มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน

มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน

มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระบบโควตา ปีการศึกษา 2552 ในโควตาวิทยาเขต โควตาพื้นที่ โควตาเยาวชนดีเด่น โควตาโครงการพิเศษ และโควตาส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ รวม 1,932 คน รับสมัคตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2551 ทางออนไลน์

มหาวิทยาลัยมหิดล, เรียนต่อ, ทุนการศึกษา, เรียนฟรี, ปริญญาตรี, ระบบโควตา, โค้วตา

คณะ/หลักสูตรที่รับเข้าศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการ พสวท.) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการศรีตรังทอง) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การเกษตร) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ธรณีศาสตร์) คณะเทคนิคการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) (รับผู้มีประสบการณ์การทำงานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค)(รับผู้มีประสบการณ์การทำงานวิชาชีพรังสีเทคนิค) คณะสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กิจกรรมบำบัด) คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (รับผู้มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล/ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การออกกำลังกายและการกีฬา) คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมชีวการแพทย์) วิทยาลัยการจัดการ หลักสูตรการจัดการบัณฑิต (วิทยาเขตกาญจนบุรี) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หลักสูตรดุริยางศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) วิทยาลัยศาสนศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศาสนศึกษา) โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาราชนครราชสีมา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ราชบุรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช คุณสมบัติทั่วไปของผู้ได้สิทธิ์ในระบบโควตา นักเรียนที่มีสิทธิ์สมัครในโควตาของมหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ สกอ. กำหนด และคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1. กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ของปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนภายในประเทศ (ไม่รับผู้ที่จบการศึกษาก่อนปีการศึกษา 2551) ยกเว้น หลักสูตรที่รับผู้มีประสบการณ์วิชาชีพ และหลักสูตรที่รับตามโควตาโครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ จะรับนักศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาแล้ว และต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทำการสอบคัดเลือกในปีการศึกษา 2552 นี้ เว้นแต่จะได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน 2. สำหรับโควตาพื้นที่ จะต้องศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่ได้รับโควตา และไม่เป็นผู้ที่เพิ่งย้ายมาจากโรงเรียนในจังหวัดอื่นเข้ามาเรียนระหว่างชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่โควตาวิทยาเขต/พื้นที่ ที่กำหนด 3. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 4. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 5. เป็นผู้ที่มีผู้รับรองว่าจะอุดหนุนค่าบำรุง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาได้ 6. เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อมหาวิทยาลัยมหิดลได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีอยู่แล้ว และ/หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ 7. เป็นผู้ที่ไม่ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ มาแล้ว เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม หรือกระทำความผิดต่างๆ ที่ไม่ใช่ทางด้านวิชาการ 8. ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย 9. มีสัญชาติไทย และผู้ที่มีอายุเกิน 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย 10. จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามระบบโควตา หรือโครงการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ได้ทำการคัดเลือกสำหรับปีการศึกษา 2552 แล้ว เว้นแต่จะสละสิทธิ์ที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวเสียก่อน 11. จะต้องไม่เป็นผู้กระทำหรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบในโรงเรียนหรือการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาในระดับต่าง ๆ คุณสมบัติทางการศึกษาและคุณสมบัติเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นคุณลักษณะที่แต่ละหลักสูตรกำหนดขึ้น รวมทั้งคุณลักษณะที่ไม่เป็นปัญหาต่อวิชาชีพ ซึ่งจะระบุไว้ในรายละเอียดของแต่ละหลักสูตร ผู้สมัครในระบบโควตาจะต้องมีคุณสมบัติทางการศึกษา และคุณสมบัติเฉพาะตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนดไว้ คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต / ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต /สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต / วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) นอกจากคุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวข้างต้น และดังที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหลักสูตรผู้สมัครหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต / ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต / พยาบาลศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต / วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ 1. มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและปฏิบัติงาน 2. มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง(severe neurosis) หรือ โรคบุคลิกภาพแปรปรวน โดยเฉพาะ antisocial personality หรือ borderline personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ 3. โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม/วิชาชีพทันตกรรม อาทิ โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง 4. โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ เช่น -โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้) -โรคหัวใจระดับรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ -โรคความดันเลือดสูงรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่อ อวัยวะอย่างถาวร - ภาวะไตวายเรื้อรัง -โรคติดสารเสพติดให้โทษ -โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 5. ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง 6. ความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ - สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/24 ทั้งสองข้าง -สายตาข้างดีต่ำกว่า 6/12 เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว -ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ 7. หูหนวกหรือหูตึง (Threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40dB) จากความผิดปกติทางประสาท และการได้ยิน (sensorineural hearing loss) ถ้าได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น 8. โรคหรือความพิการอื่นๆ ปัญหาบุคลิกภาพ พฤติกรรมผิดปกติ (เช่น ติดเกมส์) และอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ทั้งนี้คณบดี/ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะโรคหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้ คุณสมบัติทางการศึกษาและคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข คุณสมบัติผู้สมัครในโควตาปกติ 1.กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 โดยศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-5-6 ในจังหวัดที่ได้โควตา 2.ผู้สมัคร และบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องมีภูมิลำเนาอยู่หรือเคยอยู่ในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ที่ผู้สมัครใช้สิทธิ์ไม่น้อยกว่า ๕ ปี โดยมีหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง 3.มีคะแนนเฉลี่ยสะสม GPAX ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไม่ต่ำกว่า 3.00 และคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 3.00 4.อายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ในวันปิดรับสมัคร 5.มีประวัติความประพฤติดี 6.มีสุขภาพอนามัยสุขภาพจิตและบุคลิกภาพเหมาะสมตามที่หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตกำหนด และตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการโครงการฯ กำหนด 7.มีเจตคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพแพทย์ในชนบท 8.ไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช หรือนักพรต สำหรับผู้สมัครในโควตากระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน 1.มีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกับผู้สมัครในโควตาปกติ 2.ผู้สมัคร และบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องมีภูมิลำเนาอยู่หรือเคยอยู่ในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ที่ผู้สมัครใช้สิทธิ์จนถึงปัจจุบันไม่น้อยกว่า 5 ปี ติดต่อกัน และทั้งภูมิลำเนาและโรงเรียนต้องไม่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง โดยต้องมีหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ประกอบการสมัคร 3.ผู้สมัครต้องผ่านการเข้าค่ายเตรียมความพร้อมที่จัดโดยศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ของศูนย์แพทย์ที่สมัคร โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ฯ ลงนามรับรองว่าได้เข้าร่วมในกิจกรรมค่ายอย่างครบถ้วน คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครตามโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น (1) ด้านวิชาการ ผู้สมัครต้องผ่านการสอบคัดเลือกในโครงการโอลิมปิกวิชาการ ครั้งที่ 2 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) และได้รับสิทธิ์เข้าค่ายอบรมในโครงการโอลิมปิกวิชาการเพื่อการคัดเลือกส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ หรือเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 10 ในรอบสุดท้ายของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์การศึกษา ใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (โครงการโอลิมปิกมูลนิธิ สอวน.) (2.) ด้านกีฬา ผู้สมัครต้องมีประวัติและความสามารถทางกีฬา โดยให้เสนอผลงานนับย้อนหลัง 2 ปี คือ ปี พ.ศ. 2550 และ 2551 นับแต่วันที่ยื่นใบสมัคร ดังนี้ 2.1 เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ โดยได้รับการรับรอง หรือแต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาชิงชนะเลิศของโลก กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ กีฬาชิงชนะเลิศเอเชีย กีฬาซีเกมส์ หรือ 2.2 เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับเยาวชนนานาชาติ โดยได้รับการรับรองหรือแต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาเยาวชนชิงแชมป์โลก กีฬาเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย หรือ 2.3 เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึง ที่3 ในการแข่งขันกีฬา ได้แก่ กีฬาแห่งชาติกีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือ 2.4 เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึง ที่ 3 ในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือเป็นผู้แทนนักกีฬาไทยเข้าร่วมการแข่งขัน กีฬานักเรียนเอเชี่ยนโดยได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ หรือ 2.5 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาผู้สมัครที่มีผลงานการแข่งขันกีฬาในชนิดกีฬาที่มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบตามคุณสมบัติข้างต้น การตัดสินชี้ขาดของมหาวิทยาลัยถือเป็นที่สิ้นสุด (3) ด้านศิลปะ เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านศิลปะ (สาขาดนตรี) ในระดับดีเลิศและได้รับรางวัล จากการประกวดประเภทบุคคล (แสดงเดี่ยว) อันดับที่ 1,2 หรือ 3 ในระดับชาติ หรือนานาชาติ หมายเหตุ : ผู้สมัครหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ทั้งผู้ที่มีความสามารถด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านศิลปะ จะต้องสอบวิชาสามัญ ซึ่งจัดสอบโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 และต้องมีผลการสอบ คะแนนแต่ละวิชา ≥ 30% และคะแนนรวมทุกวิชา ≥ 50% วิธีการสมัคร - สมัครออนไลน์ (online) ทางอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้สมัครดำเนินการคีย์ข้อมูลด้วย ตนเองเท่านั้น ผู้สมัครออนไลน์แทนผู้อื่นถือว่าทำผิดกฎหมายในฐานะละเมิดลิขสิทธิ์ส่วน บุคคลอันอาจทำให้บุคคลอื่นเสียสิทธิ์ในการสมัคร - เข้าสู่เว็บไซท์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2009 - เลือกที่เมนู สมัคร Online - คีย์ข้อมูลลงในแบบฟอร์มใบสมัครที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซท์ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนให้ถูกต้อง ผู้ที่ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่ตรงกับชื่อผู้สมัครจะถือว่าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จ ซึ่งจะหมดสิทธิ์ในการสมัครและหมดสิทธิ์สอบ หรือถ้าเข้าสอบไปแล้วจะถือว่าการสอบนั้นเป็นโมฆะ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โทร.0-2849-6251-8 หรือ 0-2849-6354-5 หมายเหตุ : ผู้สมัครในโควตาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มภาคผนวก ก และส่งใบสมัครไปยังสาธารณสุขจังหวัด การสมัครด้วยตนเอง -เฉพาะผู้สมัครในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโควตาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของศูนย์แพทย์ฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์แพทย์ฯ รพ.มหาราชนครราชสีมา ศูนย์แพทย์ฯ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ ศูนย์แพทย์ฯ รพ.ราชบุรี และศูนย์แพทย์ฯ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ให้ใช้ใบสมัคร มม.02 ให้ไปสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยกเว้นผู้สมัครของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ให้สมัครที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา โดยตรง ทั้งนี้โครงการฯ จะจัดสนามสอบให้โดยไม่ต้องเลือกดังนี้ 1.ศูนย์แพทย์ฯโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สอบที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา 2.ศูนย์แพทย์ฯโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ สอบที่โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 3.ศูนย์แพทย์ฯโรงพยาบาลราชบุรี สอบที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 4.ศูนย์แพทย์ฯโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สอบที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร 1. ใบสมัครที่พิมพ์จากระบบออนไลน์ พร้อมติดรูป ๑ ใบ 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัครที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ผู้สมัครที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียนแทนบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ที่ลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง 4. แบบฟอร์มใบส่งเงินฝากธนาคารผ่านบริการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่เขียนไว้ว่า สำหรับผู้สมัครทุกรหัสคณะ/รหัสหลักสูตร ที่เจ้าหน้าที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ลงนามรับเงินเรียบร้อยแล้ว (ฉบับจริง ไม่ใช้ฉบับสำเนา) หรือส่งเป็นธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ สั่งจ่าย ปณ. พุทธมณฑล ในนาม มหาวิทยาลัยมหิดล (ยกเว้นผู้สมัครบางรหัส ให้จ่ายเงินค่าสมัครที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือที่ศูนย์แพทย์ฯ) 5. ใบรับรองผู้สมัครตามแบบ ภาคผนวก (ค) ออกโดยโรงเรียนที่มีผู้อำนวยการหรือผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียนลงนามรับรอง พร้อมประทับตราโรงเรียนโดยให้ การรับรองดังนี้ -เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนจริง -รายวิชาหรือเนื้อหาสาระที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นไปตามคุณสมบัติทางการศึกษาที่หลักสูตรที่ต้องการสมัครกำหนดไว้ -คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 รวม 4 ภาคการศึกษา -คะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ เป็นไปตามคุณสมบัติการศึกษาที่หลักสูตรที่ต้องการสมัครกำหนดไว้/อื่นๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด ให้จัดส่งภายหลังการสอบผ่านข้อเขียนวิชาสามัญ รับสมัครผ่านทางออนไลน์ที่ http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2009 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร.0-2849-6251-8

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน

มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน
มหาวิทยาลัยมหิดล รับโควตา 1,932 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook