งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64
ผ่านไปแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ ได้ติดตามชมกันรึเปล่า กับกิจกรรมของนิสิต จุฬาฯ และ นักศึกษา ธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่64 งานนี้ต้องบอกว่า ลีดเดอร์ กองเชียร์ สาวสวย หยุ่มหล่อ มากันเพียบ ทางทีมงาน S! Campus ได้รวบรวมเก็บตก ภาพความประทับใจมาฝากกันแล้วจ้า..... ไปชมกันเลย ชมภาพบรรยากาศงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่64 ขบวนพาเรด ล้อการเมือง ดรัมเมเยอร์ และสีสันกองเชียร์มากมาย..คลิกที่รูปเลยค่ะ ภาพเชียร์ลีดเดอร์จุฬาฯ รุ่นที่ 64 ..คลิกที่รูปได้เลย ภาพเชียร์ลีดเดอร์ธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 64 ..คลิกที่รูปได้เลย
รวมเรื่องเด็ด งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64 งานบอลปีนี้เสาร์ที่ 17 พ.ค. มาดูรายชื่อนักฟุตบอล ของทั้งจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ตำนานเชียร์ลีดเดอร์จุฬาฯ ในวงการบันเทิง รูปเชียร์ลีดเดอร์จุฬาฯ รุ่นที่ 64 รูปเชียร์ลีดเดอร์ ม.ธรรมศาสตร์ รุ่น 64 ชุดที่1 รูปเชียร์ลีดเดอร์ ม.ธรรมศาสตร์ รุ่น 64 ชุดที่2 จุฬาฯได้แล้ว 10 ตัวแทนน้องพี่สีชมพู ทูตฯ มธ.ตามรอยเจ้าฟ้า พระอาจารย์ “เลือดไม่แบ่งสี” ชวนทำความดี บริจาคเลือด รับปีใหม่ ประชาชนหลั่งไหลบริจาคโลหิตในงาน เลือดไม่แบ่งสี ลีดจุฬาฯ ชุดนิสิตเเละ เสื้อเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64 จุฬาฯฟื้น ตำนานดรัมเมเยอร์ ไปดูภาพดรัมเมเยอร์น่ารักๆ งานบอลฯครั้งที่ 64 ฝั่งจุฬาฯ กันจ้า ไปดูภาพดรัมเมเยอร์น่ารักๆ งานบอลฯครั้งที่ 64 ฝั่งธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 63 งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 62
กำเนิดฟุตบอลประเพณี ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ก่อกำเนิดครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2477 โดยแนวความคิดของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเคยเรียนอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ได้หารือกันว่าควรจะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสถาบันเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีระหว่าง นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันและควรจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ผู้ริเริ่มฝ่ายธรรมศาสตร์มีพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค บุศย์ สิมะเสถียร และฝ่ายจุฬาฯ มี ประสงค์ ชัยพรรค,ประถม ชาญสันต์ และประยุทธ สวัสดิ์สิงห์ การแข่งขันครั้งแรกนั้นทางฝ่ายธรรมศาสตร์คือ ดร.เดือน บุนนาค เลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองสมัยนั้นรับจัดการแข่งขัน และได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบันการแข่งขันทุกปีนั้น ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า รายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะมีการมอบการกุศลทุกครั้งโดยในครั้งแรกซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ณ สนามหลวง ท้องทุ่งพระสุเมรุ มีการเก็บเงินค่าผ่านประตูบำรุงสมาคมปราบวัณโรค ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดของไทยขณะนั้น หลังจากนั้นก็มีการเก็บเงินบำรุงการกุศลเรื่อยมา เช่น ในช่วงแรก ๆ มีการเก็บ เงินบำรุงทหาร สมทบทุนสร้างเรือนพักคนไข้วัณโรคช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยบำรุงสภากาชาด บำรุงมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก สมทบทุนอานันทมหิดล สร้างโรงเรียนชาวเขา ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีการเก็บเงินเพื่อบำรุงการศึกษาของทั้งสองสถาบัน และตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 34 (พ.ศ. 2521) จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้นำเงินรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ด้านสถานที่ที่ใช้ในการแข่งขัน มีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นที่แข่งขัน ครั้งที่ 2, 3, 4 ได้ย้ายไปจัดที่สนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และนับตั้งแต่ครั้งที่ 5 เป็นต้นมาได้ย้ายมาจัดที่ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นครั้งที่ 41 และ 44 จัดที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์) แม้ว่าจะถือเป็นประเพณีว่าการจัดการแข่งขันจะจัดเป็นประจำทุกปี แต่ในบางปีสถานการณ์บ้านเมืองไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดงาน จึงได้มีการงดเว้นในหลาย ๆ ช่วงคือ ในปี พ.ศ. 2485 เนื่องจากเกิดน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2487-2491 ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงคราม พ.ศ. 2494 มีเหตุขัดข้องบางประการ พ.ศ. 2516-2518 และ พ.ศ. 2520 ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองไม่อำนวย อนึ่ง นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 10 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา เสียงเพลงพระราชทาน "มหาจุฬาลงกรณ์" และ "ยูงทอง" ได้ก้องกังวานขึ้นเป็นครั้งแรกที่มี การชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ได้เสด็จมาทรงเป็นประธาน และตั้งแต่ครั้งที่ 12 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน มีการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งของนิสิต-นักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน ในการที่จะรักษาประเพณีอันดี ความสามัคคีของทั้ง 2 สถาบันให้แน่นแฟ้นสืบไป ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64 ได้ฤกษ์โม่แข้ง เสาร์ที่ 17 พ.ค. 2551 ณ สนามหญ้าเทียม จุฬาลงกรณ์ฯ เวลา 15.00 น. ช่อง NBT ถ่ายทอดสด ปีนี้งดการแปรอักษร แต่ขบวนพาเหรด, เชียร์ลีดเดอร์ ยังคงเดิม พร้อมรื้อฟื้น ดรัมเมเยอร์ ที่หายไปนานกลับมาอีกครั้ง ไฮไลต์อยู่ที่การแสดงร่วมกันของนิสิตทั้ง 2 สถาบัน "ย้อนมองพระเมตตา" ที่จะเป็นการบรรเลงเพลง "แสงหนึ่ง" แด่สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ ด้านฟุตบอลเปิดโผออกมาแล้ว จุฬาฯ นำโดย "ลีซอ" ธีรเทพ วิโนทัย ขณะที่ ธรรมศาสตร์ มี พิชิตพงษ์ เฉยฉิว นำทัพ
อัลบั้มภาพ 58 ภาพ