้ออกแบบคือสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อดัง พอล อังโดร ที่มีผลงานออกแบบที่มีชื่อเสียง เช่น อาคาร 1 ของสนามบินชารลส์ เดอ โกล โรงละครแห่งชาติ แห่งนี้แบ่งพื้นที่เป็น ในโรงโอเปร่า 2,416 ที่นั่ง คอนเสิร์ตฮอล 2,017 ที่นั่ง และโรงภาพยนตร์ 1,040 ที่นั่ง พื้นผิวของผนังที่กึ่งโปร่งแสงจะทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาในตอนกลางคืนจะมองเห็นการแสดงด้านในวับๆ แวบๆ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแห่งนี้.
เรียบเรียงจากบิสิเนสวีค http://images.businessweek.com/ss/05/12/china_wonders/source/1.htm?chan=globalbiz_asia_innovation+%2B+design